บทที่1ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร

       ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร

           การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต  มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา  การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรง ชีวิตของมนุษย์  การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก   การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร  การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น   การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง   ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ  สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน

ความหมายของการสื่อสาร
            คำว่า  การสื่อสาร (communications)  มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า  communis หมายถึง  ความเหมือนกันหรือร่วมกัน   การสื่อสาร (communication)    หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร  ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์  ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร  โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน  บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล

ปฏิกริยา1

ความสำคัญของการสื่อสาร
การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้
1.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ  ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร   ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน  การทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา   พัฒนาการทางสังคม จึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร

  2.  การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม    ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม   ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี  สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง  วิถีชีวิตของผู้คน  ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

  3.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญ ก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ

องค์ประกอบของการสื่อสาร

องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสาร มี 4 ประการ ดังนี้
1.  ผู้ส่งสาร (sender) หรือ แหล่งสาร (source) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่ มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด ได้แก่ ภาษาและอากัปกิริยาต่าง ๆ เพื่อสื่อสารความคิด  ความรู้สึก ข่าวสาร ความต้องการและวัตถุประสงค์ของตนไปยังผู้รับสารด้วยวิธีการใด ๆ หรือส่งผ่านช่องทางใดก็ตาม   จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม    เช่น  ผู้พูด  ผู้เขียน  กวี  ศิลปิน นักจัดรายการวิทยุ  โฆษกรัฐบาล  องค์การ  สถาบัน  สถานีวิทยุกระจายเสียง  สถานีวิทยุโทรทัศน์   กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์  หน่วยงานของรัฐ  บริษัท  สถาบันสื่อมวลชน  เป็นต้น

  คุณสมบัติของผู้ส่งสาร

   1.  เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสาร แสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ ฯลฯ

   2.  เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี          

   3.  เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดี มีความน่าเชื่อถือ แคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจ และมีความรับผิดชอบ  ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร

   4.  เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถในการรับสารของผู้รับสาร

   5.  เป็นผู้รู้จักเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการส่งสารหรือนำเสนอสาร   

 2.  สาร (message) หมายถึง  เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ฯลฯ   ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้ และแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใด ๆ  ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้  เช่น  ข้อความที่พูด   ข้อความที่เขียน   บทเพลงที่ร้อง  รูปที่วาด  เรื่องราวที่อ่าน  ท่าทางที่สื่อความหมาย  เป็นต้น

      2.1  รหัสสาร (message code)ได้แก่ ภาษา สัญลักษณ์ หรือสัญญาณที่มนุษย์ใช้เพื่อแสดงออกแทนความรู้ ความคิด อารมณ์ หรือความรู้สึกต่าง ๆ 

2.2  เนื้อหาของสาร
 (message content) หมายถึง บรรดาความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการจะถ่ายทอดเพื่อการรับรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจร่วมกันหรือโต้ตอบกัน


2.3  การจัดสาร
(message treatment) หมาย ถึง การรวบรวมเนื้อหาของสาร แล้วนำมาเรียบเรียงให้เป็นไปอย่างมีระบบ   เพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหา ที่ต้องการด้วยการเลือก ใช้รหัสสารที่เหมาะสม

3.  สื่อ หรือช่องทาง (media or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร  หมายถึง  สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร  ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร   ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร   
การแบ่งประเภทของสื่อมีหลากหลายต่างกันออกไป  ดังนี้
(สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2542: 6 )

เกณฑ์การแบ่ง

ประเภทของสื่อ

ตัวอย่าง

1.  แบ่งตามวิธีการเข้า  และถอดรหัส

สื่อวัจนะ (verbal)
สื่ออวัจนะ (nonverbal)

คำพูด ตัวเลข
สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง
หนังสือพิมพ์ รูปภาพ

2.  แบ่งตามประสาทการรับรู้

สื่อที่รับรู้ด้วยการเห็น
สื่อที่รับรู้ด้วยการฟัง
สื่อที่รู้ด้วยการเห็นและการฟัง

นิตยสาร
เทป วิทยุ
โทรทัศน์ ภาพยนตร์
วีดิทัศน์

3.  แบ่งตามระดับการสื่อสาร หรือจำนวนผู้รับสาร

สื่อระหว่างบุคคล
สื่อในกลุ่ม
สื่อสารมวลชน

โทรศัพท์ จดหมาย
ไมโครโฟน
โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์

4.  แบ่งตามยุคสมัย

สื่อดั้งเดิม
สื่อร่วมสมัย
สื่ออนาคต

เสียงกลอง ควันไฟ
โทรศัพท์ โทรทัศน์ เคเบิล
วีดิโอเทกซ์

5.  แบ่งตามลักษณะของสื่อ

สื่อธรรมชาติ
สื่อมนุษย์หรือสื่อบุคคล
สื่อสิ่งพิมพ์
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
สื่อระคน

อากาศ แสง เสียง
คนส่งของ ไปรษณีย์ โฆษก
หนังสือ นิตยสาร ใบปลิว
วิทยุ วีดิทัศน์
ศิลาจารึก สื่อพื้นบ้าน
หนังสือ ใบข่อย

6.  แบ่งตามการใช้งาน

สื่อสำหรับงานทั่วไป
สื่อเฉพาะกิจ

จดหมายเวียน โทรศัพท์
วารสาร จุดสาร วีดิทัศน์

7.  แบ่งตามการมีส่วนร่วม
ของผู้รับสาร

สื่อร้อน
สื่อเย็น

การพูด
การอ่าน

4.  ผู้รับสาร (receiver)  หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร
จากผู้ส่งสาร   และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร  หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ ตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร   เช่น   ผู้เข้าร่วมประชุม   ผู้ฟังรายการวิทยุ   กลุ่มผู้ฟังการอภิปราย  ผู้อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์  เป็นต้น

หลักในการสื่อสาร

         การสื่อสารจะประสบความสำเร็จตรงตามจุดประสงค์หรือไม่ผู้ส่งสารควรคำนึงถึง หลักการสื่อสาร ดังนี้  (ภาควิชาภาษาไทย สถาบันราชภัฏเทพสตรี ลพบรี, 2542: 13-14)

           1.  ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์ จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพ ในการสื่อสาร

           2.  ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร บริบทในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อ สาร

           3.  คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม สังคม ประสบการณ์ ฯลฯ เรียกว่าภูมิหลังแตกต่างกัน ถ้าคู่สื่อสารใดมีกรอบแห่ง  การอ้างอิงคล้ายกัน   ใกล้เคียงกัน จะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น

           4.  การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง  ที่เหมาะสม  ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน

           5.  ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที หากจะเกิดอุปสรรค์ ที่จุดใดจุดหนึ่ง

           6.  คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการ
สื่อความหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร คู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษา และสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล เนื้อหาของสาร และช่องทางหรือสื่อ ที่ใช้ในการสื่อสาร

           7.  คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่ ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใด เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

คณาจารย์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2551: 17)  กล่าวถึง วัตถุประสงค์ของการสื่อสารไว้ดังนี้

     1.  เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform)  ในการทำการสื่อสาร  ผู้ทำการสื่อสารควรมีความ ต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร  เรื่องราว  เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบ
               
     2.  เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education)  ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้  หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ  เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
    
    3.  เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain)  ผู้ทำการสื่อสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ  หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร  โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป  ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน  หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ

    4.  เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ใน การสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ  หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร  และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม  หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน
    
     5.  เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร  การแสวงหาความรู้ ของผู้รับสาร โดยอาศัยลักษณะของสาร  ในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้  เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำ การสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน
   
      6.  เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide)  ในการดำเนินชีวิตของคนเรามี สิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำ อยู่เสมอ  ก็คือ  การตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง  ซึ่งการตัดสินใจ นั้นอาจได้รับการเสนอแนะ  หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ  ทางเลือกในการ ตัดสินใจของเราจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะนั้น

ประเภทของการสื่อสาร

การจำแนกประเภทของการสื่อสาร มีผู้จำแนกไว้หลาย ๆ ประเภท โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณา ตามจุดประสงค์ของการศึกษาหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำเสนอ ซึ่งสรุปได้ตามตารางดังนี้

เกณฑ์การแบ่ง
ประเภทของการสื่อสาร
ตัวอย่าง
1.  จำนวนผู้ทำการสื่อสาร

1.1  การสื่อสารภายในตัวบุคคล (intrapersonal communication)

–  การพูดกับตัวเอง
–  การคิดคำนึงเรื่องต่าง ๆ
–  การร้องเพลงฟังเอง
–  การคิดถึงงานที่จะทำ เป็นต้น

1.2  การสื่อสารระหว่างบุคคล (interpersonal communication)

–  การพูดคุยระหว่างบุคคล 2 คนขึ้นไป
–  การพูดคุย
–  การเขียนจดหมาย
–  การโทรศัพท์
–  การประชุมกลุ่มย่อย เป็นต้น

1.3  การสื่อสารกลุ่มใหญ่
(large group communication)

–  การอภิปรายในหอประชุม
–  การพูดหาเรื่องเลือกตั้ง
–  การปราศรัยในงานสังคม
–  การกล่าวปาฐกถา ในหอประชุม
–  การบรรยายทางวิชาการ ณ ศูนย์เรียนรวม เป็นต้น

1.4  การสื่อสารในองค์กร (organizational communication)

–  การสื่อสารในบริษัท
–  การสื่อสารในหน่วยงาน ราชการ
–  การสื่อสารในโรงงาน
–  การสื่อสารของธนาคาร
เป็นต้น

1.5  การสื่อสารมวลชน
(mass communication)

การสื่อสารที่ผ่านสื่อเหล่านี้ คือ
–  หนังสือพิมพ์, นิตยสาร
–  วิทยุ
–  โทรทัศน์
–  ภาพยนตร์
เป็นต้น

2.การเห็นหน้ากัน

2.1  การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(face to face communication)

–  การสนทนาต่อหน้ากัน
–  การประชุมสัมมนา
–  การสัมภาษณ์เฉพาะหน้า
–  การเรียนการสอนในชั้นเรียน
–  การประชุมกลุ่มย่อย
เป็นต้น

2.2  การสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้า
(interposed communication)

–  เอกสารการสื่อสารที่ผ่าน
สื่อมวลชนทุกชนิด คือ
–  หนังสือพิมพ์
–  วิทยุ
–  โทรทัศน์
–  วีดิทัศน์การสื่อสารที่ผ่าน สื่อมวลชนทุกชนิด
–  จดหมาย/โทรเลข/โทรสาร
–  อินเตอร์เน็ต
เป็นต้น

3.  ความสามารถในการโต้ตอบ
3.1 การสื่อสารทางเดียว
(one-way communication)

การสื่อสารที่ผ่านสื่อมวลชนทุกชนิด คือ
–  วิทยุ/โทรทัศน์/วีดิทัศน์
–  โทรเลข/โทรสาร
–  ภาพยนตร์
เป็นต้น

3.2 การสื่อสารสองทาง
(two-way communication)

–  การสื่อสารระหว่างบุคคล
–  การสื่อสารในกลุ่ม
–  การพูดคุย / การสนทนา   เป็นต้น

4.  ความแตกต่างระหว่าง
ผู้รับสารและผู้ส่งสาร

4.1  การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ (interracial communication)

–  ชาวไทยสื่อสารกับคน ต่างประเทศ
–  คนจีน, มาเลย์, อินเดีย ใน ประเทศมาเลเซีย สื่อสารกัน เป็นต้น

4.2  การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (gosscultural communication)

–  การสื่อสารระหว่างคนไทยภาคใต้กับภาคเหนือหรือ ภาคอื่น ๆ
–  ชาวไทยสื่อสารกับชาวเขา   เป็นต้น

4.3  การสื่อสารระหว่างประเทศ (international communication)

–  การเจรจาติดต่อสัมพันธ์ทางการทูต
–  การเจรจาในฐานะตัวแทน รัฐบาล   เป็นต้น

5.  การใช้ภาษา

5.1  การสื่อสารเชิงวัจนภาษา (verbal communication)

–  การพูด, การบรรยาย
–  การเขียนจดหมาย, บทความ
เป็นต้น

5.2  การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา (non-verbal communication)

–  การสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ, คำพูด
–  อาการภาษา, กาลภาษา, เทศภาษา, สัมผัสภาษา, เนตรภาษา, วัตถุภาษา
และปริภาษา  เป็นต้น

อุปสรรคในการสื่อสาร

อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร   อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรค ในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

1.  อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร

                 1.1  ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
                 1.2  ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
                 1.3  ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม
                 1.4  ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
                 1.5  ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
                 1.6  ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร

2.  อุปสรรคที่เกิดจากสาร

                  2.1  สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป
                  2.2  สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
                  2.3  สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
                  2.4  สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน

3.  อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง

                 3.1  การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ
                 3.2  การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
                 3.3  การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร

4.  อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร

                 4.1  ขาดความรู้ในสารที่จะรับ
                 4.2  ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
                 4.3  ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
                 4.4  ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
                 4.5  ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป

677

   แบบฝึกหัด

1.  จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสาร

2.  จงกล่าวถึงหลักในการสื่อสารและวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

3.  จงยกตัวอย่างสถานการณ์การสื่อสารแบบทางเดียวและการสื่อสารแบบสองทาง 

4.  จงวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์การสื่อสารจากข้อ 3 ในหัวข้อ ผู้ส่งสารและ  ผู้รับสาร สาร
     สื่อหรือช่องทางการสื่อสาร ปฏิกิริยาตอบกลับและอุปสรรคในการสื่อสาร
  
5.  จงชี้แจงปัญหาในการสื่อสารจากสถานการณ์การสื่อสารในข้อ 3 และเสนอแนะวิธีแก้ปัญหา
   
6.  จงทำแผนที่ความคิดเรื่องปัจจัยที่ช่วยให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จ

บทที่ 2 ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายความหมายของวัจนภาษาและอวัจนภาษาได้ถูกต้อง
2. ยกตัวอย่างการสื่อสาร  โดยใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาได้
3. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของวัจนภาษาและอวัจนภาษาได้
4. สาธิตการใช้อวันภาษาและวัจนภาษาในการสื่อสารอย่างเหมาะสมได้

การใช้วัจนภาษาในการสื่อสาร

1. ความชัดเจนและถูกต้อง

กล่าวคือ  ต้องเป็นภาษาที่เข้าใจตรงกัน  ทั้งผู้รับสาร  และผู้ส่งสาร  และถูกต้องตามกฎเกณฑ์และเหมาะสมกับวัฒนธรรมในการใช้ภาษาไทย ดังนี้

     1.1 ลักษณะของคำ   หน้าที่ของคำ  ตำแหน่งของคำ   และความหมายของคำ ซึ่งความหมายของคำมีทั้งความหมายตรง  และความหมายแฝง

      1.2 การเขียนและการออกเสียงคำ  ในการเขียนผู้ส่งสารต้องระมัดระวังเรื่องสะกดการันต์  ในการพูดต้องระมัดระวังเรื่องการออกเสียง  ต้องเขียนและออกเสียงถูกต้อง

       1.3 การเรียบเรียงประโยค  ผู้ส่งสารจำเป็นต้องศึกษาโครงสร้างของประโยคเพื่อ  วางตำแหน่งของคำในประโยคให้ถูกต้อง  ถูกที่  ไม่สับสน

2. ความเหมาะสมกับบริบทของภาษา
เพื่อให้การสื่อสารบรรลุเป้าหมาย  ผู้ส่งสารต้องคำนึงถึง       
        2.1 ใช้ภาษาให้เหมาะกับลักษณะการสื่อสาร  เหมาะกับเวลาและสถานที่  โอกาส  และบุคคล  ผู้ส่งสารต้องพิจารณาว่าสื่อสารกับบุคคล  กลุ่มบุคคล  มวลชน  เพราะขนาดของกลุ่มมีผลต่อการเลือกใช้ภาษา       
       
        2.2 ใช้ภาษาให้เหมาะกับลักษณะงาน  เช่น  งานประชาสัมพันธ์  งานโฆษณา  งานประชุม  ฯลฯ        2.3 ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับสื่อ  ผู้ส่งสารจะต้องรู้จักความต่างของสื่อและความต่างของภาษาที่ใช้กับแต่ละสื่อ   ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้รับสารเป้าหมาย  ผู้รับสารเป้าหมายได้แก่  กลุ่มผู้รับสารเฉพาะที่ผู้ส่งสารคาดหวังไว้  ผู้ส่งสารต้องวิเคราะห์ผู้รับสาร ที่เป็นเป้าหมายของการสื่อสาร  และเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้รับสารนั้น ๆ

อวัจนภาษา ( non-verbal  language)

               อวัจนภาษา  หมายถึง  เป็นการสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ  ทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียน  เป็นภาษา ที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน โดยใช้อากัปกิริยา  ท่าทาง   น้ำเสียง   สายตาหรือ ใช้วัตถุ การใช้สัญญาณ และ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ  หรือแสดงออกทางด้านอื่นที่สามารถรับรู้กันได้  สามารถแปลความหมายได้และทำความเข้าใจต่อกันได้

การแสดงออกด้วยอวัจนภาษา
               อวัจนภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มีแหล่งแสดงออกด้วยอากัปกิริยา  หรือที่เกิดการแสดงออก ในหลายแหล่งด้วยกัน  ได้แก่

สัญลักษณ์ที่แสดงออกด้วยอากัปกิริยา  มีดังนี้

  1.1 เกิดขึ้นตามธรรมดาวิสัย  เช่น  การยิ้ม  การโบกมือ  การส่ายหน้า  การปัดเมื่อแมลง ไต่ตอม  เป็นต้น

  1.2  เกิดจากอารมณ์แรงเป็นเครื่องเร้า  เช่น  เวลาที่มีอารมณ์โกรธเลือดจะสูบฉีด จนหน้าแดง  มือเกร็ง  กำหมัด  เป็นต้น

  2. สัญลักษณ์แสดงออกที่ร่างกาย
เป็นการใช้วัตถุประกอบกับร่างกายแล้วบ่งบอกความหมาย  ได้โดยไม่ได้ แสดงกิริยาอาการ  เช่น  การแต่งกาย  เครื่องประดับ  ทรงผม  เป็นต้น  ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายทั้งสิ้น

  3. สัญลักษณ์แสดงออกด้วยวัตถุที่แวดล้อม
เป็นสิ่งที่บุคคลให้ความหมายหรือตกลงให้ สิ่งนั้นมีความหมายหนึ่ง ๆ เช่น  ลักษณะและขนาดของบ้านเรือน  สามารถบอกรสนิยม  ฐานะ  หรือเชื้อชาติของเจ้าของบ้านได้  สัญลักษณ์บางอย่างต้องการให้รู้ทั่วกัน  เช่น  ลูกศรบอกทาง  สี  แสง  เสียง  เป็นต้น

  4. สัญลักษณ์แสดงออกด้วยพฤติกรรมแวดล้อม  ได้แก่
สิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุ  หรือคนที่แวดล้อมที่แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ  เกี่ยวข้องกับเรา  ทำให้เราต้องแสดงพฤติกรรม ตอบสนอง  เช่น  การปฏิบัติตามประเพณีต่าง ๆ  การชื่นชมศิลปกรรม  ซึ่งล้วนแล้วแต่สื่ออารมณ์และวัฒนธรรมได้

ประเภทของอวัจนภาษา

อวัจนภาษาที่ใช้สื่อสารโดยทั่วไปได้แก่

1. สายตา  (เนตรภาษา)  การแสดงออกทางสายตา เช่น  การสบตากันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารก็มีส่วนช่วยในการตีความหมาย  เช่น การสบตาแสดงออกถึงความจริงใจ  การรี่ตาแสดงออกถึงความสงสัย  ความไม่แน่ใจ  ฯลฯ     การแสดงออกทางสายตาจะต้องสอดคล้องกับการแสดงออกทางสีหน้า   การแสดงออกทางสีหน้าและสายตาจะช่วยเสริมวัจนภาษาให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น  และใช้แทนวัจนภาษาได้อย่างดี

2. กิริยาท่าทาง (อาการภาษา)  การแสดงกิริยาท่าทางของบุคคล  สามารถสื่อความหมายได้โดยไม่ต้องใช้คำพูด  หรือใช้เสริมคำพูดให้มีน้ำหนักมากขึ้นได้    ได้แก่  กิริยาท่าทาง   การเคลื่อนไหวร่างกายและอากัปกิริยาท่าทางต่าง ๆ   สามารถสื่อความหมายได้มากมาย  เช่น  การเคลื่อนไหวมือ  การโบกมือ   การส่ายหน้า   การพยักหน้า   การยกไหล่   การยิ้มประกอบ การพูด  การยักไหล่  การยักคิ้ว  อาการนิ่ง   ฯลฯ

3. น้ำเสียง (ปริภาษา)   เป็นอวัจนภาษาที่แฝงอยู่ในภาษาพูด  ได้แก่   สำเนียงของผู้พูด ระดับเสียงสูงต่ำ  การเปล่งเสียง  จังหวะการพูด  ความดังความค่อยของเสียงพูด  การตะโกน  การกระซิบ  น้ำเสียงช่วยบอกอารมณ์และความรู้สึก  นอกจากนี้ยังช่วยแปลความหมายของคำพูด  เช่น  การใช้เสียงเน้นหนักเบา  การเว้นจังหวะ  การทอดเสียง  สิ่งเหล่านี้ทำให้คำพูดเด่นชัดขึ้น  การพูดเร็ว ๆ  รัว ๆ  การพูดที่หยุดเป็นช่วง ๆ  แสดงให้เห็นถึงอารมณ์กลัว  หรือตื่นเต้นของผู้พูด  เป็นต้น

4. สิ่งของหรือวัตถุ (วัตถุภาษา)   สิ่งของหรือวัตถุต่าง ๆ  ที่บุคคลเลือกใช้  เช่น   ของใช้เครื่องประดับ  เสื้อผ้า  กระเป๋า  รองเท้า  นาฬิกา   ปากกา  แว่นตา  เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้เป็นอวัจนภาษาที่สื่อความหมายได้ทั้งสิ้น

5. เนื้อที่หรือช่องว่าง  (เทศภาษา)  ช่องว่างของสถานที่หรือระยะใกล้ไกลที่บุคคลสื่อสารกัน   เป็นอวัจนภาษาที่สื่อสารให้เข้าใจได้  เช่น   ระยะห่างของหญิงชาย   พระกับสตรี   คนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์    คนสองคนนั่งชิดกันบนม้านั่งตัวเดียวกัน  ย่อมสื่อสารให้เข้าใจได้ว่า  ทั้งสองคนมีความสนิทสนมเป็นพิเศษ  เป็นต้น

6. กาลเวลา  (กาล ภาษา)  หมายถึง  การสื่อความหมายโดยให้เวลามีบทบาทสำคัญ  เวลาแต่ละช่วงมีความหมายในตัว  คนแต่ละคน  และคนต่างวัฒนธรรมจะมีความคิดและความหมายเกี่ยวกับเวลาแตกต่างกัน  เช่น  การตรงต่อเวลาวัฒนธรรมตะวันตกถือว่ามีความสำคัญมาก  การไม่ตรงต่อเวลานัดหมายเป็นการแสดงความดูถูก  เป็นต้น

7. การสัมผัส (สัมผัสภาษา)  หมายถึง  อวัจนภาษาที่แสดงออกโดยการสัมผ้สเพื่อสื่อความรู้สึก  อารมณ์  ความปรารถนาในใจของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร  เช่น  การจับมือ การ แลบลิ้น  การลูบศีรษะ การโอบกอด  การตบไหล่  ซึ่งสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของแต่ละสังคม  เช่นคนไทยถือมิให้เด็กสัมผัสส่วนหัวของผู้ใหญ่  เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างอวัจนภาษาและวัจนภาษา

การใช้อวัจนภาษาและวัจนภาษาในการสื่อสารจึงมีความสัมพันธ์กันหลายประการ  สรุปได้ดังนี้
ี้
              1. ใช้ซ้ำกัน  การใช้อวัจนภาษาที่มีความหมายเช่นเดียวกันกับวัจนภาษาช่วยให้สื่อความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เช่น  เพื่อนชวนเราไปดูภาพยนตร์  เราตอบปฏิเสธว่าไม่ไปพร้อมกับส่ายหน้าไปด้วย อาการส่ายหน้าเป็นอวัจนภาษาที่ซ้ำกับคำพูดที่ปฏิเสธออกไปนั่นเอง  หากเราพูดเบาเพื่อนไม่ได้ยินเสียงแต่เห็นการส่ายหน้าก็สามารถเข้าใจได้

2. ใช้แทนกัน
  การใช้อวัจนภาษาทำหน้าที่แทนคำพูดเช่น  เพื่อนถามว่า  เธอไปเป็นเพื่อนฉันได้หรือไม่  ผู้ตอบพยักหน้าโดยไม่พูดอะไรก็สื่อความหมายได้ว่าเป็นการตอบตกลง


3. ใช้เสริมกัน
  การใช้อวัจนภาษาเพิ่มหรือเสริมน้ำหนักให้แก่คำพูดเพื่อแสดงอารมณ์  ความรู้สึก หรือแสดงภาพจากตัวอักษรให้จริงจังมากขึ้น  เช่น  เมื่อเราไปขอความเห็นใจจากใคร สักคน  ถ้าลำพังถ้อยคำ  ที่ พูดอย่างเดียวอาจจะแสดงอารมณ์ไม่เต็มที่  แต่ถ้าเราใช้น้ำเสียงและการแสดงออกบน ใบหน้าและดวงตาประกอบ  ก็จะทำให้ผู้รับสารมีปฏิกิริยาตอบสนองในทางอารมณ์เข้าใจและเห็นใจเรามาก ขึ้น


4. ใช้เน้นกัน
  การใช้อวัจนภาษาเน้นบางจุดที่ผู้พูดต้องการจะเน้นประกอบกับวัจนภาษา  ซึ่งการเน้น นั้นมีน้ำหนักแตกต่างกัน  มีเน้นมาก  เน้นพอสมควรหรือเน้นเล็กน้อย  เครื่องมือที่ช่วยในการเน้นที่สำคัญ ๆ  เช่น การบังคับเสียงให้ดังขึ้นกว่าปกติ  การเคลื่อนไหวมือและแขน  การเคลื่อนไหวของศีรษะ  เป็นต้น


5. ใช้ขัดแย้งกัน
  การใช้อวัจนภาษาที่สื่อความหมายตรงกันข้ามกับสารในคำพูด  เช่น  เราได้รับรางวัลมารยาทดีเด่น  เพื่อนมากล่าวคำยินดีด้วยแต่สีหน้ามิได้ยิ้มแย้มและแววตาของเขากลับดูเฉยเมย มิได้แสดงออก ถึงความยินดีนั้นเลย เช่นนี้แสดงว่าการใช้วัจนภาษาขัดแย้งกับอวัจนภาษา

               แบบฝึกหัด

1.  จงกล่าวถึงความหมายและความแตกต่างของวัจนภาษาและอวัจนภาษา
2.  วัจนภาษามีกี่ประเภท  อะไรบ้าง
3.  จงกล่าวถึงอวัจนภาษาแต่ละประเภทและยกตัวอย่างประกอบ
4.  จงยกตัวอย่างการสื่อสารโดยใช้วัจนภาษา และวิเคราะห์ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
5.  จงยกตัวอย่างการสื่อสารโดยใช้อวัจนภาษา และวิเคราะห์ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
6. จงกล่าวถึงความสัมพันธ์ของวัจนภาษาและอวัจนภาษาพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ
7. จงพิจารณาว่า การใช้ท่าทาง กิริยาอาการ ลักษณะที่มองเห็นเหล่านี้มีความหมายว่าอย่างไร
       7.1  ยักคิ้วแล้วหลิ่วตา
       7.2  จับสองมือบีบและเขย่าแรง ๆ
       7.3  ตกแต่งร้านโดยใช้วัสดุเหลือใช้

       7.4  เขียนจดหมายโดยใช้ปากกาสีแดง

บทที่ 3 การใช้ภาษาในการสื่อสาร

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.  เลือกใช้ถ้อยคำและสำนวนภาษาได้เหมาะสม
2.  อธิบายความหมายของสำนวนต่าง ๆ ได้
3.  จำแนกประเภทและยกตัวอย่างโวหารประเภทต่าง ๆ ได้
4. จัดประเภทและยกตัวอย่างภาพพจน์ประเภทต่าง ๆ ได้

ถ้อยคำ

ความหมายของถ้อยคำ
ถ้อยคำ  หมายถึง  คำกล่าว  เสียงพูดและลายลักษณ์อักษร  ที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันทั้ง ในด้านกิจธุระและ ในด้านกิจการอื่น ๆ มีรูปลักษณ์ต่างกันไป ผู้ที่มีความรู้เรื่องถ้อยคำ  รู้จักถ้อยคำและเข้าใจ ความหมายของถ้อยคำได้ดี  ก็จะสามารถเลือกใช้ถ้อยคำมาใช้ในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุยกัน1
การใช้ถ้อยคำ ให้มีประสิทธิผลมีข้อควรคำนึง ดังนี้
การใช้ถ้อยคำ
การใช้ถ้อยคำ ให้มีประสิทธิผลมีข้อควรคำนึง ดังนี้

1. การออกเสียงให้ถูกต้อง

หากออกเสียงไม่ถูกต้องอาจจะทำให้ความหมายผิดไปได้ เช่น  เขาไม่ชอบปา (ปลา)   ห้ามยืนทางฝา (ขวา)  ที่นี่มีคูมากมาย (ครู)  เป็นต้น

2. การเขียนให้ถูกต้อง

หากเขียนสะกดผิดอาจจะทำให้ความหมายผิดไปได้  เช่น  เมืองอู่ทองไม่เคยเป็นเมืองหน้าด้าน (หน้าด่าน)  เธอช่วยขลิบปลอกหมอนสีฟ้าให้ฉันหน่อย (ขริบ) นกเป็ดน้ำใกล้จะ สูญพรรณแล้ว (พันธุ์)  เป็นต้น

นั่งเขียน1

3. ใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย
         ถ้าใช้คำผิดความหมายก็จะผิดไป  และคำบางคำอาจมีความหมายโดยตรง  ความหมายโดยนัย   มีหลายความหมาย  มีความหมายใกล้เคียงกัน  ควรคำนึงถึงบริบทและพิจารณาก่อนใช้     เช่น
  •   ขบวนการนี้เป็นภัยแห่งนักศึกษาทั้งหมด (ควรใช้ ต่อ)
  •    บนถนนราชดำเนินมีรถอยู่แออัด (ควรใช้ คับคั่ง)
  • ฉันกลัวเสือมาก/เขาทำตัวเป็นเสือ (ความหมายโดยตรง/โดยนัย)
  •  ฉันถูกต่อต่อย/เขาต่อเวลาให้เรา/เธอขอต่อราคาลงอีก/พี่ต่อให้เขาวิ่งไปก่อนห้านาที  (คำหลายความหมาย)
  •   เขาอนุมัติให้เธอกลับบ้านได้ (ควรใช้ อนุญาต)
4. ใช้คำให้ถูกต้องตามหลักภาษา และหน้าที่ของคำ
       เช่น  การใช้คำอาการนาม  การใช้ลักษณะนาม  การใช้คำบุพบท  การใช้คำสันธาน  เป็นต้น

5. ใช้คำให้เหมาะสมบุคคล

        เช่น  เขามีหมายกำหนดการการอบรมแล้วหรือยัง (ควรใช้ กำหนดการ)   เมื่อชาติชาย ได้ยินก็โกรธ กระฟัดกระเฟียดออกไป (ควรใช้ ปึงปัง)  แม่เชิญพระสงฆ์ จำนวน  9  รูปมาที่บ้าน (ควรใช้ นิมนต์) เป็นต้น

 
6. ใช้คำให้เหมาะสมกับโอกาส 
      เช่น  โอกาสที่เป็นทางการ  ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำต่างประเทศ  คำหยาบ  คำสแลง   ภาษาพูด  ภาษาหนังสือพิมพ์ คำย่อ  คำต่างระดับ  และภาษาถิ่น และโอกาสที่ไม่เป็นทางการ  ใช้คำระดับ ภาษาปาก และคำระดับภาษากึ่งแบบแผนได้
7. ใช้คำที่ชัดเจนไม่กำกวม
      ใช้คำที่ผู้รับสารรู้ความหมาย ไม่ใช้คำที่ที่มีความหมายกว้าง และคำที่มีความหมายไม่แน่นอน  เพราะอาจทำให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสารได้  เช่น  ฉันไม่เคยไปที่บ้านหลังนั้น  (ไม่รู้ว่าหลังไหน)  น้องซื้อหนังสือ เล่มนี้เพราะดีกว่าเล่มอื่น ๆ ในร้าน (ไม่รู้ว่าดีอย่างไร)  ลุงปลูกต้นไม้ 2 ต้น (ไม่รู้ว่าต้นอะไร)  บ้านเขาอยู่ใกล้มาก (อีกคนอาจคิดว่าไกล) นิดตกลงมาหรือไม่ (ตกลงใจหรือตกลงมาจากบันได)  เป็นต้น

สำนวนไทย

ความหมายของสำนวนไทย

สำนวนหมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงเป็นข้อความ  หรือคำพูดที่เป็นชั้นเชิง  ไม่ตรงตามรูปแบบภาษา  เป็นถ้อยคำหรือ คำพูดที่มีลักษณะเฉพาะตัว  มีความหมายเป็นนัยแฝงอยู่ กินความกว้าง หรือลึกซึ้ง  นำมาใช้ให้มีความหมายแตกต่างไปจากความหมายเดิมของคำ ๆ นั้น  หรืออาจจะมีความหมายคล้าย กับความหมายเดิมของคำที่นำมาประสมกัน แต่ก็ไม่เหมือนกับความหมายเดิมทีเดียว  เป็นความหมายใน เชิงอุปมาเปรียบเทียบ  มักใช้ถ้อยคำที่ไม่ยาวมากแต่กินความมาก   ใช้คำที่ไพเราะ คมคาย สละสลวย  ต้องอาศัยการตีความจึงจะเข้าใจ

ทำนาบนหลังคน

ที่มาของสำนวนไทย

สำนวนไทยมีจำนวนมากมายและมีที่มาที่หลากหลายประการดังนี้
1. มีที่มาจากธรรมชาติ  เป็นสำนวนที่เทียบเคียงมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ   ดังตัวอย่าง

สำนวน

ที่มา

ความหมาย

กาฝาก

 ต้นไม้ที่เกาะเบียดเบียนอาศัยอาหารจากต้นใหญ่ เลี้ยงตัว แฝงกินอยู่กับผู้อื่นโดยไม่ได้ทำประโยชน ์อะไรให้

ก่อหวอด

 การวางไข่ของปลา  ปลาจะพ่นน้ำเป็นฟองเรียกว่า   หวอด  เพื่อให้ไข่ปลาอาศัยจน เป็นลูกปลา เริ่มจับกลุ่มเพื่อนทำการ อย่างใดอย่าง หนึ่ง
เข้าไต้เข้าไฟ เวลาใกล้ค่ำต้องจุดไต้ ให้แสงสว่าง เวลาพลบค่ำ
คลื่นกระทบฝั่ง

ทะเลมีคลื่นวิ่งเข้าหาฝั่งตลอดเวลา

เรื่องราวที่ครึกโครมขึ้นแล้วกลับเงียบ หายไป
คืบก็ทะเล  ศอกก็ทะเล แสดงถึงความน่ากลัวของทะเล สอนให้อย่าประมาทเพราะทะเล มีอันตราย  ทุกเมื่อ
ต้นไม้ตายเพราะลูก ธรรมชาติของต้นไม้บางชนิดเมื่อออกผลแล้วจะตาย  พ่อแม่ยอมเสียสละแม้ชีวิต เพื่อลูก
ติดร่างแห เวลาจับปลาด้วยแห ปลาน้อยใหญ่ก็จะติดแหมาด้วย  พลอยรับเคราะห์ไปด้วย
ตื่นแต่ไก่โห่ ธรรมชาติของไก่ย่อมขัน ในเวลาเช้ามืดเสมอ  ตื่นแต่เช้ามืด
ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ ฟ้าอยู่สูงแผ่นดินอยู่ที่ต่ำ  คนทีทั้งที่สูงและที่ต่ำ
สนตะพาย การสนตะพาที่จมูกวัวควาย  เพื่อชักจูงไปได้สะดวก  ยอมให้ชักจูง

2. ที่มาจากวัฒนธรรมการดำรงชีวิต  เช่น  ปัจจัยสี่  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  พาหนะ  เป็นต้น  ดังตัวอย่าง

สำนวน

ที่มา

ความหมาย

ก้นหม้อไม่ทันดำ การหุงข้าวกว่าก้นหม้อจะติดเขม่าดำกินเวลานาน  เลิกกันง่าย
ชุบมือเปิบ การกินข้าวด้วยมือ  ก่อนจะกิน อาหารจะเอา มือลงชุบน้ำ เพื่อล้างมือให้สะอาด และไม่ให้ข้าว ติดมือ  คนที่ไม่ช่วยทำพอถึงเวลา มารับประทาน      คนที่ฉวยประโยชน์จากคนอื่น โดยไม่ลงทุน ลงแรง
นุ่งเจียมห่มเจียม การแต่งกาย  แต่งตัวพอสมกับฐานะ
จุดไต้ตำตอ เวลาพลบค่ำจะจุดไต้เป็นเครื่องตามไฟ  พูดหรือทำสิ่งใดกับเจ้าของเรื่อง โดยผู้นั้น ไม่รู้ตัว
บ้านเมืองมีขื่อมีแป เรือนต้องมีขื่อสำหรับยึดหัวเสาเรือนตามขวาง  ส่วนแปเป็นไม้ยึดหัวเสาตามยาว  บ้านเมืองมีกฎหมายคุ้มครอง
ติเรือทั้งโกลน การทำเรือสมัยโบราณ  จะเหลาซุงทั้งต้นให้ เป็นรูปร่างก่อน  เรียกว่า  โกลน ตำหนิสิ่งที่ยังทำไม่เสร็จ

3.  ที่มาจากวัฒนธรรมทางสังคม  เช่น  การทำมาหากิน  การกระทำ  ประเพณี  การละเล่น  การศึกษา  การเมืองการปกครอง  เป็นต้น  ดังตัวอย่าง

สำนวน

ที่มา

ความหมาย

ไกลปืนเที่ยง ในรัชกาลที่ 5 เริ่มยิงปืนใหญ่เวลา 12.00 นาฬิกาในพระนคร ให้ได้รู้กันว่าเป็นเวลาเที่ยง คนที่อยู่ไกลออกไป คนบ้านนอก
ทำนาบนหลังคน อาชีพการทำนา การแสวงหาผลประโยชน์ ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น
ฝังรก  ฝังราก การทำขวัญทารกที่เกิดได้สามวัน  เอารกกับ มะพร้าว ตั้งถิ่นฐานประจำ
คนตายขายคนเป็น การจัดงานศพ การจัดงานศพใหญ่โตทั้ง ๆ ที่ลูกหลานยากจน  ต้องไปกู้เงินมาทำศพ หลังงานศพ ต้องใช้หนี้ ได้รับความลำบาก
ไม่ดูตาม้าตาเรือ การเล่นหมากรุก ไม่พิจารณาให้รอบคอบ
ความรู้ท่วมหัว  เอาตัวไม่รอด การศึกษา มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์
เจ้าถ้อยหมอความ โวหารของนักกฎหมาย  หรือหมอความ(ทนายความ) ผู้ที่ใช้โวหารพลิกแพลงเช่นเดียวกับผู้ที่เป็น
หมอความ(ทนายความ)
นอนหลับทับสิทธิ์ การเมืองการปกครอง ไม่ไปใช้สิทธิ์ที่ตนเองมีอยู่เมื่อถึงคราวที่จะใช้
สู้จนเย็บตา การชนไก่  ไก่ถูกแทงจนหน้าตาฉีกก็เย็บ แล้วให้สู้อีก สู้จนถึงที่สุด สู้อย่างไม่ย่อท้อ สู่ไม่มีถอย
4. ที่มาจากวัฒนธรรมทางจิตใจ  เช่นทางศาสนาและความเชื่อ  ดังตัวอย่าง
สำนวน ที่มา ความหมาย
กรวดน้ำคว่ำขัน เวลาไปทำบุญแล้วกรวดน้ำอุทิศ ส่วนกุศล ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย
ผีซ้ำด้ำพลอย การนับถือผีบรรพบุรุษ ถูกซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งลงหรือ
เมื่อคราวเคราะห์ร้าย
ปิดทองหลังพระ ทำเนียมการปิดทองคำเปลว
ที่พระพุทธรูป
ทำความดีแต่ไม่ได้รับการ
ยกย่องเพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า
ขนทรายเข้าวัด การทำบุญก่อพระเจดีย์ทราย
ที่วัด
การหาประโยชน์ให้ส่วนรวม
บุญทำกรรมแต่ง การทำบุญ สร้างกรรม บุญหรือบาปที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุให้รูปร่าง หน้าตาหรือวิถีชีวิตของคนเราในชาตินี้ สวยงาม ดี ชั่ว
5.ที่มาจากวัฒนธรรมทางศิลปะ  เช่น  การแสดง  ดนตรี  เป็นต้น  ดังตัวอย่าง
สำนวน ที่มา ความหมาย
ประสมโรง การตั้งคณะละครโดยเอาตัวละครจากที่ต่าง ๆ มารวมกันเป็นโรง พลอยเข้าร่วมเป็นพวกด้วย
ชักใย การเล่นหุ่นและหนังตะลุง บงการอยู่เบื้องหลัง
นอกจอ การเล่นหนังใหญ่ ดีแต่เก่งอยู่ข้างนอก
คลุกคลีตีโมง การเล่นดนตรีปี่พาทย์ คลุกคลีพัวพันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
โจ๋งครึ่ม สำเนียงการตีตะโพน การกระทำสิ่งใดอย่างเปิดเผย
6.ที่มาจากวัฒนธรรมทางภาษา  วรรณคดี  ตำนาน  นิทาน  ประวัติศาสตร์  เป็นต้น  ดังตัวอย่าง
สำนวน ที่มา ความหมาย
งอมพระราม เรื่อง รามเกียรติ์ พระรามต้องผจญกับความทุกข์ยาก ลำบากต่าง ๆ นานา มากมาย มีความทุกข์ลำบากเต็มที่
ชักแม่น้ำทั้งห้า เรื่องมหาเวสสันดรชาดก ชูชกกล่าวขอสองกุมาร ต่อพระเวสสันดร พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณ
เพื่อขอสิ่งที่ประสงค์
เนื้อถ้อยกระทงความ การใช้ภาษา เนื้อความที่แยกแยะออก เป็นข้อ ๆ  อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง
 ที่เท่าแมวดิ้นตาย นิทานเรื่องศรีธนญชัย  ที่ขอพระราชทานที่เท่า แมวดิ้นตาย โดยเอาแมวมาผูกและ ใช้ไม้ตีแมวให้วิ่ง ไปมาจนแมวตาย  ทำให้ได้ที่ดินจำนวนมาก มีที่ดินที่เนื้อที่น้อยเพียง ตัวแมว ดิ้นตาย
ปล่อยม้าอุปการ เรื่องรามเกียรติ์ พระรามทำพิธีปล่อยม้าอุปการ  แล้วให้ หนุมานตามไป  ผู้ใดบังอาจจับม้าขี่ ก็จะถูกปราบ การกระทำที่ใช้คนออกไปเที่ยว พาลหาเรื่องหรือทำให้เกิดเรื่อง  ขึ้นเพื่อ ประโยชน์ตนเอง
ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง วรรณคดี เรื่องอิเหนา ท้าว กะหมังกุหนิง ยกทัพมาประชิดเมืองดาหาเพื่อชิงนางบุษบา  อิเหนาก็มาช่วยปราบศึกและเมื่อได้พบ นางบุษบา ก็ลุ่มหลงออกอุบายแต่งทัพปลอม เป็นทัพกะหมังกุหนิงเข้าเผาเมือง แล้วปลอม เป็นจรกาพา นางบุษบา ไปซ่อนไว้ในถ้ำ ตำหนิผู้อื่นเรื่องใดแล้วตนก็กลับทำ ในเรื่องนั้นเสียเอง

 ลักษณะของสำนวนไทย

สำนวนไทย มีจำนวนมากมายสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ  สำนวนไทย มีลักษณะ  ดังนี้

1.  ถ้อยคำที่ใช้เป็นสำนวนอาจเป็นเพียงคำเดียว  หรือประกอบด้วยถ้อยคำที่เรียงกันตั้งแต่2  คำขึ้นไปซึ่งบาง

สำนวนเป็นกลุ่มคำบางสำนวนเป็นประโยค  ซึ่งมีทั้งความเดียวและประโยคความซ้อน

2. สำนวนไทยบางสำนวนมีทั้งมีเสียงสัมผัสและไม่มีเสียงสัมผัส   ที่มีเสียงสัมผัส  มีเสียงสัมผัสในและสัมผัสนอก

จะมีตั้งแต่ 4 ถึง 12  คำ  ส่วนที่ไม่มีเสียงสัมผัส  จะมีตั้งแต่ 2  ถึง 8  คำ  บางสำนวนมีการใช้คำซ้ำและเล่นคำ

3. เนื้อความของสำนวนมีทั้งที่มีเนื้อความตอนเดียว  และมีเนื้อความสองตอนขึ้นไป

4. เนื้อหาของสำนวนจะมีหลากหลาย  ดังนี้
4.1 เนื้อหาเกี่ยวกับรูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ และกิริยาท่าทาง
4.2 เนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะนิสัย  กิริยาอาการและพฤติกรรม
4.3 เนื้อหาเกี่ยวกับจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก
4.4 เนื้อหาเกี่ยวกับการ   พูด
4.5 เนื้อหาเกี่ยวกับความรัก  การมีคู่  และการครองเรือน
4.6 เนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาหาความรู้ และการอบรมสั่งสอน
4.7 เนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นอยู่ อาชีพ การทำงาน การทำมาหากิน และการดำรงชีวิต
4.8 เนื้อหาเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคม การเมือง การปกครอง
4.9 เนื้อหาเกี่ยวกับคุณธรรม การเตือนสติและคำสอนต่าง ๆ
4.10 เนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์  สถานการณ์ เวลา  ระยะทางและสถานที่

5. เป็นถ้อยคำสละสลวยที่ใช้แทนคำพูดธรรมดา  เป็นคำแปลก ๆ โดยอาจเทียบเคียงมาจากการกระทำบางอย่าง

เป็นคำกล่าวที่มีความหมายโดยนัย  เป็นคำที่มาจากปรากฏการ  ธรรมชาติ นิทาน ชาดก หรือวรรณคดีใช้ถ้อยคำน้อย

แต่มีเนื้อความมาก  และเป็นคำที่มีความไพเราะ ฯลฯ

สำนวนที่เกิดขึ้นใหม่

จุไรรัตน์  ลักษณะศิริ, บาหยัน  อิ่มสำราญ (บรรณาธิการ, 2548, หน้า 67-71)  กล่าวถึงสำนวนที่เกิดขึ้นใหม่ไว้

สรุปได้ดังนี้

1. สำนวนที่เกิดจากวงการสื่อมวลชน เช่น  ไปไม่ถึงดวงดาว (ไม่สำเร็จ ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่คิดไว้)

มองต่างมุม (แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป)  เป็นต้น

2. สำนวนที่เกิดจากวงการเมือง  เช่น  โปร่งใส (ชัดเจน ไม่มีลับลมคนใน)  น็อตหลุด

(ยั้งไม่อยู่  พูดโพล่งออกมาหรือแสดงอารมณ์อย่างไม่สมควร)   เป็นต้น

การเมือง

3. สำนวนที่เกิดจากวงการโฆษณา  เช่น  ภาษาดอกไม้ (คำพูดที่ไพเราะ รื่นหู  พูดไป  ทางที่ดี)

มีระดับ (คุณภาพดี  มีมาตรฐานสูง)   เป็นต้น

โฆษณาสินค้า

4. สำนวนที่เกิดจากวงการบันเทิง เช่น แจ้งเกิด (เริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักหรือเป็นที่ยอมรับในวงการนั้น ๆ)

คู่กัด (คู่ที่ไม่ถูกกัน)  เป็นต้น

5. สำนวนที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศ   เช่น เเกะดำ (back sheep ใช้หมายถึง คนชั่วในกลุ่มคนดี)

แขวนอยู่บนเส้นด้าย (hang by a thread  ใช้หมายถึง  ตกอยู่ในสถานการณ์ที่หมิ่นเหม่ต่ออันตราย)

ลื่นเหมือนปลาไหล (slippery as eel ใช้หมายถึง  (คน)ที่เชื่อถือได้ยากเพราะเป็นคนตลบตะแลง

พลิกแพลงกลับกลอก  หรือหลบเลี่ยงไปมาได้คล่องแคล่ว)  ล้างมือ (wash one’ s hand of

ใช้หมายถึง  ปฏิเสธที่จะเกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบ  หรือเลิกเกี่ยวข้อง)  สร้างวิมานในอากาศ

(build castles in the air  ใช้หมายถึง  ฝันหรือหวังในสิ่งที่ไม่วสามารถจะเป็นความจริงได้)  เป็นต้น

6. สำนวนเกิดใหม่ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวัน 
-สำนวนสร้างใหม่  เช่น  ขบเหลี่ยม (ไม่ลงรอยกัน  ขัดกัน  หักร้างกัน) ไทยเหลือง

(พระที่ประพฤติตน ไม่เหมาะสม)

-สำนวนดัดแปลง  เช่น  กิ้งก่าฟาดหาง (อาการเตะเพื่อทำร้ายฝ่ายตรงข้าม  ดัดแปลงจากชื่อท่ามวยไทย  จระเข้ฟาดหาง )

นักกินเมือง (นักการเมืองที่มุ่งแต่จะหาประโยชน์เข้าตัวเอง  ดัดแปลงจากคำว่า  นักการเมือง)

ยุค IMF  (ยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำต้องประหยัด  IMF  มาจากคำว่า International Monetary Found

ซึ่งเป็นชื่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ)
-สำนวนที่เปลี่ยนบริบทการใช้  เช่น  ชิงสุกก่อนห่าม (ตกรอบไปก่อนเวลาอันสมควร
ปรกติใช้กับการที่หนุ่มสาวลักลอยได้เสียกันก่อนแต่งงาน  แต่นำมาใช้ในบริบทใหม่ทางการกีฬา)
อุ้ม (ลักพาตัวไป เพื่อนำไปฆ่า  เปลี่ยนความหมายจากเดิมที่หมายถึง โอบ ยกขึ้น ยกขึ้นไว้กับตัว

หรือให้ความอุปถัมภ์ช่วยเหลือ)
-สำนวนที่มาจากภาษาต่างประเทศ  เช่น  ฮั้ว (สมยอมกันในการประมูลงานโดย บริษัทหนึ่งจะ นัดบริษัทอื่น ๆ

ที่สนใจในการประมูลงานใดงานหนึ่งมาตกลงกัน  บริษัทนั้นจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้บริษัทอื่น ๆ เพื่อให้บริษัทเหล่านั้น

หลีกทางให้บริษัทตนเป็นผู้ประมูลได้  มาจากคำว่า  ฮั้ว ในภาษาจีน)  ไฮโซ  ไฮซ้อ  ไฮซิ้ม  (ชนชั้นสูงหรือผู้มีเงิน

มีฐานะในวงสังคม  มีที่มาจากคุณหญิง คุณนายที่เป็นภรรยาหรือบุตรนักธุรกิจ  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทยเสื้อสายจีน

และบางคนอาจมีลักษณะของความเป็นจีนอยู่  จึงมีการพูดล้อเลียน  ไฮซ้อ  ไฮซิ้ม   มาจากคำว่า  ไฮโซ รวมกับคำว่า

ซ้อ  และ ซิ้ม  ซึ่งเป็นภาษาจีน)  เตะซีมะโด่ง (ให้พ้นจากตำแหน่ง  ปรกติจะใช้ว่า  เตะโด่ง   ซีมะโด่ง

เป็นคำมาจากภาษาเขมรว่า  ซีมวยดอง  แปลว่า  กินหนึ่งครั้ง  เสียงพยางค์สุดท้ายใกล้เคียงกับคำว่า โด่ง

ในภาษาไทย  จึงนำมาใช้แทนคำว่า โด่ง)

  วิธีการใช้สำนวน

การใช้สำนวนที่ถูกต้องเหมาะสมจะช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  สามารถสื่อความหมาย  ได้อย่างชัดเจน  ถูกต้อง

และรวดเร็ว โดยทั่วไปเราใช้สำนวนเพื่อการสื่อสารในกรณีต่อไปนี้

1. ใช้ในการจูงใจ  เช่น  ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว  รักดีหามจั่ว  รักชั่วหามเสา  ธรรมะย่อมชนะอธรรม  คบคนพาลพาลพาไปหาผิด

คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล  แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมารเป็นต้น

รักดีหามจัวรักชั่วหามเสา

2. ใช้ย่อข้อความยาว ๆ  เช่น  ขิงก็รา  ข่าก็แรง   ตัดหางปล่อยวัด   จับปลาสองมือ   กินเปล่า  ชุบมือเปิบ

ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ  เป็นต้น

3. ใช้ขยายความหรือเน้นความเข้าใจ  เช่น  ปิดทองหลังพระ  หนีเสือปะจระเข้   ทำคุณบูชาโทษ  กินน้ำใต้ศอก

เรือล่มในหนองทองจะไปไหน หนูตกถังข้าวสาร เป็นต้น

36

4. ใช้แทนถ้อยคำที่ไม่ต้องการกล่าวตรงๆ  เช่น  เฒ่าหัวงู   สิ้นบุญ  เจ้าโลก  บ้านเล็ก  ไก่แก่แม่ปลาช่อน โคแก่กินหญ้าอ่อน

วัวเคยขาม้าเคยขี่  เป็นต้น

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

5. ใช้เพิ่มสีสันและความสละสลวยของถ้อยคำในการสื่อสาร  เช่น   ข้าวแดงแกงร้อน  อยู่เย็นเป็นสุข  รั้วรอบขอบชิด

คลุกคลีตีโมง  ขุดบ่อ ล่อ ปลา ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน  เป็นต้น

ข้อควรคำนึงในการใช้สำนวนไทย

ข้อควรคำนึงในการใช้สำนวนไทย  ได้แก

่1. ควรใช้ให้ถูกต้องตรงตามความหมาย  นั่นคือ  ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้และเข้าใจ

ความหมายของสำนวนอย่างถ่องแท้  จึงจะใช้สำนวนได้ถูกต้องตามความหมาย  เพราะมีสำนวนที่มีคำใช้คล้ายกันแต่มีความหมาย

ต่างกัน  จึงใช้แทนกันไม่ได้  แต่ก็มีบางสำนวนที่มี ความหมายเหมือนกัน  คล้ายคลึงกันอาจใช้แทนกันได้  แต่บางสำนวนแม้จะ

มีความหมายเหมือนกันก ็ไม่อาจจะใช้แทนกันได้  ทุกสถานการณ์  ดังตัวอย่างสำนวนต่อไปนี้

สำนวน สำนวน สำนวน สำนวน
คาบลูกคาบดอก ลูกผีลูกคน
ผีกับโลง กิ่งทองใบหยก
ขี่ช้างจับตั๊กแตน ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
คางคกขึ้นวอ แมงปอใส่ตุ้งติ้ง กิ้งก่าได้ทอง
หมูในเล้า หมูในอวย หญ้าปากคอก
เกลือเป็นหนอน หนอนบ่อนไส้ ไส้เป็นหนอน
ปัดแข้งปัดขา ถีบหัวส่ง เหยียบจมธรณี
ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง ปากว่าตาขยิบ ปากอย่างใจอย่าง
นกสองหัว จับปลาสองมือ เหยียบเรือสองแคม
ไก่ได้พลอย ตาบอดได้แว่น วานรได้แก้ว หัวล้านได้หวี
เอามือซุกหีบ เอาไม้สั้นไปรันขี้ เอาไม้ซักไปงัดไม้ซุง ว่ายน้ำหาจนระเข้

2.ไม่เขียนสำนวนผิดหรือใช้ต่างไปจากสำนวนที่มีใช้อยู่โดยทั่วไปเพราะจะสื่อความหมายไม่ได้  ดังจุดประสงค์  เช่น

สำนวน สำนวนที่ต่างไป
กงเกวียนกำเกวียน กงกำกงเกวียน
ขายผ้าเอาหน้ารอด แก้ผ้าเอาหน้ารอด
ขนมพอสมน้ำยา ขนมผสมน้ำยา
คงเส้นคงวา คงวัดคงวา
คาหนังคาเขา คาหลังคาเขา
งูเงี้ยวเขี้ยวขอ งูเงี้ยวเขี้ยวหงอน
แจงสี่เบี้ย ชี้แจงสี่เบี้ย
นกไร้รังโหด นกร้ายรังโหด
ต้นกุฏิ ก้นกุฏิ
ติเรือทั้งโกลน ติเรือทั้งโคลน
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ละลายน้ำพริกกับแม่น้ำ
ตกกระไดพลอยโจน ตกกระไดพลอยโจร  ตกกระไดพลอยกระโจน
ปลาติดหลังแห ปลาติดร่างแห
ปรักหักพัง สลักหักพัง
ผีซ้ำด้ำพลอย ผีซ้ำด้ามพลอย
ผิดเต็มประตู ผิดเต็มประตูเต็มหน้าต่าง
ทำนาบนหลังคน ทำนาบนหัวคน
ฤกษ์พานาที ฤกษ์พานาที
ไม่มีปี่มีขลุ่ย ไม่มีขลุ่ยไม่มีกลอง
ไม่ได้เห็นเดือนเห็นตะวัน ไม่ได้พบเดือนพบตะวัน
รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา รักดีหามจั่ว รักชั่วหามสาว
รู้ธาตุแท้ รู้เช่นเห็นชาติ รู้เช่นเห็นธาตุ
ศึกเสือเหนือใต้ ศึกเหนือเสือใต้
สู้จนเย็บตา สู้จนยิบตา
หัวมังกุด ท้ายมังกร หัวมังกุฎ ท้ายมังกร
หลงจนหัวปักหัวปำ หลงจนหัวทิ่มหัวตำ
เอาใจออกหาก เอาใจออกห่าง

3. ใช้สำนวนให้ถูกต้องตามสถานการณ์  สอดคล้องกับกาลเทศะและบุคคลและใช้ให้พอเหมาะ ไม่ฟุ่มเฟือย จนไม่อาจสื่อสารได้ดังต้องการ

ดังนั้นควรคำนึงถึงโอกาสและความเหมาะสมเป็นสำคัญ  เช่น

ตัวอย่างสำนวนไทย
สำนวน ความหมาย สำนวน ความหมาย
ก้มหน้า ก.จำทน  เช่น
ต้องก้มหน้า
ทำตามประสายาก
กระดี่ได้น้ำ น.ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการ  ดีอกดีใจ  ตื่นเต้นจนตัวสั่น  เช่น  เขาดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ
กำเริบเสิบสาน ก ได้ใจ, เหิมใจ ก่อร่างสร้างตัว ก.ตั้งเนื้อตั้งตัวได้
เป็นหลักฐาน
กิ่งทองใบหยก ว.เหมาะสมกัน (ใช้แก่หญิง กับชายที่จะ แต่งงานกัน) กินตามน้ำ  ก.รับของสมนาคุณที่เขา
เอามาให้ โดยไม่ได้ เรียกร้อง (มักใช้แก่เจ้าหน้าที่ พนักงาน ผู้มีอำนาจ)
กินน้ำใต้ศอก ก.จำต้องยอมเป็นรองเขา,  ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า,  (มักหมายถึงเมียน้อย
ที่ต้องยอมลงให้แก่
เมียหลวง)
กินอยู่กับปาก
อยากอยู่กับท้อง
ก.รู้ดีอยู่แล้วแสร้งทำเป็นไม่รู้
แกะดำ น.คนที่ทำอะไรผิดเพื่อนผิดฝูง
ในกลุ่มนั้น ๆ  (ใช้ในทางไม่ดี)
ไก่รองบ่อน น.ผู้ที่อยู่ในฐานะตัวสำรอง  ซึ่งจะเรียกมาใช้เมื่อไรก็ได้

  

  ภาพพจน์

ความหมายของภาพพจน์

ภาพพจน์เป็นการใช้ถ้อยคำสำนวนโวหาร ที่ทำให้ผู้รับสารเกิดมโนภาพ  เกิดจินตนาการ ถ่ายทอดอารมณ์

ทำให้มีความรู้สึกร่วมตรงตามความปรารถนาของผู้ส่งสาร

ประเภทของภาพพจน์

ภาพพจน์ที่ใช้ในการสื่อสารมีอยู่มากมายหลายประเภท ดังนี้

1.อุปมา (simile)
คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่งที่โดยธรรมชาติแล้วมีสภาพที่แตกต่าง กัน แต่มีลักษณะเด่น ร่วมกันและใช้คำที่มีความหมายว่า เหมือนหรือคล้ายเป็นคำแสดงการเปรียบเทียบเพื่อเน้นให้เห็นจริงว่า เหมือนอย่างไร ในลักษณะใด ได้แก่คำว่า เหมือน เสมือน ดัง ดั่ง คล้าย  ดูราว  เหมือนดั่ง ดุจ ประดุจ ประหนึ่ง ละม้าย เสมอ ปาน เพียง ราว ราวกับ พ่าง  เทียบ เทียม  เฉก เช่น ฯลฯ เป็นการกล่าว การเปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกันหรือต่างกันใช้คู่กับ อุปไมย อุปมา คือ สิ่งหรือข้อความที่ยกมากล่าวมาเปรียบ อุปไมย คือ สิ่งหรือข้อความที่พึงเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
ตัวอย่าง เช่น
-สวยเหมือนนางฟ้า -เงียบราวกับป่าช้า
-ร้องไห้ปานใจจะขาด -ชนเหมือนลิง
-ลูกคนนี้ละม้ายพ่อ -ดีใจเหมือนปลากระดี่ได้น้ำ
-เธอว่ายน้ำเก่งเหมือนปลา -เพลงนี้ไพเราะราวกับเพลงจากสวรรค์
-มีความรู้เหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน -ดวงหน้านวลกระจ่างดุจดวงจันทร์
-ผมของเธอดำเหมือนความมืดแห่งราตรี -เขาตะโกนเสียงดังดั่งฟ้าร้อง
2. อุปลักษณ์ (metaphor)คือการเปรียบเทียบด้วยการกล่าวว่าสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งเป็นการเปรียบ เทียบที่ไม่กล่าวตรง ๆ
ใช้การกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอง เป็นการเปรียบเทียบโดยนำเอาลักษณะ สำคัญของสิ่งที่ต้องการเปรียบเทียบ มาเปรียบเทียบทันทีโดย
ไม่ต้องมีคำเชื่อมโยง ไม่ต้องใช้คำแสดงการเปรียบเทียบ  ไม่มีคำแสดงความหมายว่า เหมือน ปรากฏอยู่ หรือถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ใช้คำว่า
 “เป็น”  หรือ  “คือ”  อุปลักษณ์  เป็นการใช้ถ้อยคำภาษา ในเชิงการเปรียบเทียบที่มีชั้นเชิงและลึกซึ้งกว่าอุปมา   นิยมใช้กับ
ภาษ-หนังสือพิมพ์ เพราะใช้คำน้อย ได้ความมากเหมาะกับเนื้อที่อันจำกัด ตัวอย่าง เช่น
-ปัญญาคือดาบสู้ดัสกร   -ครู คือแม่พิมพ์ของชาติ
-ชีวิตคือการต่อสู้  ศัตรูคือยากำลัง   -ลูกคือดวงตาดวงใจของพ่อแม่
-ครูเป็นแสงประทีปส่องทางให้ลูกศิษย์ เธอคือดอกฟ้าแต่ฉันนั้นคือหมาวัด      
-อูฐเป็นเรือของทะเลทราย -กีฬาเป็นยาวิเศษ       
-เขาเป็นมือขวาของผู้อำนวยการทีเดียวนะ -เขาเป็นสิงห์ทะเลทราย
-เหยี่ยวข่าวกำลังบินว่อนอยู่แถวทำเนียบรัฐบาล -ทหารเป็นรั้วของชาติ
-ทองกวาวทิ้งไร่นามาอยู่ป่าคอนกรีต -ใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง
-มโหรีจากราวป่ามาเรื่อยรี่ -เลือดในอกแท้ ๆ ยังทิ้งได้
-ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ -สวรรค์ในอก นรกในใจ
3.     บุคลาธิษฐาน (personification) คือ  การสมมุติให้สิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด สิ่งที่เป็นนามธรรม หรือสัตว์ให้มีสติปัญญา   อารมณ์หรือกิริยาอาการ เหมือนมนุษย์เพื่อให้สิ่งเหล่านั้นเกิดปรากฏการณ์เสมือนเป็น สิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก นึกคิดขึ้นมา  แล้วสื่อความรู้สึกออกมาให้ผู้รับสารได้รับรู้เป็นการเปรียบเทียบโดยนำเอา สิ่งไม่มีชีวิต หรือมีชีวิต แต่ไม่ใช่คนมากล่าวถึงราว กับเป็นคน  หรือทำกิริยาอาการอย่างคน  “ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้สิ่งที่กล่าวถึง มีชีวิตชีวา ผู้รับสารจะมองเห็นภาพสิ่งนั้นเคลื่อนไหวทำกิริยาอาการเหมือนคนมีอารมณ์ มีความรู้สึก และสามารถสื่อความรู้สึกนั้นมาสู่ผู้รับสารได้” (นภาลัย  สุวรรณธาดา, 2533: 295)ตัวอย่างเช่น
    -ฟ้าหัวเราะเยาะข้าชะตาหรือ
-ซุงหลายท่อนนอนร้องไห้ที่ชายป่า
-ดาวกะพริบตาเยาะเราหรือดาวเอ๋ย
-ตั๊กแตนโยงโย่  ผูกโบว์ทัดดอกจำปา
-จานและช้อนวิ่งกันขวักไขว่ไปทั่วห้องครัว
-พระจันทร์ยิ้มทักทายกับหมู่ดาวบนท้องฟ้า
-เสียงรถไฟหวีดร้องครวญครางมาแต่ไกล
-พระจันทร์ยิ้มทักทายกับหมู่ดาวบนท้องฟ้า
-ต้นอ้อหยอกล้อกับสายลมอย่างสนุกสนาน
-เปลวไฟกลืนกินบ้านทั้งหลังเข้าไปอย่างหิวโหย
-ทะเลไม่เคยหลับใหล เธอตอบได้ไหม ไฉนจึงตื่น
-ความซื่อสัตย์ วิ่งพล่านอยู่ในคณะรัฐมนตรีชุดนี้

4. อติพจน์ (hyperbole) คือ การกล่าวเกินจริง ซึ่งเป็นความรู้สึกหรือความคิดของผู้กล่าวที่ต้องการย้ำความหมาย ให้ผู้ฟังรู้สึกว่าหนักแน่นจริงจัง   เน้นความรู้สึกให้เด่นชัดและน่าสนใจ โดยไม่เน้นความเป็นจริง เพราะต้องการ ให้ผู้รับ สารเกิดความซาบซึ้งและประทับใจ ซึ่งอาจจะมากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็ได้  เพื่อเน้นความ รู้สึกมากกว่า ความเป็นเหตุเป็นผล  มุ่งเร้าอารมณ์และความรู้สึกสะเทือนใจเป็นสำคัญ  ภาพพจน์ประเภทนี้นิยม ใช้สื่อสารกันมากทั้งการพูดและการเขียน  ที่ต้องการแสดงความรู้สึกเพราะสามารถเปรียบเทียบให้เห็นภาพได้ง่ายตัวอย่าง เช่น

-ร้อนตับจะแตก
-คิดถึงใจจะขาด
-ไอ้หมัดทะลวงไส้
-เขาโกรธเธอจนอกระเบิด
-ฉันไม่มีเงินซักแดงเดียว
-ฉันหิวไส้จะขาดแล้วนะ
-อากาศร้อนจนแทบจะสุกอยู่แล้วสายเลือด
-พวกเราจะสู้จนเลือดหยดสุดท้าย

-หนาวกระดูกจะหลุด
-แหม รอตั้งโกฏิปีแล้ว
-การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า
-ลำบากเลือดตาแทบกระเด็น
-เหนื่อยสายตัวแทบขาด
-แม้จะเอาช้างมาฉุดฉันก็ไม่ไป
-เธอร้องไห้น้ำตาจะเป็น
– คิดถึงเธอทุกลมหายใจเข้าออก

5. นามนัย (Metonymy) คือ การเปรียบเทียบโดยการใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติที่เป็นจุดเด่น หรือลักษณะสำคัญ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  หรือการกล่าวถึงส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ  มากล่าวแทนคำที่ใช้เรียก สิ่งนั้นโดยตรง เป็นภาพพจน์ที่ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำธรรมดา ๆ ซ้ำซากตัวอย่าง เช่น

ปากกาคมกว่าดาบ
-เขาเป็นกระต่ายที่หมายจันทร์
(กระต่ายแทนชายหนุ่มฐานะต่ำต้อยจันทร์แทนผู้หญิงที่มีฐานะสูงส่ง)
-เขาเป็นมือขวาของท่านนายกฯ (มือขวาแทนคนสนิทที่ไว้ใจ)
-เขารักเก้าอี้ยิ่งกว่าชื่อเสียงเกียรติยศ (เก้าอี้แทนตำแหน่ง)
-คนเราจะต้องต่อสู้ตั้งอยู่ในเปลจนไปสู่ป่าช้า (เปล แทนการเกิด, ป่าช้า แทนการตาย)
น้ำตา และรอยยิ้มอยู่คู่ชีวิตมนุษย์เสมอมา (น้ำตาแทนความทุกข์, รอยยิ้มแทนความสุข)
เลือดของวีรชนจะจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ตลอดไป (เลือด แทนการต่อสู้)
-คนไทยไม่ยอมให้ใครมาทำลายขวานทองได้ (ขวานทองแทนประเทศไทย)
-การจัดสรรงบประมาณควรให้ได้ไปสู่ระดับรากหญ้าจริง ๆ (รากหญ้าแทนประชาชนระดับล่าง)

6. อนุนามมัย (Synecdoche) คือ การกล่าวถึงส่วนย่อยที่มีลักษณะเด่นของสิ่งนั้น ๆ มากล่าวแทนสิ่งที่ต้องการกล่าวถึงทั้งหมด   เป็นการเปรียบเทียบโดยนำเอาลักษณะเด่นที่เป็นส่วนหนึ่งมากล่าวแทนทั้งหมด ตัวอย่างเช่น

-เขากินหมาก (หมาก หมายถึง หมากพลู ปูน และส่วนผสมอื่น ๆ)
-เรื่องนี้ได้กลิ่นตุ ๆ ว่า คนมีสีอยู่เบื้องหลัง (คนมีสี หมายถึง ข้าราชการ)
  -มันสมองเหล่านี้มีค่าแก่ประเทศชาติอย่างยิ่ง (มันสมอง หมายถึง ปัญญาชน)
-มีการเรียกร้องให้เพิ่มค่าแรงให้ฉันทนา (ฉันทนา หมายถึง สาวโรงงาน)
-เขามีหน้ามีตาในสังคมได้เพราะมีผู้มีอำนาจให้การสนับสนุน(มีหน้ามีตา หมายถึง มีเกียรติ)
-มือกฎหมาย
ปฏิบัติการอย่างไม่เกรงกลัวอิทธิพลใด ๆ(มือกฎหมายหมายถึง ผู้รักษากฎหมาย)
มือที่เปื้อนชอล์คยังคงมุ่งมั่นที่จะสานฝันให้เป็นจริง (มือที่เปื้อนชอล์ค หมายถึง ครู)

7.ปฏิพจน์ (paradox) คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกันมากล่าวร่วมกันได้อย่างกลมกลืนกัน ภาพพจน์ประเภทนี้ผู้รับสารจะต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ความหมาย หรือ ตีความจึงจะเข้าใจได้ดี  ตัวอย่างเช่น

    –ไฟเย็น
เล็กดีรสโต
    –ชัยชนะของผู้แพ้
สันติภาพร้อน
    –ยิ่งรีบก็ยิ่งช้า
หัวเราะร่าน้ำตาริน
    -ความขมขื่นอันหวานชื่น
-ไม้งามกระรอกเจาะ
    -รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
-รักดีหามจั่ว รักชั่วเสา
    -น้าร้อนปลาเป็นน้ำเย็นปลาตาย
-แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร
    -เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย
ผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกเดินถนน
    -น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย
-ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด
    –เสียงกระซิบจากความเงียบ
-ชีวิตเต็มไปด้วยความว่างเปล่า

8. สัทพจน์ (onomatopoeia) คือ การใช้ถ้อยคำที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรีเสียงร้องของสัตว์  หรือเลียนเสียงกิริยาอาการต่าง ๆ ของคน การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน จะช่วยสื่อให้ผู้รับสารรู้สึกเหมือนได้ยินเสียง โดยธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ และเห็นกิริยาอาการของสิ่งนั้น ๆ ด้วย ตัวอย่างเช่น

    -ฝนตกแปะ ๆ

เปรี้ยง ๆ ดังเสียงฟ้าฟาด

    -ไผ่ซออ้อเอียดเบียดออด  

-บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว

    – เครื่องบินครางกระหึ่มมาแต่ไกล

– เสียงคลื่นซ่าซัดสาดที่หาดทราย

    -เสียงปืนดัง ปัง! ปัง! ขึ้นสองนัด

-ยุงบินหึ่งหึง อยู่ข้างหูน่ารำคาญ

    –อ้อยอี๋เอียง อ้อยอี๋เอียงส่งเสียงร้อง

 -เจ๊กเฮงเดินลากเกี๊ยะแซะ ๆ ไปตลอดทาง

    -ลมพัดกิ่งไม้ระหลังคาบ้านดังแกรกกรากน่ากลัว

-มันดังจอกโครม ๆ มันดัง จอก ๆ จอก ๆ โครม ๆ

    -มันร้องดังกระโต้งโฮง มันดังกอก ๆ กอก ๆ กระโต้งโฮง

-น้ำพุพุ่งซ่า ไหลมาฉาดฉาน เห็นตระการ เสียกังวาน

เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย  กระหึ่มโหยห้อยไม้น่าใจหาย

9. ปฏิวาทะ (oxymoron) คือ การใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามกันหรือขัดแย้งกันมารวมไว้ด้วยกันเพื่อให้ มีความหมาย ใหม่ หรือให้ความรู้สึก ขัดแย้งกัน หรือเพิ่มน้ำหนักให้แก่ความหมายของคำแรก ตวอย่างเช่น

-คนในหมู่บ้านนี้กลมเกลียวกันมาก (หมายถึง ความสามัคคี)
-แฟนของนายน่าอกใหญ่ฉิบหาย (หมายถึง หน้าอกใหญ่มาก)
-ลูกสาวของเขาช่างน่ารักน่าชัง (หมายถึง น่ารักน่าเอ็นดู)
-เดชทำคะแนนได้น้อยมาก (หมายถึง น้อยเหลือเกิน)
-เธอกำลังหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อยู่ (หมายถึง ข้อมูลที่เป็นจริง)
-คู่หมั้นของหล่อนดีเป็นบ้า (หมายถึง ดีมาก)
-แกแต่งตัวเท่ห์ฉิบหาย (หมายถึง เท่ห์มาก)
-เขาไม่เคยยินดียินร้ายฉันเลย (หมายถึง เอาใจใส่)
-บ้านหลังนี้ข้าหลับตาเห็นหมดแล้วว่าอะไรอยู่ตรงไหนเข้าไปได้เลย (หมายถึง จินตนาการ)

10.  สัญลักษณ์ (symbol) คือ การเปรียบเทียบที่เรียกสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยใช้คำอื่นแทน คำที่ใช้เรียกนั้นเกิดจากการเปรียบเทียบและ ตีความซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป  อาจเป็นคำ ๆ เดียว  ข้อความ  บุคคลในเรื่อง  เป็นเรื่อง เฉพาะตอน  หรือเรื่อง ๆ หนึ่งก็ได้   สัญลักษณ์ที่นิยมใช้มีดังนี้ ตัวอย่างเช่น

-สีขาว

หมายถึง

ความบริสุทธิ์
-สีดำ

หมายถึง

ความตาย  ความโศกเศร้า  ความชั่วร้าย
-ดอกกุหลาบสีแดง

หมายถึง

ความรัก
-ดอกหญ้า

หมายถึง

ความต้อยต่ำ
-ดอกมะลิ

หมายถึง

ความบริสุทธิ์
-ดอกบัว

หมายถึง

พุทธศาสนา
-ดอกทานตะวัน

หมายถึง

ความอบอุ่น ความรักและความสุข
-รวงข้าว

หมายถึง

ความอ่อนน้อมถ่อมตน
-หญ้าแพรก

หมายถึง

ความงอกงามทางสติปัญญาและความรู้
-น้ำค้าง

หมายถึง

ความบริสุทธิ์
-สุนัขจิ้งจอก

หมายถึง

คนเจ้าเล่ห์  คนที่ไม่น่าไว้วางใจ
-ลา

หมายถึง

คนโง่  คนที่น่าสงสาร
-ปีศาจ  แม่มด

หมายถึง

ความชั่วร้าย
-นางฟ้า เทวดา

หมายถึง

ความดีงาม
-นกขมิ้น

หมายถึง

ผู้ที่ร่อนเร่พเนจร
-ผึ้ง  มด

หมายถึง

ความขยันอดทน
-เมฆ  หมอก

หมายถึง

อุปสรรค  ความเศร้า
-ฝน

หมายถึง

ความเมตตากรุณา  ความชุ่มฉ่ำสดชื่น
-ระฆัง

หมายถึง

ความมีเกียรติ  ความมีชื่อเสียง
-สมอ

หมายถึง

ทหารเรือ
-ตราชู

หมายถึง

ความยุติธรรม
-มือไกวเปล

หมายถึง

แม่

               

                       677

                          แบบฝึกหัด

1.  การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมควรใช้อย่างไร

2.  จงกล่าวถึงที่มาของสำนวนไทยและยกตัวอย่างประกอบ

3.  จงกล่าวถึงลักษณะของสำนวนไทยและยกตัวอย่างประกอบ

4.  จงยกตัวอย่างสำนวนใหม่อย่างน้อย  10  สำนวน

5.  จงกล่าวถึงวิธีการใช้สำนวน 6.  โวหารแต่ละประเภทใช้กับงานเขียนใด

โวหาร

งานเขียนที่ใช้

บรรยายโวหาร
อธิบายโวหาร
พรรณนาโวการ
อุปมาโวหาร
เทศนาโวหาร
อุปมาโวหาร

  7.  จงกล่าวถึงความหมายของภาพพจน์

8.  จงยกตัวอย่างภาพพจน์ ๆ ละ  2   ตัวอย่าง

ภาพพจน์

ตัวอย่าง

อุปมา

อุปลักษณ์

บุคลาธิษฐาน

อติพจน์

อนุนามนัย

ปฏิพจน์

สัทพจน์

ปฏิวาทะ

สัญลักษณ์

บทที่ 4 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

21)AT THE HOTEL.(2)

   
AT THE HOTEL. (2) ที่โรงแรม (2)
Are there any messages for me? มีใครสั่งอะไรไว้ให้ฉันหรือเปล่า?
Did any one call while I was out? มีใครโทรศัพท์มาขณะที่ฉันออกไปข้างนอกหรือเปล่า?
Is there any mail for me? มีจดหมายถึงฉันบ้างไหม?
He’s not in his room, Sir. เขาไม่ได้อยู่ในห้อง
Would you like him paged? คุณต้องการให้กระจายเสียงตามเขามาไหม?
If anyone calls for me, I’ll be at the bar. ถ้ามีใครต้องการพบฉัน ฉันอยู่ที่บาร์นะ
If anyone asks for me, tell them I’ll be back at 5 p.m. ถ้ามีใครถามถึงฉันบอกเขาว่าฉันจะกลับมาเวลา 5 โมงเย็น
Has anyone been asking for me? มีใครถามถึงฉันบ้างไหม?
Can I leave a massage for Mr. Stone? ฉันสั่งอะไรไว้ให้คุณสโตนหน่อยได้ไหม?
Just a moment Madam, I’ll connect you with reception. โปรดรอสักครู่ฉันจะให้คุณติดต่อกับพนักงานต้อนรับ
I’ll put you through to the bell captain. ฉันจะพาคุณไปพบหัวหน้าคนต้อนรับ
I’ll connect you with the Front Desk. ฉันจะต่อที่สอบถามให้
Operator, would you wake me at 7 a.m., please? โอเปอเรเตอร์ กรุณาปลุกฉันเวลา 7 โมงเช้าด้วยนะ
I’d like an alarm call at 7 a.m., please. ฉันต้องการกริ่งปลุกเวลา 7 โมงเช้า
Can I have room service, please? ช่วยต่อแผนก รูมเซอร์วิสหน่อย
I’d like to order dinner in my room. ฉันต้องการสั่งอาหารค่ำมารับประทานในห้องพักของฉัน
Have you got a post office in the hotel? มีที่ทำการไปรษณีย์ในโรงแรมไหม?
Would you post these letters for me, please? คุณช่วยส่งจดหมายเหล่านี้ให้ฉันด้วย
Would you see these letters are posted, please? ช่วยส่งจดหมายเหล่านี้ให้ได้นะ
Can you send a telegram (cable) for me? คุณส่งโทรเลขให้ฉันด้วยได้ไหม?
Have you go any stamps? คุณมีแสตมป์บ้างไหม
Valet service, Sir. You rang? แผนกรับใช้ครับ/ค่ะ คุณเรียกมาใช่ไหมครับ/คะ
Can you clean these shoes for me? (British.) ทำความสะอาดรองเท้าให้ฉันด้วยได้ไหม? (อังกฤษ)
I’d like to have these shoes shined. American.) ทำความสะอาดรองเท้าให้ฉันด้วยได้ไหม? (อเมริกัน)
I left my shoes out last night, but I don’t think they’ve been cleaned. ฉันถอดรองเท้าทิ้งไว้ให้นอกห้อง แต่คิดว่าคงยังไม่มีใครขัดให้
I’d like to have a suit pressed. ฉันต้องการรีดชุดสากล
This suit needs dry-cleaning. ชุดสากลนี้ต้องซักแห้ง
Can you press these pants (American) in time for this evening? คุณรีดกางเกงตัวนี้ให้เสร็จภายในเย็นวันนี้ได้ไหม? (อเมริกัน)
Can you press these trousers (British) for this evening? คุณรีดกางเกงตัวนี้ให้เสร็จภายในเย็นวันนี้ได้ไหม? (อังกฤษ)
Who’s that? ใครน่ะ?
It’s the valet, Sir. เด็กรับใช้
Your suit is ready. ชุดสากลของคุณได้แล้ว
I spilt some wine over this jacket. ฉันทำเหล้าองุ่นหกรอเสื้อนอกนี้
Can you try and remove the stains? คุณพยายามทำให้รอยด่างออกให้หมดได้ไหม?
Can you give my dinner jacket a brush? คุณช่วยเอาแปรงปัดเสื้อนอกให้ด้วยได้ไหม?
How do I send for the maid? ฉันจะเรียกคนรับใช้ผู้หญิงได้อย่างไร?
Press this bell, Madam. กดที่ปุ่มนี้
I’ve rung three times, but no one has answered. ฉันกดกริ่งถึง 3 ครั้งแล้ว แต่ไม่มีคนตอบรับเลย
The bell doesn’t work. กริ่งเสีย
Can you make the room up? I’m going out now. คุณช่วยจัดห้องให้ด้วย ฉันกำลังจะออกไปข้างนอกเดี๋ยวนี้
I’d like to sleep late. ฉันอยากจะตื่นสาย ๆ 
Can you make the room up in the afternoon? คุณช่วยทำห้องให้เรียบร้อยตอนบ่ายได้ไหม?
Can you turn my bed down? คุณกลับที่นอนให้ฉันด้วยได้ไหม?
Can’t you see the ‘Please don’t Disturb’ sign? คุณไม่เห็นป้าย “ห้ามรบกวน” หรือ?
I think they’ve forgotten to clean my room. ฉันคิดว่า เขาลืมทำความสะอาดห้องของฉัน
Has this bathroom been cleaned? ห้องน้ำนี้ทำความสอาดแล้วหรือยัง?
These sheets don’t look very clean. ผ้าปูที่นอนเหล่านี้ดูไม่สอาดเลย
Can you call the housekeeper? คุณเรียกแม่บ้านให้หน่อยได้ไหม?
Can you bring me a clean towel? คุณเอาผ้าเช็ดตัวที่สอาดมาให้ฉันด้วยได้ไหม?
Can you bring me another pillow? คุณเอาหมอนมาให้ฉันอีกใบได้ไหม?
Can you get me some more coat hangers? คุณเอาที่แขนเสื้อมาเพิ่มอีกได้ไหม?
I’d like to have some clothes washed. ฉันต้องการให้เอาเสื้อผ้าไปซัก
I want to have a dress pressed. ฉันต้องการให้รีดกระโปรงชุดให้หน่อย
Can you iron this blouse? คุณรีดเสื้อตัวนี้ให้ด้วยได้ไหม?
Can you darn these socks? คุณชุนถุงเท้าคู่นี้ให้ด้วยได้ไหม?
Can you sew this button on? คุณช่วยเย็บกระดุมให้ด้วยได้ไหม?
Will you send these clothes to the laundry, please? คุณช่วยเอาเสื้อผ้าเหล่านี้ไปให้ร้านซักรีดด้วยได้ไหม?
When can I have them back? ฉันจะได้รับคืนเมื่อไหร่?
What time will they be ready? จะเสร็จตอนกี่โมง?
These socks are not mine. ถุงเท้าเหล่านี้ไม่ใช่ของฉัน
One of my shirts is missing. เสื้อเชิ้ตของฉันหายไปหนึ่งตัว
Can you bring me some soap? เอาสบู่มาให้ฉันหน่อยได้ไหม?
I was rather cold last night. เมื่อคืนฉันรู้สึกหนาว
I’d like another blanket, please. ฉันต้องการผ้าห่มอีกสักผืน
What’s the current here? ที่นี่ใช้กระแสไฟฟ้าขนาดไหน?
Have you got an adapter for my electric razor? คุณมีเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าสำหรับเครื่องโกนหนวดของฉันไหม?
I want to see the manager. ฉันต้องการพบผู้จัดการ
My door doesn’t lock properly. ประตูห้องของฉันล๊อคได้ไม่สนิท
The key doesn’t fit the lock. สลักไม่พอดีกับช่องกุญแจประตู
The tap in my bathroom has been dripping all night. ก๊อกในห้องน้ำของฉันหยดตลอดคืน
I think this light is fused. ฉันคิดว่าหลอดมันขาด
There’s no hot water. ไม่มีน้ำร้อน
The water is luke-warm. น้ำอุ่นนิดหน่อย
The water is coming out a very dirty colour. น้ำไหลออกมามีสีขุ่นสกปรกมาก
Can you drink the tap water? คุณดื่มน้ำประปาได้ไหม?
Is this drinking water? นี่เป็นน้ำสำหรับดื่มหรือ?
The lavatory isn’t draining properly. โถส้วมน้ำระบายออกไม่ค่อยสะดวก
Which way to the swimming pool? ไปสระว่ายน้ำไปทางไหน?
The swimming pool is for the use of hotel guests only. สระว่ายน้ำใช้ได้เฉพาะแขกของโรงแรมเท่านั้น
What is your check-out time? เช็คเอาท์กี่โมง?
Can you put me through to the cashier? ช่วยต่อพนักงานการเงินให้ฉันหน่อย
Can you prepare the bill for room 208? คุณทำใบเสร็จของห้อง 208 ให้ด้วยได้ไหม?
Can you send someone for my luggage? คุณให้ใครมาช่วยยกกระเป๋าหน่อยได้ไหม?
I’ll be checking out at noon. ฉันจะออกเวลาเที่ยงตรง
My train doesn’t leave till 5 p.m. รถไฟยังไม่ออกจนกว่าจะ 5 โมงเย็น
Can I leave my luggage with you here? ฉันทิ้งกระเป๋าไว้กับคุณที่นี่ได้ไหม?
The hall porter will take care of it. เด็กยกกระเป๋าจะช่วยดูแลให้
Would you like a taxi to the airport, Madam? คุณต้องการแท็กซี่ไปสนามบินไหม?
The hotel limousine is at your service. รถของโรงแรมพร้อมที่จะรับใช้คุณ
Can you get me a taxi, please? โปรดเรียกรถแท็กซี่ให้ฉันหน่อย
Will you forward all mail to this address, please? ช่วยส่งจดหมายที่มีมาทั้งหมดต่อไปที่อยู่นี้ด้วย
The service in your hotel is excellent. บริการในโรงแรมของคุณดีเยี่ยม
Please come and visit us again, Madam. โปรดมาพักกับเราอีก
   

 

22)AT THE BANK 

   
AT THE BANK ที่ธนาคาร
Is there a bank near here? แถวนี้มีธนาคารไหม?
Where can I change some money? ฉันจะแลกเงินได้ที่ไหน?
What’s the rate today? อัตราแลกเปลี่ยนวันนี้เท่าไร?
What currency, Madam? เงินสกุลอะไร?
That’s a poor rate of exchange. อัตราแลกเปลี่ยนต่ำมาก
Is that the official rate of exchange? นี่เป็นอัตราแลกเปลี่ยนทางการใช่ไหม?
The German mark has risen. ราคาเงินมาร์คของเยอรมันสูงขึ้น
The dollar has dropped. เงินดอลล่าร์ต่ำลง
I want to change some money. ฉันต้องการเปลี่ยนเงินสักจำนวนหนึ่ง
Are you buying or selling? คุณจะซื้อหรือขาย?
How much do you want to change? คุณต้องการแลกเปลี่ยนเท่าใด?
How many baht do I get for 100$? ฉันจะได้กี่บาทสำหรับเงิน 100 ดอลล่าร์
I want to change 20$. ฉันต้องการแลก 20 ดอลล่าร์
Can I cash some travellers cheques? ฉันขอขึ้นเงินเช็คเดินทางได้ไหม?
Sign here, please. กรุณาเซ็นชื่อตรงนี้ 
May I have your passport, please? ขอหนังสือเดินทางของคุณด้วย
Where are you staying? คุณพักอยู่ที่ไหน?
How would you like to have it? คุณต้องการแลกเป็นเงินธนบัตรชนิดไหน?
In what denomination would you like it? คุณต้องการธนบัตรราคาเท่าใด?
Do you want notes or coins? คุณต้องการธนบัตรหรือเหรียญ?
Have you got anything smaller? คุณมีเงินที่ย่อยกว่านี้บ้างไหม?
Have you got smaller notes? คุณมีธนบัตรย่อยกว่านี้บ้างไหม?
Can you give me some change for this? สำหับพวกนี้ คุณช่วยเปลี่ยนเป็นเงินย่อย (เศษสตางค์) ให้ด้วย
Are you the correspondents of the……..Bank? คุณเป็นผู้รับส่งข่าวของธนาคาร…….ใช่ไหม?
Has any money come for me? มีเงินมาถึงฉันบ้างไหม?
I’m expecting a remittance from abroad. ฉันกำลังคอยเงินที่ส่งมาจากต่างประเทศ
I’m expecting a cable transfer from Europe. ฉันกำลังคอยโทรเลขโอนเงินจากยุโรป
Do you know when it was sent? คุณทราบไหมว่ามันส่งมาเมื่อไร?
I’d like to open an account here. ฉันอยากจะเปิดบัญชีที่นี่
Do you have a branch nearer my office? คุณมีสาขาที่ใกล้ที่ทำงานฉันกว่านี้บ้างไหม?
I’d like to open a savings account, ฉันอยากจะเปิด 
a time deposit account, บัญชีออมสิน
a current account, บัญชีเงินฝากประจำ
a dollar account. บัญชีกระแสรายวัน
What interest do you pay on fixed deposits? บัญชีเงินดอลล่าร์
How long must you leave them in? จะต้องฝากนานเท่าไหร่?
What happens if I want to draw part of it? ถ้าฉันเอาเงินบางส่วนจะเป็นอย่างไร?
Can I draw 1,000 baht? ฉันขอถอนเงิน 1,000 บาท
Can I cash this cheque? ฉันขอขึ้นเช็คนี้เป็นเงินสด
Sign on the back, please. กรุณาเซ็นชื่อด้านหลัง
This cheque is drawn on another bank. เช็คใบนี้สั่งจ่ายที่ธนาคารอีกแห่งหนึ่ง
The date hasn’t been filled in. วันที่ยังไม่ได้ลง
It isn’t due till next week. มันยังไม่ถึงกำหนดจนกว่าอาทิตย์หน้า
This is an upcountry collection. นี่ต้องไปเข้าบัญชีที่ต่างจังหวัด
It could take anything up to 3 weeks to clear. มันอาจต้องใช้เวลาถึง 3 อาทิตย์ เพื่อชำระบัญชี
I’m afraid you’ll have to wait for collection. เกรงว่าคุณจะต้องคอยสักหน่อยสำหรับฝากเงิน
This cheque hasn’t been cleared yet. เช็คใบนี้ยังไม่ได้สะสางเลย
It was received too late for collection today. วันนี้คุณมาฝากเงินช้าไป
Have you credited my account yet? คุณโอนเงินเข้าบัญชีของฉันหรือยัง?
How much are the bank charges? ค่าธรรมเนียมธนาคารเท่าไร?
We have debited your account. เราได้หักจากบัญชีของคุณแล้ว
Where’s the pay-out counter? ช่องจ่ายเงินอยู่ที่ไหน?
Keep this slip. We’ll call your number out. เก็บชิ้นนี้ไว้แล้วเราจะเรียกเบอร์ของคุณ
The cashier will pay you over there. เจ้าหน้าที่การเงินจะจ่ายให้คุณที่โน่น
I’d like a new cheque book, please. ฉันอยากได้สมุดเช็คเล่มใหม่
Crossed or uncrossed? ขีดคร่อมหรือไม่ขีดคร่อม?
Can I have a deposit book? ฉันขอสมุดฝากเงินหนึ่งเล่มได้ไหม?
Where is the pay-in counter? ช่องฝากเงินอยู่ทางไหน?
Can I see my ledger card? ฉันขอดูสมุดแยกประเภทหน่อยได้ไหม?
Can you send me a bank statement? คุณจะส่งบัญชีเงินฝากให้ฉันได้ไหม?
He’s in the red. เขาอยู่ในฐานะลำบาก (เบิกเงินเกินบัญชี)
We’re out of the red. เราพ้นจากฐานะเบิกเงินเกินบัญชีแล้ว
Will you honour this cheque? คุณจะรับรองเช็คใบนี้ไหม?
Will you let this cheque through? คุณจะขึ้นเช็คใบนี้ได้ไหม?
I want to apply for overdraft facilities. ฉันต้องการกู้เงิน
What security can you offer? คุณจะเสนออะไรมาค้ำประกันได้บ้าง?
Have you got any collateral? คุณมีอะไรค้ำประกันบ้างไหม?
I want to mortgage this property. ฉันต้องการจำนองทรัพย์สินชิ้นนี้
Can you deposit the title deeds with us? คุณจะฝากโฉนดไว้กับเราได้ไหม?
I have the following assets and securities……. ฉันมีทรัพย์สินและหลักฐานค้ำประกันเหล่านี้
What’s the rate of interest on overdrafts? อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่าไร?
The interest rate is too high. อัตราดอกเบี้ยสูงเกินไป
Why can’t you give me your prime rate? คุณให้อัตราต้นทุนกับฉันไม่ได้หรือ?
You are above the overdraft limit. คุณกำลังเบิกเงินเกินบัญชีที่ให้เบิกเกินได้
You have exceeded your overdraft limit. คุณเบิกเงินเกินบัญชีแล้ว
They were forced to declare bankruptcy. พวกเขาถูกประกาศล้มละลาย
The bank seized hold of their assets. ธนาคารได้ยึดทรัพย์สินของเขา
Can I buy a bank draft? ฉันขอซื้อตั๋วขึ้นเงินธนาคารได้ไหม?
Can I remit money to my family. ฉันส่งเงินไปต่างประเทศได้ไหม?
I want to remit money to my family. ฉันต้องการส่งเงินให้ครอบครับของฉัน
We’ll need your residence book and your tax clearance certificate. เราต้องการบัตรประจำตัว และใบรับรองของการชำระค่าภาษีของคุณ
You may remit up to 200 S per month. คุณสามารถจะส่งเงินได้ถึงเดือนละ 200 ดอลล่าร์
You’ll have to get permission from the Bank of Thailand. คุณจะต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
We can apply for you. เราจะเสนอให้คุณ
You can apply through us. คุณเสนอผ่านเราก็ได้
It will take a few days. มันใช้เวลาเพียง 2-3 วัน
Can you complete this Exchange Control form? คุณช่วยกรอกข้อความลงในแบบฟอร์มแลกเปลี่ยนเงินให้สมบูรณ์ด้วย
What is the reason for your remittance? คุณส่งเงินไปเนื่องด้วยสาเหตุอันใด
Have you got any invoices? คุณมีใบกำกับสินค้าหรือเปล่า?
I would like to open a letter of credit. ฉันอยากจะเปิดเล็ทเตอร์ออฟเครดิท (บัญชีเงินเชื่อ)
In favour of whom? ในนามของใคร?
At sight. ตั๋วจ่ายเมื่อเห็น
At 90 day sight. มีกำหนด 90 วัน
Confirmed and Irrevocable. ยืนยันและเพิกถอนไม่ได้
Have the shipping documents arrived at the bank yet? หลักฐานการส่งสินค้ามาถึงธนาคารหรือยัง?
Where’s the original Bill of Lading? ใบตราสั่งต้นขั้วอยู่ไหน?
Can I have a shipping guarantee? ฉันจะประกันภัยการส่งสินค้าได้ไหม?
The packing list is missing. รายละเอียดสินค้าขาดไป
Partial shipments not allowed. ส่งของทีละส่วนไม่ได้
Transhipment allowed. เปลี่ยนเรือได้ (แต่สินค้าที่อยู่ในเรือต้องย้ายหมด)
 I want to apply for Trust Receipt facilities. ฉันขอทำในวงเงิน ทรัสท์รีซีท
Can I have a letter of guarantee from the bank? ฉันขอหนังสือรับประกันจากธนาคารได้ไหม?
Can I obtain a bank guarantee? ให้ธนาคารค้ำประกันได้ไหม?
Will you endorse this cheque? คุณจะสลักหลังเช็คใบนี้ไหม?
The cheque will have to be certified by the bank. เช็คจะต้องได้รับการรับรองจากธนาคาร
Can I discount this bill of exchange? ฉันขอส่วนลดตั๋วแลกเงินนี้ได้ไหม?
He keeps postponing payment. เขาเลื่อนกำหนดชำระเงินเรื่อย ๆ 
His cheque has bounced. เช็คของเขาใช้ไม่ได้ (เช็คเด้ง)
His cheque has been returned. เช็คของเขาถูกส่งกลับ
Irregular signature. ลายเซ็นไม่ถูกต้อง (ลายเซ็นไม่เหมือนที่ให้ไว้)
Refer to Drawer. โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย (เป็นที่เข้าใจคือเงินมีไม่พอ)
Insufficient funds. เงินในบัญชีไม่พอจ่าย
Account closed. ปิดบัญชีแล้ว
Postdated cheque. เช็คล่วงหน้า (เช็คยังไม่ถึงกำหนดจ่าย)
Effects not cleared, please present again. ยังรอเรียกเก็บเงินอยู่ โปรดนำมายื่นใหม่
Alteration requires drawer’s full signature. โปรดให้ผู้สั่งจ่ายลงนามเต็มกำกับการแก้ไข
Drawer’s seal required. โปรดประทับตราของผู้สั่งจ่าย
Payment stopped. มีคำสั่งให้ระงับการจ่าย (ผู้สั่งจ่ายระงับให้งดจ่าย)
Drawer is non-resident. E.C. required. ผู้สั่งจ่ายมีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
Bank notes are printed. ธนบัตรถูกพิมพ์
Coins are minted. เหรียญถูกผลิต
This is a forgery. นี่เป็นธนบัตรปลอม
These are counterfeit notes. พวกนี้เป็นธนบัตรปลอม
This is a forged cheque. นี่เป็นเช็คปลอม
How can you tell? คุณรู้ได้อย่างไร?
This is hot money. นี่เป็นเงินร้อน (เงินที่ต้องรีบใช้)
There are a lot of counterfeit notes in circulating. มีธนบัตรปลอมใช้หมุนเวียนอยู่จำนวนมาก
The old notes will be taken out of circulation. ธนบัตรเก่า ๆ จะไม่นำมาใช้หมุนเวียน
Is this a stable currency? กระแสเงินนี้หมุนเวียนคงที่หรือ?
The pound has been devalued. เงินปอนด์ลดค่าลง
The mark has been revalued. เงินมาร์คเพิ่มค่าขึ้น
The yen is floating. เงินเยนกำลังลอยตัว
Where’s the Commercial Credits Department? แผนกบัญชีการค้าอยู่ทางไหน?
Where’s the Foreign Exchange Department? แผนกแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอยู่ที่ไหน?
Can I see the Head of the Department? ฉันขอพบหัวหน้าแผนกได้ไหม?
One of the clerks will assist you. เสมียนคนใดคนหนึ่งจะช่วยคุณได้
The manager will see you now. ผู้จัดการจะพบคุณได้เดี๋ยวนี้
The assistant manager is out. รอง (ผู้ช่วย) ผู้จัดการไม่อยู่
The committee has approved your project. คณะกรรมการอนุมัติโครงการณ์ของคุณ
They have agreed to allocate funds. พวกเขายินยอมที่จะแบ่งเงินทุนให้
Can I speak to the chief accountant? ฉันขอพูดกับสมุห์บัญชี
I talked to the President of the Bank. ฉันได้พูดกับประธานธนาคารแล้ว
He’s a senior vice-president. เขาเป็นรองประธานกรรมการอาวุโส
He’s chairman of the board of directors. เขาเป็นประธานของคณะกรรมการอำนวยการ
Have you been in banking long? คุณทำงานธนาคารมานานหรือยัง?
He’s been a banker for 25 years. เขาทำงานธนาคารมา 25 ปีแล้ว
He’s been transferred to another branch. เขาถูกย้ายไปอยู่สาขาอีกแห่งหนึ่ง
Can I have a letter of introduction to your Udorn branch? ฉันขอจดหมายแนะนำตัวถึงสาขาอุดรได้ไหม?
Can I cash this letter of credit here? ฉันขอขึ้นเล็ทเตอร์ออฟเครดิท เป็นเงินสด
I would like to authorize this person to sign cheques during my absence. ฉันขอมอบอำนาจให้แก่บุคคลผู้นี้ ในการเซ็นเช็คระหว่างที่ฉันไม่อยู่
We’ll need a letter granting him power of attorney. เราต้องการจดหมายมอบอำนาจทนายให้เขา
For every debit there is a credit. เมื่อมีลูกหนี้ก็ต้องมีเจ้าหนี้
All that glitters is not gold. สิ่งที่แวววาวนั้นไม่ใช่ทองเสมอไป
   

English Proverbs(สุภาษิต)

   
 

PROVERBS.
สุภาษิต
Actions speak louder than words. การกระทำสำคัญกว่าการพูด
After a storm comes a calm. ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน
All road lead to Rome. มีหลายทางที่จะไปถึงจุดหมายเดียวกัน
All that glitters is not gold. สิ่งแวววาวทั้งหลายมิใช่ทองเสมอไป
All things are difficult before they are easy. ลำบากก่อนไปสบายเมื่อปลายมือ
The grass is greener on the other side. ของต้องห้าม ย่ามใจ ให้ประสงค์
As well be hanged for a sheep as a lamb. ตกกระไดพลอยโจน
As you make your bed, so you must lie in it. ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
A bad workman always blames his tools. รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
Barking dogs seldom bite. หมาเห่ามักไม่กัด
Beauty is but skin deep. สวยแต่รูป จูบไม่หอม
Beauty is in the eye of  the beholder. ลางเนื้อ ชอบลางยา
Beggars must not be choosers. ยามไร้ เด็ดดอกหญ้า แซมผม
Better be sure than sorry. กันไว้ดีกว่าแก้
Better be the head of a dog than the tail of a lion. เป็นราชาในกระท่อม ดีกว่าเป็นขี้ข้าในปราสาท
Better bend than break. จงเป็นเยี่ยงต้นอ้อทีลู่ลม
Better late than never. สายดีกว่าขาด
Better the devil you know than the devil you don’t know. รู้กับไม่รู้ เลือกที่รู้ไว้ดีกว่า
A bird in the hand is worth two in the bush. สิบเบี้ยใกล้มือ ยี่สิบไกลมือ
Birds of a feather flock together. สัตว์พันธุ์เดียวกันย่อมสังสรรร่วมกัน
Blood is thicker than water. เลือดข้นกว่าน้ำ
Books and friends should be few but good. จะคบมิตรคิดให้ดีอย่ามีมาก อ่านลำบากมากเล่มหนังสือหนา   น้อยเล่มน้อยคนเถิดเกิดปัญญาเลือกคุณค่าเลิศไซร้ใช่ปริมาณ
Brevity is the soul of wit. พูดสั้น ๆ นั้นฟังง่ายเข้าใจดี
The bull must be taken by the horns. ยามผจญความยากวิบากนั้น จงสู้มันสุดชีวีอย่าหนีหน้า
A bully is always a coward. พาลชนคือคนขลาด
Burn not your house to fright the mouse away. ขี่ช้างจับตั๊กแตน
Busiest men find the most time. ยิ่งขยัน ยิ่งมีเวลามาก
Call a spade a spade. พูดให้ตรงจุดดีกว่าจะน่าฟัง
A cat has nine lives. ไม่ถึงที่ตายก็ไม่วายชีวาวาตม์
Charity begins at home. ความรักใคร่ไม่ตรีเกิดที่บ้าน แผ่ไพศาลออกไปในภายหลัง
The child is father of the man. เด็กวันนื้คือผู้ใหญ่วันหน้า
Children should be seen and not heard. เป็นเด็กควรรู้จักกาละเทศะ
Cleanliness is next to godliness. สะอาดกายเจริญวัย  สะอาดใจเจริญสุข
Clothes do not make the man. คนมิได้งามเพราะแต่ง
Courtesy  costs nothing. จะอ่อนน้อม อ่อนไว้ไม่สิ้นเปลือง
Cowards die many times before their deaths. คนขลาดตายหลายครั้ง
The cowl does not make the monk. เป็นภิกษุสงฆ์มิใช่ตรงจีวร
Cut your coat according to your cloth. นกน้อยทำรังน้อยแต่พอตัว
Death is the great leveller. ทุกคนไปทันกันหมดที่เชิงตะกอน
Discretion is the better part of valour. กล้านักมักบิ่น
Do not cast your pearls before swine. อย่ายื่นแก้วให้วานร
Don’t count your chickens before they are hatched. อย่าหมายน้ำบ่อหน้า
Don’t cut the bough you are standing on. ให้แน่ใจเสี่ยก่อนจึงค่อยทำ
Don’t make a mountain out of a molehill. อย่าขี่ช้างจับตั๊กแตน
Don’t put all your eggs in one basket. จงระวัง อย่าประมาท
Don’t put the cart before the horse. ทำสิ่งใดจงทำไปให้ถูกหลัก  ไหนควรจักทำก่อนหรือทำหลัง  อย่าปนปะคละยุ่งกันนุงนัง หน้าไว้หลัง  หลังไว้หน้าพาเสียการ
Don’t ride the high horse. อย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์
Don’t wash your dirty linen in public. อย่าสาวไส้ให้กากิน
A drowning man will clutch at a straw. คนจมน้ำ จักไขว้คว้า แม้หญ้าฟาง
The early bird catches the worm. ถึงก่อนได้ก่อน
Easier said than done. พูดง่ายแต่ทำยาก
Every ass likes to hear himself bray. คนโง่ชอบอวดฉลาด
Every cloud has a silver lining. ชีวิตนี้ยังมีหวัง
Every family has a skeleton in the cupboard. ไฟในอย่านำออก  ไฟนอกอย่านำเข้า
Every man has his price. เอาสินการสอดจ้าง แข็งดั่งเหล็กเงินง้าง อ่อนได้โดยใจ
Every man is his own worst enemy. ศัตรูร้าย คือนิสัยชั่ว ของตัวเอง
Everything comes to him who waits. ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม
Evil be to him who evil thinks. หากจิตคิดชั่วไซร้ ชั่วนั้นพลันสนอง
The exception proves the rule. กฎเกณฑ์ทุกข้อย่อมมีข้อยกเว้น
Experience is the mother of wisdom. ผิดเป็นครู
An eye for an eye, and a tooth for a tooth. ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว
The eye is bigger than the belly. คนตะกละมักไม่ประมาณท้อง
Familiarity breeds contempt. เล่นกับหมา หมาเลียปาก เล่นกับสาก สากต่อยหัว
First come, first served. ถึงก่อนได้ก่อน
Forbidden fruit is sweetest. ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ
Forewarned is  forearmed. กันไว้ดีกว่าแก้
Fortune knocks at least once at every man’s gate. โอกาสทอง มักผ่านมา เพียงหนเดียว จึงควรเฉลียวฉวยโอกาส อย่าคลาดหมาย
A friend in need is a friend indeed’ เพื่อนแท้คือเพื่อนในยามยาก
Give a thief enough rope and he’ll hang himself. ให้โอกาสคนชั่วทำชั่ว ความชั่วนั้นจะบั่นทอนตัวเขาเอง
Give and take. มิตรจิตรก็มิตรใจ
Give knaves an inch and they will take a yard. ให้เฟื้องเอาสลึง
The grapes are sour. หมาจิ้งจอกกับองุ่นเปรี้ยว
The greatest talkers are the least doers. คนพูดมากมักทำน้อย
Half a loaf is better than no bread. จงพอใจในสิ่งที่ได้มา แม้จะไม่สมใจเท่าใดนัก
Half the word knows not how the other half lives. ต่างคนก็ต่างอยู่ ซีกโลกโน้นบ่รู้ (คนรวย)ซีกโลกนี้เป็นไฉน (คนจน)
Haste makes waste. ช้าเป็นการนานเป็นคุณ
He laughs best who laughs last. หัวเราะทีหลังดังกว่า
He that cannot obey cannot command. ผู้ที่ไม่เคยเชื่อฟัง ก็จะออกคำสั่งไม่เป็น
He that has a great nose thinks everybody is speaking of it. จงอย่าทำตัวเป็นวัวสันหลังหวะ
He who begins many things, finisher but few. คนจับจดทำอะไรมักไม่สำเร็จ
He who excuses himself accuses himself. คนที่ชอบอภัยให้ตัวเอง มักคิดว่าตนผิด
He who hesitates is lost. ความลังเล นำไปให้พลาดหวัง
He who pays the piper calls the tune. อยากเป็นใหญ่เป็นได้ถ้ามีเงิน
He who would climb the ladder must begin at the bottom. การขึ้นบันได ต้องไต่ไปทีละขั้น
Health is better than wealth. ร่างกายสมบูรณ์ ดีกว่าทรัพย์สมบูรณ์
Hitch your wagon to a star. จงตั้งความมุ่งหมายไว้ให้สูง
Hope springs eternal in the human breast. ชีวิตนี้ยังมีหวัง
A house divided against itself cannot stand. การแตกความสามัคคีในหมู่คณะ นำมาซึ่งความพินาศ
Hunger is the best sauce. ความหิวทำให้อาหารออกรส
Idle folk have the least leisure. คนขี้เกียจมักไม่มีเวลาพัก
If at first you don’t succeed, try, try, try again. ถ้าพยายามครั้งแรกไม่สำเร็จ ก็อย่าท้อถอย
If it were not for hope, the heart would break. หากหมดหวังก็หมดพลังใจ
If the blind lead the blind, both shall fall into the ditch. เตี้ยอ้มค่อม
If the mountain will not come to Mohammed,  ถ้าเอาชนะเองไม่ได้ ก็จงเชื่อฟังผู้ชนะก็แล้วกัน
Mohammed must go to the mountain.  
If there were no clouds, we should not enjoy the sun. ถ้าไม่เคยทุกข์ จะรู้หรือว่าสุขนั้นเป็นไฉน
If you want a thing well done, do it yourself. อย่ายืมจมูกคนอื่นมาหายใจ
In for a penny, in for a pound. เลยตามเลย
In wine there is truth. คนเมามักพูดจริง
It’s a long lane that has no turning. หากโชคไม่ดี วันหน้ามันจะต้องดีขึ้น เพราะโชค
  จะไม่ดีตลอดไปนั้นไม่ได้
It is easy to be wise after the event. อวดรู้ทีหลังเหตุเกิดมันง่ายมาก
It is no use crying over spilt milk. ผิดพลาดไปแล้ว ก็แล้วกันไป จะร้องไห้ไปทำไมร้องไปก็ไม่ได้คืนมา
It is too late to lock the stable when the horse has been stolen. วัวหายล้อมคอก
It is useless to flog a dead horse. อย่าฟื้นฝอยหาตะเข็บ เราก็จิต คิดดูเล่าเขาก็ใจปลูกอื่นใยปลูกไมตรีดีกว่าพาล
It never rains but it pours. เวลาโชคร้าย มักโชคร้ายพร้อมกันหลาย ๆ ครั้ง
It takes all sorts to make a world. น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย
It takes two to make a quarrel. ตบมือข้างเดียวไม่ดัง
A jack of all trades is master of none. อย่าจับปลาหลายมือ
Judge not, that ye be not judged. ดูตัวเองก่อนจึงค่อยค่อนเขา
Keep something for a rainy day. จะสะสมทรัพย์ไว้ในยามยาก
Kill not the goose that lays the golden eggs. อย่าโลภมาก จะลาภหาย
Know your own faults before blaming others for theirs. ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง
Knowledge is power. วิทยาการคือทางไปสู่อำนาจ
Laugh and the world laughs with you, weep and weep alone. เพื่อนกินหาง่ายเพื่อนตายหายาก
Learn to walk before you run. จะพากเพียรเขียนอ่านการหนังสือ จะได้หรือรวดเดียวจบสมุดไข  ต้องค่อยอ่านคอยเพียรค่อยเขียนไป  มีหรือไม่ใครวิ่งได้ก่อนเดิน
The leopard cannot change his spots. เสือดาวเปลี่ยนลายไม่ได้ฉันใดทรชนก็ไม่อาจเปลี่ยนสันดานชั่วฉันนั้น
Let sleeping dogs lie. อย่าแกว่งเท้าเข้าหาเสี้ยน
A liar is not believed when he tells the truth. เด็กเลี้ยงแกะ
Like father, like son. ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น
Live and learn. อยู่ไป เรียนไป
Live and let live.
น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย เราก็จิตคิดดูเล่าเขาก็ใจ ปลูกอื่นใย ปลูกไมตรีดีกว่าพาล
Live not to eat, but eat to live. กินเพื่ออยู่ อย่าอยู่เพื่อกิน
Look before you leap. จะทำกิจ คิดการให้รอบคอบ
Love is blind. ความรักทำให้คนตาบอด
Love me, love my dog. ขอให้รักฉันอย่างไม่ลืมหูลืมตา
Make hay while the sun shines. น้ำขึ้นให้รีบตัก
A man is as old as he feels, and a woman is as old as she looks. หญิงแก่ที่กาย ชายแก่ที่ใจ
Men are known by the company they keep. จะมองคนชั่วดีก็ที่มิตร
A miss is as good as a mile. สอบเกือบได้ ก็หมายว่าตก
Necessity is the mother of invention. ความจำเป็นเป็นบ่อเกิดของการประดิษฐ์
Never put off till tomorrow what may be done today. อย่าผลัดวัดประกันพรุ่ง
Never say die. ชีวิตนี้ย่อมมีหวัง
New brooms sweep clean. เลื่อนตำแน่งการงานเบิกบานใจ ชักเห่อใหญ่วุ่นทำน่ารำคาญ
No new is good news. ไม่มีข่าว นั่นแหละข่าวดี
Nothing is given so freely as advice. ไม่มีอะไรให้ได้ง่ายเท่าคำแนะนำ
Once bitten, twice shy. โดนเข้าครั้ง ยั้งไปนาน
One is  never too old to learn. ไม่มีใครแก่เกินเรียน
Patience is a virtue. จงตั้งมั่นในขันติ
The pen is mightier than the sword. ปากกาน่ากลัวกว่ากระบอกปืน
Rats desert a sinking ship. มองเห็นภัยมีก็เผ่นหนีเอาตัวรอด
A rich man’s joke is always funny. มีเงินเขาก็นับว่าน้อง มีทองเขาก็นับว่าพี่
A rolling stone gathers no moss. คนจับจดทำอะไรไม่เป็นผล ใครจะทนมั่นหมายคนหลายใจ
Rome was not built in a day. อะไรก็ไม่พ้นความพยายาม
Some people cannot see the wood for the trees. เส้นผมบังภูเขา
Speech is silver, silence is golden. พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
Still waters run deep. น้ำนิ่งไหลลึก
A stitch in time saves nine. จงตัดไฟแต่ต้นลม
Strike while the iron is hot. น้ำขึ้นให้รีบตัก
Take care of the pence and the pounds will take care of themselves. ฝนตกทีละหยดยังเต็มตุ่มได้
There’s a black sheep in every flock. ในทุกหมู่ชน มักมีคนชั่วปนอยู่
There is honour among thieves. แม้ในหมู่โจรก็ยังมีสัจจะ
There is no pleasure without pain. ไม่มีสุขใดที่ไร้ทุกข์
There is no smoke without fire.
       
       

 

ถ้าไม่มีไฟก็ไม่มีควัน
Those who live in glass houses should not throw stones. สำรวจตัวเสียก่อนจะค่อนเขา ตัวของเราก็ยังมีที่ตำหนิ
Time and tide wait for no man. เวลาและกระแสน้ำไม่คอยใคร
To err is human. สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้งสองขาโด่เด่ก็ต้องเซไปบ้าง
Too many cooks spoil the broth. มากหมอก็มากความ
Truth is stranger than fiction. ความเป็นจริง ประหลาดยิ่ง กว่านิยาย
Two heads are better than one. สองหัวดีกว่าหัวเดียว
Variety is the spice of life. ใครจะทนกินน้ำพริกถ้วยเดียวได้
Virtue is its own reward. กุศลกรรมทำให้เกิดกุศลจิต
Waste not, want not. มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท จักไม่ขาดสิ่งของต้องประสงค์
The way to a man’s heart is through his stomach. เสน่ห์ปลายจวักผัวรักจนตาย
What the eye doesn’t see the heart doesn’t grieve over. ไม่รู้เสียแล้วก็แล้วไป
When in Rome do as the Romans do. เข้าเมืองตาหลิ่วก็ต้องหลิ่วตาตาม
When the cat is away the mice will play. แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง
Where there’s a will there’s a way. ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น
You cannot get blood out of a stone. อย่าหาเลือดกับปู
You cannot teach an old dog new tricks. ไม้แก่ดัดยาก
You may lead a horse to water, but you cannot make him drink. อย่าข่มเขา โคขืน ให้กินหญ้า

บทที่ 5 เทคโนโลยีการศึกษา

 

ความหมายของ “เทคโนโลยี”

  เทคโนโลยี“หมายถึง การนำแนวคิด หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลิตผลทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบงานนั้นๆ ให้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และเอื้ออำนวยในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency)

2. ด้านประสิทธิผล (Effectiveness)

3. ประหยัด (Economy)

4. ปลอดภัย (Safety)

 ความหมายของ “เทคโนโลยีการศึกษา”

“เทคโนโลยีการศึกษา” หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา การพัฒนา และการประยุกต์วัสดุ เครื่องมือ วิธีการ เพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์การเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น

เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ

1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ

2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์

 

ระดับของเทคโนโลยีการสือสาร 

เทคโนโลยีทางการศึกษาแบ่งออกเป็น  3  ระดับ  ได้แก่

1. ระดับอุปกรณ์การสอน

2. ระดับวิธีสอน

3.  ระดับการจัดระบบการศึกษา

เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้

2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล

3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา

4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา

นวัตกรรมการศึกษา

 ความหมายของ “นวัตกรรม”

คำว่า นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator)     

นวัตกรรม   เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีเสมอ  ทั้งเนื่องจากบทบาท  และมีความหมายคล้ายคลึงกัน  มีเป้าหมายในการนำไปใช้อย่างเดียวกันดังแผนภูมิต่อไปนี้

นวัตกรรม  (Innovation)                                                               เป้าหมาย

เทคโนโลยี   (Technolgy)

หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม 

  1.  จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
  2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
  3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 


     ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation)

ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development)

ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป

โดยสรุปแล้ว

นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา

 

ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา 

“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation)

หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้   4  ประการ คือ

               1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)

2. ความพร้อม (Readiness)

3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา

4. ประสิทธิภาพในการเรียน

นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน 

1.   E-learning

2.  ห้องเรียนเสมือนจริง

3.  สื่อหลายมิติ

  

บทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการเรียนการสอน

เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาจึงมีความสำคัญและบทบาทต่อการจัดการเรียนการสอน  ดังนี้

1. ช่วยให้ผู้เรียนได้กว้างขวางมากขึ้น

2.  สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล

3.  ให้การศึกษาดีขึ้น

4.  มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน

5.  ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว

6.  ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น

  

ข้อแตกต่าง และความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรม    

 นวัตกรรม คือ ความคิดและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

เทคโนโลยี คือ การนำเอาขบวนการวิธีการและแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่าง มีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรม คือ การให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ จะถูกนำมาใช้ก่อนจนกว่าจะถูกให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ งานในปัจจุบัน ดังนั้นความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ ที่เรียกว่านวัตกรรมจะกลายเป็นเทคโนโลยีทันที

สาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา

กระบวนการทำให้การศึกษาในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  พอสรุปได้  3  ประการคือ

1.  การเพิ่มจำนวนประชากร

2.  การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม

3.  ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ ๆ

 

สรุป

 การนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น  เมื่อสถานการณ์ของการใช้เปลี่ยนแปลงไป เช่น ชั้นเรียนที่ผู้เรียนเปลี่ยนไป หรือเวลาที่ต่างกัน สิ่งเหล่านี้ มีผลต่อประสิทธิภาพของวิธีการที่ผู้สอนนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งสิ้น ในกรณีที่ใช้วิธีการนั้นต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นการใช้เทคโนโลยี แต่ในกรณีที่ประสิทธิภาพลดลง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีการนั้น ๆ หรืออาจต้องหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ สิ่งใหม่ที่นำมาใช้หรือวิธีการที่ได้รับนำเอาการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)
ในการดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ มักจะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มากมาย มนุษย์จึงพยายามสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา เพื่อเปลี่ยนจากสภาพที่เคยเป็นอยู่ไปสู่สภาพที่อยากเป็น นวัตกรรมจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับวงการต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมทางการแพทย์ นวัตกรรมทางการเกษตร นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม นวัตกรรมทางการบริหาร นวัตกรรมทางการประมง นวัตกรรมทางการสื่อสาร นวัตกรรมทางการศึกษา ฯลฯ เป็นต้น

บทที่ 6 ความหมาย ประเภท ของเทคโนโลยี นวัตกรรม พัฒนาการของเทคโนโลยี และเทคโนโลยี


 

เทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดจากการรวมตัวของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม แขนงต่างเข้าด้วยกัน ได้แก่

 1.  เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะ

2.  เทคโนโลยีในระบบดิจิตอล

                  

3. เทคโนโลยีเครือข่ายโดยเฉพาะเครือข่าย Integratedservices digital network : ISDN ที่วางมาตรฐานสำหรับการรวมเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายข้อมูลที่เคยแยกกัน บริการเสียงและข้อมูลจะถูกรวม (Integrated) บนเครือข่าย ISDN    

                                

4.  เทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูล (Telecommunications Transmission Technology)

เป็นเทคโนโลยีที่รองรับกระบวนการส่งผ่านข้อมูลด้วยปริมาณและความเร็วอาทิเทคโนโลยีไมโครเวฟ

5. เทคโนโลยีดาวเทียม และเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้วล้วนแต่ ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งในสายเคเบิลเส้นหนึ่งประกอบไปด้วยเส้นใยแก้วมากมาย

ทางการศึกษา

1.   วัสดุอุปกรณ์  (Hardware) เช่น ชอล์ค ดินสอ กระดาษ ฟิล์ม ภาพยนตร์ วิดิทัศน์ สไลด์ เครื่องฉายข้ามศรีษะ คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง

2.   นวัตกรรมที่เป็นเครื่องมือ  เช่น ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง

3.  นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นวิธีการ   เช่น การสอนแบบต่างๆ  แบบเรียนสำเร็จรูป  RIT

 

ความหมายของเทคโนโลยี

“เทคโนโลยี” หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการและแนวความคิดใหม่ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อให้การ ดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การขยายตัวทางวิทยาการทำให้เกิดเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้งานในสาขาต่างๆ อย่าง หลากหลาย อาทิ เช่น

1.  เทคโนโลยีทางการทหาร(MilitaryTechnology)
2.  เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) คือ ไม่เพียงจำกัดแค่การให้บริการในวงการแพทย์ สาธารณสุข และโรงพยาบาลอีกต่อไป แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญทำให้ประชาชนและผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์สาธารณสุข รวมทั้งใช้บริการสาธารณสุขจากที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทาง

3.  เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology) คือ วิธีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผัก ด้วยวิธีใหม่ โดยไม่ใช้สารเคมี

4.  เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology) คือ วิธีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผัก ด้วยวิธีใหม่ โดยไม่ใช้สารเคมี

                  

5. เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่งประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร ช่องทางการส่งข้อมูลซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ  และหน่วยรับข้อมูลหรือผู้รับสาร

6.  เทคโนโลยีทางการค้า(CommercialTechnology)
7.  เทคโนโลยีทางวิศวกรรม(EngineeringTechnology)
8.  เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม (Social Marketing Technology)

9.  เทคโนโลยีทางการศึกษา(EducationalTechnology)
10.  เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

 ความเจริญในด้านต่างๆ เป็นผลมาจากการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และประยุกต์มาใช้ในการพัฒนางานทางด้านต่างๆ ที่เรียกว่า “เทคโนโลยี” (Technology)

ความหมายของนวัตกรรม 

 นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การนำความคิดใหม่ๆ วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ หรืออาจจะได้รับการปรับปรุงจากสิ่งดั้งเดิมให้ดีขึ้น เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการทดลอง พิสูจน์และพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบ จนเชื่อถือได้ว่าให้ผลที่ดีกว่าเดิม นำมาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติทางการศึกษา เป็นผลทำให้ประสิทธิภาพทางการศึกษาสูงขึ้น

 นวัตกรรม 3 ระยะ 

ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation)

ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development)

ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป

 นักการศึกษาให้คำนิยามของคำว่า นวัตกรรม ดังนี้ 

1. กรมวิชาการ (2521 : 15) ให้ความหมายว่า นวัตกรรมคือ การนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมวิธีการที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ผลดียิ่งขึ้น

2. (UNESCO) ให้ความหมายไว้ว่า เป็นความพยายามที่จะ เปลี่ยนแปลงภายในระบบการศึกษา อันกระทำไปด้วยความตั้งใจ และมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงระบบการศึกษา

 3. ท่อม ฮิวช์ (Thomas Hughes, 1971) ได้ให้ความหมาย ” นวัตกรรม ” ว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มา ปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจมีการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา

4. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2521 : 3-4) ได้ให้ความหมายไว้ว่า หลักการวิธีปฏิบัติ และแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่ถือว่า    เป็นนวัตกรรมของประเทศหนึ่ง อาจจะเป็นนวัตกรรมของประเทศอื่นก็ได้ และสิ่งที่ถือว่าเป็นวัตกรรมแล้วในอดีตหากมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย แล้วก็ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม แต่สิ่งที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีตหากมีการนำ มาปรับปรุงใช้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ สิ่งนั้นถือได้ว่าเป็นนวัตกรรม

5.  ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526) ได้ให้ความหมาย ” นวัตกรรม ” ไว้ว่า หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆขึ้นมา หรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม ทั้งนี้สิ่งนั้น ๆ ได้รับการพัฒนาทดลองจนเชื่อถือได้ว่า ให้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้เกิดประสิทธิภาพตามเป้าหมาย

ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม

1.   เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่สิ่งที่เคยมีนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
2.   ความคิดหรือการกระทำนั้น มีการพิสูจน์ด้วยการทดลอง วิจัย ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3.   มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4.   ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบงานในปัจจุบัน

ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา  

นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง

โดยสรุป “นวัตกรรมการศึกษา”(Educational Innovation) คือ การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น ทั้งในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม ให้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้นำมาใช้บังเกิดผลเพิ่มพูนประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา 

นวัตกรรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นนวัตกรรมที่มีขอบเขต เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกด้าน ตั้งแต่หลักสูตร การเรียนการสอน สื่อและเทคโนโลยี ทางการศึกษา การวัดและประเมินผล และการบริหาร ทัศนา แขมมณี (2526 : 13) และวาทิต ระถี (2531) ได้แบ่งประเภทนวัตกรรมการศึกษาออกเป็น 5 ด้าน คือ

1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
3. นวัตกรรมสื่อการสอน
4. นวัตกรรมการประเมินผล
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม

1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
– การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
– แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
– เครื่องสอน (Teaching Machine)
– การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
– การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
– เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
– ศูนย์การเรียน (Learning Center)
– การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
– การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น
– การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
– มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
– แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
– การเรียนทางไปรษณีย์

4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
– มหาวิทยาลัยเปิด
– การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
– การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
– ชุดการเรียน

พัฒนาการเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย

เทคโนโลยีการศึกษาของไทยมีการพัฒนาการมา 3 ยุค คือ

1. ยุคแรกสมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงธนบุรี ยุคนี้เป็นยุคเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษาของไทย ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรง ประดิษฐ์อักษรไทย เพราะตัวอักษรเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเผยแพร่วิทยาการต่างๆ ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

2. เทคโนโลยีการศึกษายุคปรับเปลี่ยน ในยุคนี้นับตั้งแต่สมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา ได้เข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทยมากขึ้น แทนอังกฤษและฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกาได้นำเทคโนโลยีการศึกษาสมัยใหม่หลายอย่างมาเผยแพร่ในประเทศไทย เริ่มต้นด้วยภาพยนตร์โสตทัศนศึกษาในยุคนี้พัฒนาอย่างมีระบบแบบแผน อีกทั้งได้มีการเปิดสอนในระดับอุดมศึกษา ทั้งขั้นปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ทำให้ก้าวหน้ากว่าทุกยุคที่ผ่านมาโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในการจัดการศึกษาของไทย

3. ยุคสารสนเทศ  เทคโนโลยีการศึกษาในยุคสารสนเทศ เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารคือเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา อิทธิพลของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการสื่อสารและสังคมทำให้บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย เทคโนโลยีการศึกษาในยุคนี้จึงแบ่งได้เป็น รูปแบบคือ

1) เทคโนโลยีด้านสื่อ

2) เทคโนโลยีการสื่อสาร

3) เทคโนโลยีด้านระบบ

4) เทคโนโลยีการสอน

พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา 

ชาวกรีกโบราณ: ละคร ดนตรี รูปปั้น

กลุ่มโซฟิสต์ (Sophist) : กลุ่มครูผู้สอนชาวกรีก

โจฮันน์  อามอส คอมินิอุส  บิดาแห่งโสตทัศนศึกษา

พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ในส่วนประกอบหลักที่สำคัญ ได้แก่ ด้านการออกแบบการสอน  ด้านสื่อการสอนและด้านคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)

            เทคโน  (วิธีการ) + โลยี (วิทยา)

                เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีทางการศึกษา หรือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระบบเพื่อใช้ปฏิบัติในการแก้ปัญหาการศึกษาและการเรียนการสอน

หน้าที่หลัก : การพัฒนาประสิทธิผลของกระบวนการของการเรียนรู้

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526) ได้ให้นิยามไว้ว่า “เทคโนโลยีการศึกษา” เป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรม        ทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ วัสดุและผลิตกรรม  ทางวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ อุปกรณ์โดยยึดหลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ ได้แก่ วิธีการ มาช่วยใน                                การเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา

เมาส์ ดี ฟินส์ (Jemes D.Finn, 1972) กล่าวว่า เทคโนโลยีมีความหมายลึกซึ้งไปกว่าประดิษฐ์กรรม เครื่องมือเครื่องยนต์กลไกต่างๆ แต่หมายถึง กระบวนการ แนวความคิด แนวทาง หรือวิธีการในการคิด ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา : ด้านการออกแบบการสอน

1. ธอร์นไดค์ (Edward L.Thornlike) : วิทยาศาสตร์

2. Ralph W. Tyler : กำหนดวัตถุประสงค์การสอนได้อย่างชัดเจน

3. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการวิจัยด้านการศึกษาอย่างมาก

4. เบนจามิน บลูม : การจำแนกจุดประสงค์การศึกษา

5. โรเบิร์ต กาเย่ : แนวคิดทาง พุทธิปัญญา(Cognitive Theories)

ในปัจจุบันมีการยอมรับแนวคิดของกลุ่มพุทธิปัญญานิยม(Cognitivism) และรังสรรคนิยม (Constructivism)

พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา : ด้านสื่อการสอน

1. ปี 1905  พิพิธภัณฑ์ทางการศึกษาSt. Louis

2. ก่อนศตวรรษที่ 20    การสอนโดยการใช้ภาพ (Visual instruction)

3. ต้นศตวรรษที่ 20 ฟิล์ม (Film) ทางวิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์

4. ช่วงระหว่าง 1920-1930 สื่อทางด้าน เสียง (Audio) ใช้วิทยุ

5. ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟิล์มภาพยนตร์ทางการศึกษา

6. ในปี 1950 เป็นช่วงยุคการใช้โทรทัศน์

ศาสตร์ทางด้านสื่อได้เติบโตพร้อมทั้งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการออกแบบการสอน (Instructional design) และการสื่อสาร (Communication)

พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา : ด้านคอมพิวเตอร์เพื่อการสอน

1. โครงการคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction) แบบฝึกปฏิบัติ และแบบการสอน

2. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน PLATO Personal Computer ในโรงเรียน  

คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่บูรณาการเข้าไปกับกระบวนการสอน

 

Educational Technology & Instructional Technology

Instructional Technology  เหมาะสมในการอธิบายส่วนประกอบของเทคโนโลยีได้ครอบคลุมชัดเจนมากกว่าEducational Technology  ใช้กับระบบการศึกษา

 

Instructional  Technology

1. ครอบคลุมถึงการปฏิบัติ

2. เป็นทั้งการสอนและการเรียนรู้

3. แพร่หลายในอเมริกา

4. อธิบายองค์ประกอบได้อย่างชัดเจน

ผู้นิยามพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา

ฟรานซิส เบคอน (ค.ศ.1561-1626) เป็นผู้สนับสนุนวิธีใหม่ ๆ แบบ Realism คือหันมายึดวัตถุและความคิด โดยเสนอแนะว่า การเรียนการสอนนั้นควรให้ผู้เรียนได้รู้จักสังเกต พิจารณาเหตุผลในชีวิตจริง โดยครูเป็นผู้นำให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งจะต้องอาศัยการสังเกตพิจารณานั่นเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้บอกเสียทุกอย่าง

โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius ค.ศ.1592-1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสออย่างจริงจัง จนได้รับเกียรติว่าเป็น บิดาแห่งโสตทัศนศึกษา คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ  หนังสือ ObisSensualium Pictus หรือ”โลกในรูปภาพ” ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1685 เป็นหนังสือที่ใช้รูปภาพประกอบบทเรียน ถึง 150 ภาพ ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุประกอบการเรียนเป็นครั้งแรก

         

       ธอร์นไดค์ (thorndike) เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันที่ใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรมจึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่

           

     บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F.Skinner)เป็นผู้ใช้แนวความคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้า และผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้น ๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอนได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก

ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา 

ขอบข่าย และองค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อเทคโนโลยีทางการศึกษาในการศึกษาในยุคปัจจุบัน 

1. การออกแบบ (design) คือ กำหนดสภาพการเรียนรู้

การออกแบบระบบการสอน (instructional systems design)

ออกแบบสาร (message design)

กลยุทธ์การสอน (instructional strategies)

ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics)

2. การพัฒนา (development) กระบวนการเปลี่ยนการออกแบบ

เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies)

เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies)

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies)

เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies)

3. การใช้ (utilization) ใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน

        การใช้สื่อ

การแพร่กระจายนวัตกรรม

วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ

นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ

4. การจัดการ (management) ควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ

การจัดการโครงการ               การจัดการแหล่งทรัพยากร

การจัดการระบบส่งถ่าย         การจัดการสารสนเทศ

5. การประเมิน (evaluation) หาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน

การวิเคราะห์ปัญหา

เกณฑ์การประเมิน

การประเมินความก้าวหน้า

การประเมินผลสรุป

บทที่ 7 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสอนการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าทางการศึกษา


จากคำกล่าวที่ว่า… 


” Instructional Technology for teaching and learning, emphasize on how to increase learning by designing

lessons  that use Instructional Technology, including computer and other media “ (Newby and Others,2000)

สิ่งที่ต้องการเน้นจากคำกล่าวข้างต้น  คือ   การเรียนรู้ (Learning)


     การเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าทางการศึกษา จากภาพจะพบว่าการเรียนรู้จะเป็นศูนย์กลางที่ต้องการมุ่งเน้นและต้องตรวจตราศึกษาราย

ละเอียดเกี่ยวกับบทบาทผู้เรียน บทบาทของผู้สอนและการสอนการเรียนการสอนจะมีครูยืนอยู่หน้าชั้นเรียนและ ถ่ายทอดเนื้อหา  ใน

ขณะที่ผู้เรียนนั่งฟังตามแนวความคิดนี้ครูผู้สอนจะเป็นผู้ที่ดำเนินการ  กำกับควบคุมการวางแผน การดำเนินการและการประเมินผล  ซึ่งน่าจะเป็นการสอนที่ผู้เรียนสามารถรับข้อมูลได้ไม่มากนัก  ในบางครั้งอาจเป็นการเรียนโดย    “เน้นทักษะการจดจำ”     ท่องจำอย่างเดียวเท่านั้น (Rote Learning)

  แนวคิดใหม่เกี่ยวกับการเรียนและการสอน

       ในปัจจุบันกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้เข้ามา

มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เราอย่างมาก และจะทวีความสำคัญยิ่งขึ้น    “การศึกษาจึงต้องเป็นพลวัตร”นั่นคือ  ต้องปรับเปลี่ยนให้ทัน

และ     สอดคล้องกับ กระแสการเปลี่ยนแปลงของ ชาติและสังคมโลกอยู่ตลอดเวลา

แนวคิดใหม่เกี่ยวกับการเรียนและการสอน

         ซึ่งสภาพสังคมที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ บุคคลที่จะอยู่รอดในสังคมอย่างมีความสุขจะต้องเป็นผู้มีประสิทธิภาพของความ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ต้องรู้จักคิด รู้จักทำเป็นรู้จักแก้ปัญหาได้และปฏิบัติในวิถีทางที่ถูกต้องเหมาะสม จึงจำเป็นต้องให้การศึกษาที่มีคุณภาพโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ เทคโนโลยีและสารสนเทศต่างๆ ให้เป็นประโยชน์

การจัดการศึกษาในทุก ๆ แห่ง จึงไม่ควรลืมเป้าหมายอันแท้จริงของการศึกษา  คือ  การพัฒนาความเป็นมนุษย์ในทุกๆ ด้าน  ไม่ใช่

เฉพาะในแง่ความรู้ และทักษะทางวิชาชีพเท่านั้น  แต่เราต้องจัดการศึกษาที่ให้ทั้งความรู้พื้นฐานที่จะเป็นบันไดในการศึกษาวิชาอื่นๆ และความ รู้พื้นฐานเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์  นั่นก็คือ  เราควรต้องคำนึงถึงการเตรียมมนุษย์ให้มีคุณภาพอย่างรอบด้าน   ให้คิดเป็น  แก้ปัญหาเป็น  และสามารถศึกษาด้วยตนเองได้  ดังพระราชบัญญัติกติารศึกษาแห่งชา พุทธศักราช 2542 

 การเปลี่ยนแปลงผู้เรียน

                            ในโลกปัจจุบันพบว่า  ความต้องการเกี่ยวกับตัวผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น  แม้ว่าครั้งหนึ่งอาจจะมี การตอบสนองต่อการเรียนแบบท่อง

จำ มามาก  แต่ในปัจจุบันสภาพชีวิตจริงต้องการบุคคลที่มี ความสามารถในการใช้ทักษะการให้เหตุผลในระดับที่สูงขึ้น  เพื่อการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน  ซึ่งพบ ว่า ความสามารถในทักษะดังกล่าวที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาไม่ค่อยปรากฏให้เห็น  หรือมีอยู่น้อยมากในปัจจุบัน  แนวคิดเกี่ยวกับผู้เรียนจึงต้องเปลี่ยนแปลงมุมมองใหม่

                       ” ดังที่คำกล่าวว่า  อาจจะไม่ใช่ เวลาที่จะคิดว่าผู้เรียนเป็นภาชนะที่ว่างเปล่า ที่รอรับการเติมให้เต็ม  แต่น่าจะคิดว่าผู้เรียน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความตื่นตัว  กระฉับกระเฉง  และค้นหาความหมาย ซึ่งขณะนี้ผู้เรียนจะถูกมองว่า  เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวในการเรียนรู้  คิดค้น  เสาะแสวงหาวิธีที่จะวิเคราะห์ ตั้งคำถาม อธิบาย  ตลอดจนทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในปัจจุบันความหลากหลายในสังคม  ทำให้ แบบการเรียน (Learning Styles)  พื้นฐานประสบการณ์ที่แตกต่างกัน  ความแตกต่างของวิถีชีวิตในแต่ละครอบครัวและอื่นๆ ทำให้ห้องเรียนในปัจจุบันมีความหลากหลายเป็นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการเรียนรู้ที่ซับซ้อนสำหรับครูและผู้เรียนการเปลี่ยนแปลงมาสู่การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

การเปลี่ยนแปลงมาสู่การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

           ในปัจจุบันเป็นยุคที่การส่งข้อมูลมีความรวดเร็วมาก เทคโนโลยีเปิดโอกาสให้แต่ละ บุคคลได้รับ รวบรวม วิเคราะห์และสื่อสารข้อมูลข่าวสารได้อย่างละเอียดและรวดเร็ว มากกว่าที่ผ่านมา เป็นผลที่ทำให้ความต้องการเกี่ยวกับการศึกษาเพิ่มขึ้น  เพื่อที่จะช่วยผู้เรียนทุก คน ได้รับทักษะที่เพิ่มมากขึ้นที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมในการวิเคราะห์ ตัดสินใจ  และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงที่ซับซ้อน ดังคำกล่าวว่า “ผู้เรียนต้องยกระดับการเรียนที่เพิ่มจาก “การจดจำ” ข้อเท็จจริงไปสู่การเริ่มต้นที่จะคิดอย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรค์” ความจำ เป็นที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ครูผู้สอนจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน  ยิ่งไปกว่านั้น ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจำเป็นที่ครูผู้สอนต้องมีพื้นฐานของความเข้าใจอย่างดี เกี่ยวกับผู้เรียนแต่ละคนว่ามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร

           ดังนั้น ผู้สอนควรจะศึกษาเทคนิค  วิธีการ  เทคโนโลยีต่างๆ  ที่จะนำมาใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ใหม่ ซึ่งแต่เดิมมักเป็นการสอนให้ผู้เรียนเรียนโดยการท่องจำ  ควรปรับเปลี่ยนมาสู่การใช้เทคนิควิธีการที่จะช่วยผู้เรียนรับข้อเท็จจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพได้แก่  การใช้เทคนิคช่วยการจำ  เช่น Mnemonics เป็นต้น  ซึ่งการจัดการสอนที่เน้นครูเป็นศูนย์กลางอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้เช่นกัน

            อย่างไรก็ตาม  สิ่งที่สำคัญและเป็นความต้องการ    ของการศึกษาในขณะนี้  คือ การสอนที่ผู้เรียนควรได้รับคือ  ทักษะ การคิดในระดับสูง (Higher-Order Thinking Skills)  ได้แก่ การคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์   ตลอดจนการแก้ ปัญหา  และการถ่ายโอน(Transfer) ความรู้  โดยเน้น การใช้วิธีการต่างๆ อาทิ สถานการณ์จำลอง การค้นพบ การแก้ปัญหา และการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์การแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริง

            ในกรณีเหล่านี้อาจสังเกตได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการวางแผน  การนำไปใช้ และการประเมินเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  ซึ่งการสอนแบบดั้งเดิมครูผู้สอน  จะเป็นผู้ควบคุมดำเนินการในการวางแผน  การสอนทั้งหมด  ได้เปลี่ยนแปลงมาสู่การ เน้นบทบาทของผู้เรียนในการวางแผนกาดำเนินการและการประเมินด้วยตนเอง

             จากภาพ  ผู้เรียนจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน  ซึ่งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับแหล่งข้อมูลที่มีศักยภาพ ได้แก่  ครู เทคโนโลยี  พ่อแม่  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และบุคคลอื่น ๆ  และสื่อ  เพื่อที่ จะนำมาสู่การหยั่งรู้ในปัญหาและการแก้ปัญหา  บทบาทของครูได้เปลี่ยนแปลงมาสู่การเป็นผู้แนะแนวทางและผู้อำนวยการ ตลอดจนช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้  จากเหตุผลดังกล่าว อาจเป็นการยากที่จะประสบความสำเร็จ  ถ้าหากจะใช้  วิธีการจัดการเรียนการสอน แบบใดแบบหนึ่งเท่านั้นการเปลี่ยนแปลงมาสู่การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

              ต่อไปนี้จะเป็นการเปรียบเทียบบทบาทของครูผู้สอนและผู้เรียน แบบเดิม และบทบาทที่เปลี่ยนแปลงที่มีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  การเปลี่ยนแปลงมาสู่การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

               การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกี่ยวกับบทบาทของครูและผู้เรียนในสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  จากบทบาทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป วิธีการการดำเนินการจะต้องสอดคล้องและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการรู้  จะเห็นได้ว่าจะมุ่งเน้นผู้เรียนได้ลงมือกระทำในภารกิจการเรียนที่ส่งเสริมการแสวงหาข้อมูล  การค้นพบคำตอบ ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่เรียนมาใช้ในการแก้ปัญหาได้  อันจะส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

           เมื่อกระบวนทัศน์ (Paradigm) เกี่ยวกับการสอนเปลี่ยนมาเป็นการเรียนรู้  มาสู่การเน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น  เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา  ตลอดจนสื่อการสอนจำเป็นต้องปรับกระบวนทัศน์เพื่อให้สอดคล้องกับ ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  จากเดิมที่เป็นสื่อการสอนมาเป็นสื่อการเรียนรู้  และนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ เพื่อที่จะนำมาใช้ในการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่ไม่ได้มุ่งเพียง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้เท่านั้น แต่ยังมุ่งพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมไทย  ได้แก่ ความสามารถคิดแบบองค์รวม  เรียนรู้ร่วมกันและทำงานเป็น ทีมตลอดจนความสามารถในการแสวงหาความรู้ และสร้างความรู้ด้วยตนเอง  เพื่อทำให้เป็นสังคมที่มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  เพื่อที่สามารถแข่งขัน และร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในสังคมและโลกต่อไป  ผู้เชี่ยวชาญการสอนได้นำหลักการเรียนรู้มาสู่การวางแผนสำหรับ กิจกรรมการเรียนและสื่อการสอน ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการวิเคราะห์ผู้เรียน สถานการณ์และภารกิจ หรือเนื้อหาที่จะเรียน ถ้าหากว่าผู้ก่อสร้างจะพยายามสร้างโครงสร้างโดยปราศจากการออกแบบของสถาปนิกหรือพิมพ์เขียวอาจจะต้องเผชิญกับปัญหา แต่อาจหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวได้โดย ใช้การวางแผนปัญหาที่ต่างๆ ได้แก่ กำแพงอาจอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง อาจลืมแผงไฟ หรือผิด ตำแหน่ง หรือจัดซื้อวัสดุที่ไม่ถูกต้อง การวางแผนจะเป็นเครื่องนำทาง และหลักการเฉพาะอย่าง อาจสามารถใช้ในการแก้ปัญหาที่แตกต่างได้ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของการออกแบบการสอนได้ดังนี้

•   องค์ประกอบทั้งหมดของการวางแผน กล่าวถึงส่วนประกอบต่าง ๆ และวิธีการจัด ส่วนประกอบดังกล่าว

•  การวิเคราะห์เทคนิค และวิธีการที่จะช่วยกำหนด ทั้งระดับของทักษะที่ผู้เรียนมีอยู่ ในปัจจุบัน และทักษะที่ต้องการให้บรรลุภารกิจ

•  วิเคราะห์เทคนิค เพื่อกำหนดสารสนเทศที่ผู้เรียนจะเรียน และสิ่งที่ควรเน้น ให้ได้รับจากการเรียนการสอน

•   คลังแห่งความรู้ของวิธีการ เทคนิค และกิจกรรมที่สามารถใช้เพื่อเพิ่มการเรียนรู้ของผู้เรียน

•  กลยุทธ์การจำแนกและระบุสื่อการสอน เพื่อผู้เรียนจะได้รับสารสนเทศในเวลาที่ ต้องการ

•  เป็นการประเมินผลที่จะยืนยันว่า สื่อการสอนและกระบวนการทำให้สามารถบรรลุ เป้าหมายตามต้องการ

สื่อการสอน

                 สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางที่ถ่ายทอดสารสนเทศไปสู่ผู้เรียน (Heinich et al., 1993) ในกรณีใดกรณีหนึ่ง การเลือกสื่ออาจจะใช้วีดิทัศน์ ในกรณีอื่นอาจจะเลือกใช้สื่ออื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์ ซึ่งสื่อแต่ละชนิดจะนำเสนอ  หรือเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้เรียน ครู และการสอน ผู้ที่ต้องการใช้สื่อการสอนอาจพิจารณาเกี่ยวกับ การรับสารสนเทศ ของผู้เรียนจากประเด็นต่างดังนี้


                            สื่อที่สามารถจัดหาได้

ผลของสื่อที่แตกต่างกันที่ส่งผลต่อการเรียนรู้

ภายใต้เงื่อนไขใดที่จะมีผลต่อความมีศักยภาพที่เปลี่ยนแปลงไป

สื่อแต่ละชนิดจะสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพของสื่อสูงสุดได้อย่างไร

เมื่อมีการสำรวจคำตอบของประเด็นคำถามดังกล่าว การวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ การรับรู้ (Perception) การรู้คิด (Cognition) การสื่อสาร

(Communication) ทฤษฏีการสอน (Instructional Theories) เข้ามาเกี่ยวข้อง สำหรับผู้เรียน ครูเข้ามาเกี่ยวข้องกับ “ วิธีการที่ จัดโครงสร้างของ

สารสนเทศ และการรับรู้และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละคน” ผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่า สื่อประเภทต่าง ๆ และการเลือก และกระบวนการใช้มีผล

โดยตรงต่อ การรับรู้ของผู้เรียน และวิธีการที่ผู้เรียนจะเก็บรักษา และระลึกเกี่ยวกับสารสนเทศนั้นได้ (Kozma,1991)

    จากนิยามความหมายของสื่อการสอนที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะยังไม่สอดคล้อง กับความเปลี่ยนแปลงของกระบวนทัศน์เกี่ยวกับการศึกษาที่เปลี่ยนไป  เพราะความสำคัญ ของสื่อการสอนยังเป็นเพียงตัวกลางที่ถ่ายทอดเนื้อหาหรือความรู้เท่านั้น  ดังนั้นนิยาม ความหมายของสื่อการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปีพุทธศักราช 2544  จะปรับเปลี่ยนเป็น  “สื่อการเรียนรู้” ซึ่งได้นิยามความหมายไว้ดังนี้

สื่อการเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ รวมถึงเหตุการณ์ หรือแนวความคิด โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการค้นคว้า หรือการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตสื่อการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้ของผู้เรียน อาจทำหน้าที่

•     ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์

•     สร้างสถานการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน

•      กระตุ้นให้เกิดศักยภาพทางความคิด ได้แก่ คิดไตร่ตรอง คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ

             กระตุ้นให้เป็นผู้แสวงหาความรู้ และมีทักษะในการสร้างความรู้ด้วยตนเองจากที่กล่าวมาข้างต้น  อาจสรุปได้ว่า  สื่อการเรียนรู้หมาย ถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียน ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  เช่น  วัสดุ  อุปกรณ์  วิธีกา ร ตลอดจน  คน  สัตว์  สิ่งของ  ธรรมชาติ รวมถึงเหตุการณ์  หรือแนวความคิด  อาจอยู่ในลักษณะที่ถ่ายทอดความรู้  ความเข้าใจ  ความรู้สึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์  หรือเป็นเครื่องมือที่กระตุ้นให้ เกิด ศักยภาพทางความคิด (Cognitive Tools) ตลอดจนสิ่งที่กระตุ้นให้เป็นผู้แสวงหาความรู้ และมีทักษะในการสร้างความรู้ ด้วยตนเอง  เพื่อมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเอง

คุณลักษณะของสื่อการเรียนรู้

•      ช่วยส่งเสริมการสร้างความรู้ของผู้เรียน

•     ช่วยส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

•    เป็นสื่อที่หลากหลาย ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ ตลอดจนสิ่งที่มีตามธรรมชาติ

•    เป็นสื่อที่อยู่ตามแหล่งความรู้ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

•    ช่วยพัฒนาการร่วมทำงานเป็นทีม

ประเภทของสื่อการเรียนรู้

      สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ เอกสาร หนังสือ ตำรา หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร จุลสาร ฯลฯ สื่อเทคโนโลยี – แถบบันทึกภาพ วีดิทัศน์ เทปเสียง สไลด์ – คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction) -สื่อบนเครือข่าย (Web-based Learning) -การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน -การศึกษาผ่านดาวเทียม สื่อที่เป็นกิจกรรม/กระบวนการ (กิจกรรมที่จัดเพื่อฝึกกระบวนการคิดและการปฏิบัติ การแสดงละคร บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง การทำโครงงานฯลฯ) สื่อบุคคล รวมถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่น

 การนำสื่อการเรียนรู้  เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 

   การเปลี่ยนกระบวนทัศน์“การถ่ายทอดความรู้จากครู” มาสู่ “การเน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง” โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือสร้างความรู้ ดังนั้น การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือสื่อมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ดังแสดง อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง   จากภาพจะเห็นได้ว่า ได้มีแนวคิดเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ครูผู้สอนเป็นผู้ที่วางแผน และถ่ายทอดความรู้ต่างๆไปสู่ผู้เรียนโดยตรง ต่อมาเมื่อมีการพัฒนา ทางด้านสื่อการสอนต่างๆ จึงมีการใช้สื่อการสอนถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ต่างๆ ไปยังผู้เรียน เช่น แผ่นภาพโปร่งใส ภาพยนตร์ สไลด์ วิดีทัศน์คอมพิวเตอร์ ช่วยสอน เพื่อช่วยเปลี่ยนสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น อีกทั้ง ยังแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยตอบสนองด้านความแตกต่าง ระหว่างบุคคลในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากการสอน  หรือการถ่ายทอดโดยครูผู้สอน  หรือสื่อการสอนมาสู่การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่ให้ความสำคัญต่อการ เรียนรู้ของผู้เรียน โดยผ่านการปฏิบัติ ลงมือกระทำด้วยตนเอง  การพัฒนาศักยภาพทางการคิด  ตลอดจนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  ดังนั้น  ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนวางแผน ดำเนินการ และการประเมินด้วยตนเอง   เมื่อมีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การสอนมาสู่การเรียนรู้ ดังนั้น เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม ที่นำมาเพิ่มประสิทธิภาพก็ต้องสอดรับกับแนวคิดดัง กล่าว คือ มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพ การเรียนรู้ของผู้เรียน ลักษณะของการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรม หรือสื่อมาใช้ที่สอดคล้องกับ การปฏิรูปการเรียนรู้ เป็น “Media + Methods” หรือ “สื่อ ร่วมกับวิธีการ” เช่น การใช้ Web-Base ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเพื่อเปิดโอกาสได้ลงมือกระทำอย่างตื่นตัวในกระบวนการเรียนรู้ ของตนเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเพื่อน รวมทั้งการขยายมุมมองแนว คิดให้กว้างขวางขึ้น อันนำไปสู่การสร้างความรู้ที่มีความหมายของตนเองขึ้นมา  ซึ่งจะเป็นความรู้ ที่อยู่คงทน และสามารถถ่ายโอนไปใช้ในสถานการณ์อื่น หรือนำไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ในสภาพชีวิตจริง ได้ ส่วนวิธีการ (Methods) ที่สอดรับกับสภาพปัจจุบัน

•      การเรียนแบบค้นพบ (Discovery)

•      การเรียนแบบสืบเสาะ (Inquiry)

•      การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem Solving)

•      การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)

•      การเรียนโดยการสร้างความรู้ (Constructivism)

•      สถานการณ์จำลอง (Simulation)

การสร้างโครงงาน (Project)

             นอกจากจะใช้สื่อร่วมกับวิธีการดังกล่าวมาข้างต้น อาจออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเปลี่ยนเป็น “สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้” ซึ่งจะ นำพื้นฐานทางทฤษฎีการเรียนรู้ หลักการ หรือการจัดการเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนรู้มาเป็นพื้นฐานในการออกแบบสื่อ ตัวอย่างเช่น การจัด สิ่งแวดล้อม ทางการเรียนรู้ของ Web-base Learning ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ หรือ การจัดการเรียนรู้โดยประสานร่วมกับสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ของมัลติมีเดียตามแนว คอนสตรัคติวิสต์

บทที่ 8 พัฒนาการของสือการเรียนการสอนจากอดีตถึงปัจจุบัน

  

1.  พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา

นับตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาล เทคโนโลยีได้ถูกนำมาใช้ทางการศึกษา และมีการกล่าวถึงนักเทคโนโลยีทางการศึกษาพวกแรก คือกลุ่มโซฟิสต์ (The Elder sophist) ที่ใช้วิธีการสอนการเขียน เช่น การใช้มือวาด การเขียนสลักลงบนไม้ ส่วนการใช้ชอล์คเขียนบนกระดานดำได้เริ่มขึ้นในทศวรรษที่ 1800

            สำหรับการใช้เทคโนโลยีทางสื่อโสตทัศน์(audio visual) นั้น สามารถนับย้อนหลังไปได้ถึงต้นทศวรรษที่ 1900 ในขณะที่โรงเรียนและพิพิธภัณฑ์หลายๆ แห่งเริ่มมีการจัดสภาพห้องเรียนและการใช้สื่อการสอนประเภทต่างๆ เช่น ใช้สื่อการสอนประเภทต่างๆ เช่น ใช้สื่อภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี สไลด์ ฟิล์ม วัตถุ และแบบจำลองต่างๆ และแบบจำลองต่างๆ เพื่อเสริมการบอกเล่าทางคำพูด

               ปี ค.ศ. 1913 Thomas A. Edison ได้ผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ขึ้นเขาได้เล็งเห็นประโยชน์ของภาพยนตร์ในการเรียน การสอนเป็นอย่างมาก จนถึงขั้นเขียนไว้เป็นหลักฐานว่า “ต่อไปนี้ หนังสือจะกลายเป็นสิ่งที่หมดสมัยในโรงเรียน เพราะเราสามารถใช้ภาพยนตร์ในการสอนความรู้ทุกสาขาได้ ระบบโรงเรียนจะต้องเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงภายในสิบปีข้างหน้า” แต่ปัจจุบันแม้มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ยังไม่สามารถล้มล้างเทคโนโลยีดั้งเดิม เช่น การใช้หนังสือในการเรียนการสอนได้

ในช่วงทศวรรษที่ 1920 – 1930 เริ่มมีการใช้เครื่องฉายภาพแบบข้ามศีรษะ (overhead projector) เครื่องบันทึกเสียง วิทยุกระจายเสียง และภาพยนตร์ เข้ามาเสริมการเรียนการสอนวิทยุกระจายเสียงจึงเป็นสื่อใหม่ที่ได้รับความ นิยม สำหรับกิจการกระจายเสียงในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ราวปี ค.ศ.1921 การเริ่มขออนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงในยุคแรก ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา และเริ่มมีการใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการสอนทางไกลช่วงทศวรรษที่ 1930 แต่ต่อมาระบบธุรกิจเข้าครอบงำมากขึ้นจนวิทยุเพื่อการศึกษาในประเทศสหรัฐ อเมริกาอยู่ในสภาวะที่ตกต่ำลง

ในช่วงทศวรรษที่ 1950 วิทยุโทรทัศน์เกิดเป็น ปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมตะวันตกซึ่งสามารถใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ วิทยุโทรทัศน์จึงมีบทบาทสำคัญและกลายเป็นเทคโนโลยีแถวหน้าของสังคมนับแต่บัด นั้น นักวิชาการบางท่านถือว่าช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1950 ถึง 1960 นี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแวดวงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเนื่องจากการก่อ กำเนิดของวิทยุโทรทัศน์ และยังได้มีการนำเอาทฤษฎีทางด้านสื่อสารมวลชนและทฤษฎีระบบเข้ามาใช้ในวงการ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอีกด้วย

ดังนั้น ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 จึงมีการใช้คำว่า “การสื่อสารทางภาพและเสียง” หรือ “audio-visual communications” แทนคำว่า “การสอนทางภาพและเสียง” หรือ “audio-visual instruction” ซึ่งย่อมเป็นเครื่องชี้ชัดประการหนึ่งว่า เทคโนโลยีการสื่อสารนั้น คือเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดการเรียนการสอนนั่นเอง

ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 ในทวีปยุโรป วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา โดย British Broadcasting Corporation หรือ BBC ในปี ค.ศ. 1958 ประเทศอิตาลีก็ริเริ่มบ้างโดยมีการสอนตรงผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ผ่าน Telescuola (Television School of the Air) ส่วนประเทศในเครือคอมมิวนิสต์ได้มีโอกาสรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เป็นครั้งแรกในปี 1960 นำโดยประเทศยูโกสลาเวีย ตามติดด้วยประเทศโปแลนด์ สำหรับประเทศโซเวียตนั้น ได้เริ่มออกอากาศรายการทั่วไปและรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

 เมื่อปี 1962 ในปี 1965 ประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันออกก็ได้ทำการออกอากาศรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาโดยผ่านดาวเทียมกันอย่างแพร่หลาย

 ปี ค.ศ. 1962 ประเทศจีนคอมมิวนิสต์ริเริ่มทำการสอนในวิชาต่างๆ เช่น เคมี ฟิสิกส์ในระดับมหาวิทยาลัย โดยผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์เซี่ยงไฮ้ นอกจากนั้นสถานีวิทยุโทรทัศน์อื่น ๆ เช่น ในปักกิ่ง เทียนสิน และกวางตุ้ง ต่างก็เผยแพร่รายการมหาวิทยาลัยทางโทรทัศน์ (Television Universities) เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในระดับชาติเพื่อการศึกษาสำหรับประชาชน

 ในช่วงระหว่างปี 1932-1939  อเมริกามีการผลิตรายการในวิชาต่างๆ เช่นวิศวกรรมศาสตร์ พฤกษศาสตร์ ศิลปะ การละคร และชวเลข เป็นต้น

การเติบโตของวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วง ค.ศ. 1953-1967 นับว่าสูงมาก เพราะมีสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อการศึกษาทั่วประเทศเป็นจำนวนถึง 140 สถานี       เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากร 140 ล้านคนในขณะนั้น มีการคาดคะเนว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสามารถเข้าถึงโรงเรียนได้ไม่ต่ำกว่า 2,000 โรง และเข้าถึงนักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ได้ไม่ต่ำกว่า 15 ล้านคนทีเดียว

ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 เมื่อโลกได้หันเข้ามาสู่ยุคของ คอมพิวเตอร์ ในด้านการศึกษานั้น ได้มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนเป็นครั้งแรกในปี 1977 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อบริษัท APPLE ได้ประดิษฐ์เครื่อง APPLE II ขึ้น โดยการใช้ในระยะแรกนั้นมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการบริหารจัดการ ต่อมาได้มีการพัฒนาโปรแกรมต่างๆ เพื่อให้ใช้ได้ง่ายและสามารถช่วยในการเรียนการสอนได้มากขึ้น คอมพิวเตอร์จึงเป็นสิ่งที่ครูและนักเรียนคุ้นเคย และมีการใช้กันอย่างแพร่หลายจนทุกวันนี้

ยุคของมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาได้เริ่มขึ้นในปี 1987 เมื่อบริษัท APPLE ได้เผยแพร่โปรแกรมมัลติมีเดียครั้งแรกออกมา คือโปรแกรม HyperCard การพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการศึกษาได้มีการดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาโปรแกรม Hyper Studio มาใช้ และได้รับความนิยมมากขึ้นในหลายๆ โรงเรียน อย่างไรก็ตาม เพียงภายในสองปี มัลติมีเดียเพื่อการศึกษาก็ถูกแทนที่โดยสิ่งที่น่าตื่นเต้นมากกว่า นั่นก็คือ อินเทอร์เน็ต (Internet) นั่นเอง

พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต

                          

ในช่วงทศวรรษที่ 1950 วิทยุโทรทัศน์เกิดเป็น ปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมตะวันตกซึ่งสามารถใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ วิทยุโทรทัศน์จึงมีบทบาทสำคัญและกลายเป็นเทคโนโลยีแถวหน้าของสังคมนับแต่บัด นั้น

ยุคของมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาได้เริ่มขึ้นในปี 1987 เมื่อบริษัท APPLE ได้เผยแพร่โปรแกรมมัลติมีเดียครั้งแรกออกมา คือโปรแกรม HyperCard การพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการศึกษาได้มีการดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาโปรแกรม Hyper Studio มาใช้ และได้รับความนิยมมากขึ้นในหลายๆ โรงเรียน อย่างไรก็ตาม เพียงภายในสองปี มัลติมีเดียเพื่อการศึกษาก็ถูกแทนที่โดยสิ่งที่น่าตื่นเต้นมากกว่า นั่นก็คือ อินเทอร์เน็ต (Internet) นั่นเอง

พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาในยุคต่างๆ

1) ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกจนถึงปี ค.ศ.1700

2) พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ค.ศ.1700-1900 (พ.ศ.2243-พ.ศ.2443) ก่อนปี ค.ศ.1800

3) เทคโนโลยีการศึกษา ค.ศ.1900-ปัจจุบัน (พ.ศ.2443-ปัจจุบัน)

 

1) ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกจนถึงปี ค.ศ.1700  

เทคโนโลยีการศึกษาของกลุ่มโซฟิสต์

รูปแบบการสอนของกลุ่มโซฟิสต์มี 3 ขั้นตอนคือ
– เตรียมคำบรรยายอย่างละเอียด
– เปิดโอกาสให้ผู้ฟังเสนอแนะให้บรรยายในสิ่งที่เขาต้องการรู้
– บรรยายตามความต้องการของผู้บรรยายหรือผู้ฟัง
หลักการนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการพูดในที่สาธารณะ (Public Lecture) และนอกจากนั้นกลุ่มโซฟิสต์ยังได้ใช้ระบบการพบปะสนทนากับผู้เรียน (Tutorial System) เพื่อสร้างสัมพันธ์กับ ผู้เรียนด้วย ลักษณะการแบบนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มของการสอนแบบมวลชน

 เทคโนโลยีการศึกษาของโสเครติส (ค.ศ.399-470) นั้น มุ่งที่จะสอนให้ผู้เรียนเสาะแสวงหรือสืบเสาะหาความรู้ที่เหมาะสมเอง จากการป้อนคำถามต่าง ๆ ที่เป็นการชี้แนะแนวทางให้ผู้ตอบได้ข้อคิด วิธีการของ โสเครติสนี้อาจจะเทียบได้กับวิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)

เทคโนโลยีการศึกษาของอเบลาร์ด อาศัยหลักการวิเคราะห์ตรรกศาสตร์ของอริสโตเติล ซึ่งเขาได้เขียนไว้ในหนังสือ Sic et Non (Yes and No) อันเป็นหนังสือที่แสดงให้เห็นถึงวิธีสอนของเขา ซึ่งเขาให้แง่คิดและความรู้ ทั้งหลายแก่นักเรียนโดยการเสนอแนะว่าอะไรควร (Yes) และอะไรไม่ควร (No) บ้างเสร็จแล้ว นักเรียนจะเป็นผู้ตัดสินใจและสรุปเลือกเองอย่างเสรีวิธีสอนของอเบลาร์ด มีอิทธิพลโดยตรงต่อ Peter Lombard (ค.ศ.1100-1160) และ St. Thomas Aquinas (1225-1274) ซึ่งเขาทั้งสองได้นำแนวคิดของอเบลาร์ด มาปรับปรุงใช้ในการเรียนการสอน โดยการระมัดระวังเทคนิคการใช้คำถามให้รัดกุมขึ้น

เทคโนโลยีทางการศึกษาของคอมินิอุส จุดมุ่งหมายทางการศึกษาของคอมินิอุส คือ ความรู้ คุณธรรม และความเคร่งครัดในศาสนา เขาเชื่อมั่นว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือสำหรับเตรียมคนเพื่อดำรงชีพอยู่อย่าง เป็นสุขมากกว่าที่จะให้การศึกษาเพื่อมีอาชีพหรือตำแหน่ง และนอกจากนั้น คอมินิอุสยังมุ่งหวังที่จะให้การศึกษาเพื่อสังคมมากกว่าที่จะเน้นเรื่องความ สามารถเฉพาะ ดังนั้นเพื่อให้จุดหมายทางการศึกษาของเขาสัมฤทธิ์ผล คอมินิอุส จึงจัดระบบการศึกษาเป็นแบบเปิด สำหรับทุก ๆ คน นับตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัย ในบรรดาหลักการสอนของคอมินิอุสทั้งหลาย พอสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้

1. การสอนควรจะเป็นไปตามธรรมชาติ เนื้อหาวิชาควรจะเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนแต่ละคน
2. ควรสอนผู้เรียนตั้งแต่เยาว์วัย โดยให้เหมาะสมกับ อายุ ความสนใจ และสมรรถภาพของผู้เรียนแต่ละคน
3. จะสอนอะไรควรให้สอดคล้องกับชีวิตจริง และสอดแทรกค่านิยมบางอย่างให้แก่ผู้เรียนด้วย
4. ควรสอนจากง่ายไปหายาก
5. หนังสือและภาพที่ใช้ความสัมพันธ์กับการสอน
6. ลำดับการสอนที่เป็นสิ่งสำคัญ เช่น ไม่ควรสอนภาษาต่างประเทศก่อนสอนภาษามาตุภูมิ

7. ควรอธิบายหลักการทั่วไปก่อนที่จะสรุปเป็นกฎ ไม่ควรให้จดจำอะไรโดยที่ยังไม่เข้าใจในสิ่งนั้น
8. การสอนเขียนและอ่าน ควรสอนร่วมกัน นั่นก็หมายความว่าเนื้อหาวิชาที่เรียนควรสัมพันธ์กันเท่าที่จะทำได้
9. ควรเรียนรู้โดยผ่านทางประสาทสัมผัส โดยสร้างความสัมพันธ์กับคำ
10. ครูเป็นผู้สอนเนื้อหา และใช้ภาพประกอบเท่าที่ทำได้
11. สิ่งต่าง ๆ ที่จะสอนต้องสอนไปตามลำดับขั้นตอนและในการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ควรให้มากกว่าหนึ่งอย่าง
12. ไม่ควรมีการลงโทษเฆี่ยนตีถ้าผู้เรียนประสบความล้มเหลวในการเรียน
13. บรรยากาศในโรงเรียนต้องดี ประกอบด้วยของจริง รูปถ่าย และครูที่มี ใจโอบอ้อมอารี

 

 v   2) พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ค.ศ.1700-1900 (พ.ศ.2243-พ.ศ.2443) ก่อนปี ค.ศ.1800

เทคโนโลยีการศึกษาของแลนตาสเตอร์  วิธีการสอนของแลนคาสเตอร์ พยายามใช้วัสดุอุปกรณ์ราคาถูกและประหยัด แม้แต่ห้องเรียนก็จุนักเรียนได้มากกว่า วัสดุที่ใช้ เช่น กระดานชนวน กระบะทราย แผนภูมิ ผนังและกระดานดำ ทำให้ประหยัดกระดาษและหมึกได้มากกว่า และนอกจากนั้นทางโรงเรียนยังจัดหนังสือที่ใช้เรียนให้น้อยที่สุดเท่าที่จำ เป็นอีกด้วย ดังนั้นวิธีการของเขาจึงเป็นการริเริ่มการสอนแบบมวลชน และเป็นพื้นฐานของการจัดการศึกษาแบบให้เปล่าของรัฐในเวลาต่อมาด้วย

เทคโนโลยีการศึกษาของเปสตาลอสซี เปสตาลอสซีเชื่อว่า กระบวนการสอนโดยการเพิ่มความรู้สึกต่อความรู้ในเรื่องความเจริญเติบโตและ พัฒนาการของเด็กนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด นอกจากนั้น เปสตาลอสซี ยังคำนึงถึงเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลอันจะมีผลต่อการเรียนรู้ของผู้ เรียนด้วย เปสตาลอสซี ได้เสนอแนะกระบวนการของการรับความรู้ของผู้เรียนเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1.  ให้รู้ในเรื่องส่วนประกอบของจำนวน (เลขคณิต)
2. ให้รู้ในเรื่องของรูปแบบ (Form) เช่น การวาด การเขียน เป็นต้น
3. ให้รู้จักชื่อ และภาษาที่ใช้

      1. รากฐานสำคัญยิ่งของการให้ความรู้ก็คือ การหัดให้นักเรียนรู้จักใช้การสังเกต

      2.  การเรียนภาษา ครูต้องพยายามให้นักเรียนใช้การสังเกตให้มากที่สุด นั่นคือ เมื่อเรียนถ้อยคำก็ต้องใช้คู่กับของจริงที่เขาใช้เรียกชื่อสิ่งนั้น

      3. การสอนครูต้องเริ่มต้นจากสิ่งที่ง่ายที่สุดก่อน แล้วจึงเพิ่มความยากขึ้นไปตามลำดับ
4.  เวลาเรียนต้องให้นักเรียนเรียนจริง ๆ อย่าเสียเวลาไปกับการวิพากษ์วิจารณ์ความรู้เหล่านั้น
5. ให้เวลาเพียงพอแก่นักเรียนแต่ละคน
6. ต้องยอมรับในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
7. ต้องทำให้นักเรียนรู้สึกว่าโรงเรียนไม่ต่างไปจากที่บ้าน

เทคโนโลยีทางการศึกษาของฟรอเบล ฟรอเบลมีความเชื่อในเรื่องศาสนาเป็นพื้นฐาน ดังนั้นจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาก็คือการควบคุมดูแลเยาวชนให้เติบโตเป็น ผู้ใหญ่ ตามแนวคิดของฟรอเบลนี้ ยังมีความหมายกว้างออกไปถึงการควบคุมพัฒนาการต่าง ๆ โดยให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับชีวิตจริงองค์ประกอบพื้นฐานในการให้การศึกษาแก่ เด็กของฟรอเบล มีอยู่ 4 ประการคือ 

                   1. ให้โอกาสผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองอย่างเสรี
2. ให้โอกาสผู้เรียนได้คิดสร้างสรรค์  

                   3. ให้โอกาสผู้เรียนได้มีส่วนร่วม
4. ให้ผู้เรียนมีโอกาสแสดงออกทางกลไกหรือกายภาพ อันได้แก่ การเรียนโดยการกระทำ

 

        วิธีสอนของฟรอเบลเน้นที่การสอนเด็กอนุบาล ดังนั้นการสอนจึงออกมาในรูปการเรียนปนเล่น ซึ่งมีหลักการที่สำคัญอยู่ 3 ประการคือ
1. การเล่นเกมและร้องเพลง
2. การสร้าง
3. การให้สิ่งของและใช้งาน

 

เทคโนโลยีการศึกษาของแฮร์บาร์ท  ทฤษฎีทางการศึกษาของแฮร์บาร์ท ค่อนข้างจะแตกต่างไปจากนักการศึกษา รุ่นก่อน ๆ กล่าวคือ แฮร์บาร์ทได้วางรากฐานเกี่ยวกับวิธีสอนของเขาโดยอาศัยระบบจิตวิทยาการเรียน รู้ นับได้ว่าเขาได้เป็นผู้ริเริ่มจิตวิทยาการเรียนรู้สมัยใหม่เป็นคนแรกที่สอด คล้องกับวิธีการของ Locke ที่เรียกว่า Tabula Rasa (Blank Tablet) เกี่ยวกับทฤษฎีทางจิต และได้สรุปลำดับขั้นสองการเรียนรู้ ไว้ 3 ประการ ดังนี้
1. เริ่มต้นด้วยกิจกรรมทางวิถีประสาท (Sense Activity)
2. จัดรูปแบบแนวความคิด (Ideas) ที่ได้รับ
3. เกิดความคิดรวบยอดทางความคิดหรือเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น

 3) เทคโนโลยีการศึกษา ค.ศ.1900-ปัจจุบัน (พ.ศ.2443-ปัจจุบัน)

 เทคโนโลยีการศึกษาของธอร์นไดค์    ธอร์นไดค์  นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน  ที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา  เขาได้เริ่มสร้างห้องทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสัตว์  ในชณะที่เขายังเป็นนักศึกษาอยู่  ต่อมาได้ร่วมเป็นอาจารย์สอน ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี 1898  และได้ใช้ชีวิตเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เบื้องต้นการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา  โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ  การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ ในปี ค.ศ.  1912  เขาได้ออกแบบสื่อการสอน  เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรม  จึงได้ชื่อว่า  เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่

เทคโนโลยีการศึกษาของดิวอี้  เทคโนโลยีการศึกษาและการสอนของ จอห์น ดิวอี้ มีความสำคัญต่อระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวความคิดในการแก้ปัญหา นักจิตวิทยาการเรียนรู้ของจอห์น ดิวอี้ ตรงกับข้ามกับ ธอร์นไดค์ ดิวอี้ เชื่อว่าสิ่งเร้ากับปฏิกิริยาตอบสนอง ไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน แต่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

         ดิวอี้ ได้โจมตีพวกมีความเชื่อในเรื่องมโนภาพแบบสะท้อนกลับ (The Reflect Arc Concept) ซึ่งยืนยันการเรียนรู้รวมเอาการมีผลกระทบต่อกัน ระหว่างผู้เรียนกับสิ่งแวดล้อมของเขาเข้าไว้ด้วยจากการทดลองของดิวอี้ที่มี ต่อเทคโนโลยีการศึกษานั้น น่าจะได้แนะแนวความคิดของเขาที่เกี่ยวกับการสอน ซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์สำหรับดิวอี้ ควรคิดที่ให้ผลคุ้มค่าก็คือวิธีการไตร่ตรอง (Reflective Method) หรือการพิจารณาอย่างรอบคอบและแน่นอน เกี่ยวกับความเชื่อหรือแบบแผนของความรู้ที่เกิดขื้น

 เทคโนโลยีการศึกษามอนเตสซอรี  แนวคิดพื้นฐานของวิธีสอนแบบมอนเตสซอรี เทคโนโลยีการศึกษาและการสอนของมอนเตสเซอรี มีลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1. การจัดกิจกรรมของโรงเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน
2. แบ่งเด็กให้มีโอกาสทำงานได้อย่างอิสระ โดยไม่ขึ้นอยู่กั
ครูผู้สอนฝ่ายเดียว
3 .เน้นในเรื่องลักษณะการแบ่งแยกระบบประสาทสัมผัส

 หลักการพื้นฐานของวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี มีอยู่ 2 ประการคือ
1. ยอมรับในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำงานอย่างมีอิสระ โดยไม่คำนึงถึงแต่เพียงเฉพาะในเรื่องของสภาวะทางกายภาพในห้องเรียนและ บรรยากาศทางจิตวิทยาเท่านั้น
2.  ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน สื่อการสอนและธรรมชาติของกระบวนการสอนด้วย

เทคโนโลยีการศึกษาของเลวิน ทฤษฎีทั่ว ๆ ของเลวิน ถึงแม้การกล่าวถึงทฤษฎีทั่ว ๆ ไป ของเลวินจะไม่ใช่จุดมุ่งหมายของเราในการศึกษาเรื่องพัฒนาการของเทคโนโลยีการ ศึกษา แต่การได้ทราบถึงจุดเริ่มของการศึกษาค้นคว้าและทฤษฎีของเขา จะช่วยให้เราเข้าใจมูลฐานของการสร้างทฤษฎีการเรียนรู้ของเขาแจ่มแจ้งขึ้น ทฤษฎีของเลวินมีลักษณะคล้ายกับทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ ในแง่ที่ว่า เขาได้เน้นในเรื่องการจัดสถานการณ์เพื่อการตอบสนองในลักษณะรวมทั้งหมด (As a whole) ไม่ใช่การพิจารณาส่วนย่อยของสถานการณ์หรือสิ่งนั้น ๆ แต่ทฤษฎีของเลวินก็ต่างไปจากเกสตัลท์ในเรื่องเกี่ยวกับการจูงใจ โดยเขาได้เน้นในเรื่องเกี่ยวกับการจูงใจเป็นหลักการสำคัญ

ทฤษฎีการศึกษาของสกินเนอร์
บี  เอฟ  สกินเนอร์  เป็นผู้ใช้แนวคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึง ธรรมชาติ ของมนุษย์  เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้นๆ  เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง  ในการสอนแบบโปรแกรม  และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอน  ได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก  แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน  ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก

พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต

         ในช่วงทศวรรษที่ 1950 วิทยุโทรทัศน์เกิดเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมตะวันตกซึ่งสามารถใช้เป็นสื่อ เพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิทยุโทรทัศน์จึงมีบทบาทสำคัญและกลายเป็นเทคโนโลยีแถวหน้าของสังคมนับแต่บัด นั้น นักวิชาการบางท่านถือว่าช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1950 ถึง 1960 นี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแวดวงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเนื่องจากการก่อ กำเนิดของวิทยุโทรทัศน์ และยังได้มีการนำเสนอเอาทฤษฏีทางด้านสื่อสารมวลชนและทฤษฏีระบบเข้ามาใช้ในวง การเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอีกด้วย ดังนั้น ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 จึงมีการใช้คำว่า “การสื่อสารทางภาพและเสียง” หรือ “audio-visual communications” แทนคำว่า “การสอนทางภาพและเสียง”

บทที่ 9 การเรียนการสอนผ่านเว็บ

การเรียนการสอนผ่านเว็บ

(Web  –  Based   Instruction  : WBI) 


ความหมาย 

                คลาร์ก (Clark, 1996) ได้ให้คำจำกัดความของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็นการเรียนการสอนรายบุคคลที่นำเสนอโดยการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะ หรือส่วนบุคคล และแสดงผลในรูปของการใช้เว็บบราวเซอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ติดตั้งไว้ได้ โดยผ่านเครือข่าย

แฮนนัม (Hannum, 19100) กล่าวถึงการเรียนการสอนผ่านเว็บว่าเป็นการจัดสภาพการเรียน การสอนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต บนพื้นฐานของหลักและวิธีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีระบบ

พาร์สัน (Parson, 1997) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็นการสอนที่นำเอาสิ่งที่ต้องการส่งให้บางส่วนหรือทั้งหมดโดยอาศัยเว็บ

พาร์สัน (Parson, 1997) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็นการสอนที่นำเอาสิ่งที่ต้องการส่งให้บางส่วนหรือทั้งหมดโดยอาศัยเว็บ

คาร์ลสันและคณะ (Carlson et al., 19100) กล่าวว่าการเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีในยุค ปัจจุบันกับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเพื่ออำนวยความสะดวกขจัดปัญหา เรื่องสถานที่และเวลา

ใจทิพย์ ณ สงขลา (2542) เรียนการสอนผ่านเว็บว่าหมายถึง การผนวก คุณสมบัติไฮเปอร์มีเดียเข้ากับคุณสมบัติของเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยระยะทางและ เวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน (Learning without Boundary)

วิชุดา รัตนเพียร (2542) กล่าวว่าการเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการนำเสนอโปรแกรมบทเรียนบนเว็บเพจโดยนำ เสนอผ่านบริการเวิลด์ไวด์เว็บในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  ประเภทของการเรียนการสอนผ่านเว็บ 

  1. รูปแบบการเผยแพร่
  2. รูปแบบการสื่อสาร
  3. รูปแบบผสม
  4. รูปแบบห้องเรียนเสมือน

1.  รูปแบบการเผยแพร่ แบ่งได้ออกเป็น 3 ชนิด คือ

  1. 1.        รูปแบบห้องสมุด
  2. 2.        รูปแบบหนังสือเรียน
  3. 3.        รูปแบบการสอนที่มีปฎิสัมพันธ์

2.  รูปแบบการสื่อสาร (Communication Model)

การเรียนการสอนผ่านเว็บรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่อาศัยคอมพิวเตอร์มาเป็นสื่อ เพื่อการสื่อสาร ผู้เรียนสามารถที่จะสื่อสารกับผู้เรียนคนอื่นๆ ผู้สอนหรือกับผู้เชี่ยวชาญได้ โดยรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายในอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้แก่ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์

3.   รูปแบบผสม (Hybrid Model)

รูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บรูปแบบนี้เป็นการนำเอารูปแบบ 2 ชนิด คือ รูปแบบการเผยแพร่กับรูปแบบการสื่อสารมารวมเข้าไว้ด้วยกัน เช่น เว็บไซต์ที่รวมเอารูปแบบห้องสมุดกับรูปแบบหนังสือเรียนไว้ด้วยกัน

4.   รูปแบบห้องเรียนเสมือน (Virtual classroom model)

เทอรอฟฟ์ (Turoff, 1995) ว่าเป็นสภาพแวดล้อมการเรียน การสอนที่ตั้งขึ้นภายใต้ระบบการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ในลักษณะของการเรียน แบบร่วมมือ นักเรียนและผู้สอนจะได้รับความรู้ใหม่ๆ

สภาพการเรียนการสอนผ่านเว็บ

การเรียนการสอนผ่านเว็บมีลักษณะการจัดสภาพการเรียนการสอนที่แตกต่างจากการ เรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ  ผู้เรียนจะเรียนผ่านจอคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกับเครือข่าย  โดยผู้เรียนแต่ละคนที่เป็นสมาชิกเครือข่าย   อินเทอร์เน็ต

สภาพการเรียนการสอนผ่านเว็บ มีขั้นตอนดังนี้

1.  ผู้เรียนที่เป็นสมาชิกอินเทอร์เนตเข้าสู่ระบบด้วยการบันทึกเข้า Login

2.  พิมพ์ที่อยู่ของเว็บเพจที่ต้องการเข้าไปศึกษา

3.  เมื่อเข้าสู่เว็บเพจที่ต้องการแล้ว ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์

4.  ในบางช่วงบางตอนของบทเรียน ผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้มีปฏิกิริยาสนองต่อเนื้อหาของบทเรียน

5.  ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหาเท่าที่กำหนดในเว็บเพจหนึ่งๆ หรืออาจเข้าสู่เว็บเพจอื่นๆ

องค์ประกอบของการสื่อสารของการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย WBI

1.  E-mail

2.  Web board

3.  Chat

4.  ICQ

5.  Conference

6.  อื่นๆ

เว็บไซต์สำหรับรายวิชามีองค์ประกอบที่เป็นเว็บเพ็จ

  1. โฮมเพจ (Home Page)
  2. เว็บเพจแนะนำ (Introduction)
  3. เว็บเพจแสดงภาพรวมของ รายวิชา (Course Overview)
  4. เว็บเพจแสดงสิ่งจำเป็นในการเรียนรายวิชา
  5. เว็บเพจแสดงข้อมูลสำคัญ
  6. เว็บเพจแสดงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง
  7. เว็บเพจกิจกรรมที่มอบหมายให้ทำการบ้าน (Assignment)
  8. เว็บเพจแสดงกำหนดการเรียน (Course Schedule)
  9. เว็บเพจทรัพยากรสนับสนุนการเรียน (Resources)
  10. เว็บเพจแสดงตัวอย่างแบบทดสอบ (Sample Tests)
  11. เว็บเพจแสดงประวัติ (Biography)
  12. เว็บเพจแบบประเมิน (Evaluation)
  13. เว็บเพจแสดงคำศัพท์ (Glossary)
  14. เว็บเพ็จการอภิปราย (Discussion)
  15. เว็บเพจประกาศข่าว
  16. (Bulletin Board)
  17. เว็บเพจคำถามคำตอบที่พบบ่อย (FAQ Pages)
  18. เว็บเพจแสดงคำแนะนำในการเรียนรายวิชา

 องค์ประกอบของการสอนบนเว็บ 

1.  ข้อความหลายมิติ

2.  สื่อหลายมิติ

3.  การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

4.  การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์

 หลักการออกแบบบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

1.  ให้แรงจูงใจแก่ผู้เรียน

2.  การบอกให้ผู้เรียนทราบว่าเขาจะได้เรียนรู้อะไรบ้าง

3.  การเชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่

4.  การนำเสนอเนื้อหาใหม่

5.  สร้างความกระตือรือร้นของผู้เรียน

6.  การให้ข้อเสนอแนะ และข้อมูลย้อนกลับ

7.  การทดสอบ (Testing)

8.  ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม หรือการซ่อมเสริม

ขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ

1. ตัดสินใจลักษณะในการสอนบนเว็บ

2. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหลักสูตรที่จัดการสอนบนเว็บ

3. ศึกษาคุณลักษณะของผู้เรียน

4. ออกแบบโครงสร้างของเว็บ โดยการกำหนดโครงสร้างของเว็บคร่าวๆ ก่อนที่จะกำหนดรายละเอียด

5.หาความรู้และทักษะการใช้โปรแกรมต่าง ๆ ที่จำเป็น

6.เตรียมเนื้อหาในรูปการสอนบนเว็บ ซึ่งครอบคลุมเพจ ต่าง ๆ

7.การออกแบบและพัฒนากิจกรรมการสอน ที่เหมาะสมกับการสอนบนเว็บ

8.ออกแบบการประเมินผลการเรียนของผู้เรียน

9. เตรียมความพร้อมในด้านปัญหาเทคนิค

10. เตรียมความพร้อมในด้านการเข้าถึงเครือข่ายสำหรับผู้เรียน

11. ทดลองใช้งาน เพื่อหาข้อผิดพลาด และปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้จริง

12. หลังจากที่ได้จัดการสอนบนเว็บจริงแล้ว ควรประเมินผลการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อไป


ลักษณะของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (WBI)

การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีลักษณะการจัดการเรียน ที่ผู้เรียนจะเรียนผ่านจอคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสามารถเข้าสู่ระบบเครือข่ายเพื่อการศึกษาเนื้อหาบทเรียนจากที่ใดก็ได

 ลักษณะของกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  

1.  การนำเสนอ (Presentation)

2.  การสื่อสาร(Communication)

3.  การก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์(Dynamic Interaction)


ลักษณะของกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 

1.   การนำเสนอ(Presentation)

       1.1การนำเสนอแบบสื่อทางเดียว เช่น เป็นข้อความ

       1.2 นำเสนอแบบสื่อคู่

เช่น ข้อความภาพกราฟฟิก บางครั้งจะอยู่ในรูปแบบPDF ผู้เรียนสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้

       1.3  การนำเสนอแบบมัลติมีเดีย

คือ ประกอบด้วยข้อความ ภาพกราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียงและภาพยนตร์ หรือวีดีโอ (แต่ความเร็วจะไม่เร็วเท่ากับวีดีโอเทป)

 2. การสื่อสาร (Communication)

      2.1  การสื่อสารทางเดียว โดยดูจากเว็บเพจ

2.2  การสื่อสารสองทาง    เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โต้ตอบกัน

 3. การก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ (Dynamic Interaction)

      3.1  การสืบค้น

      3.2  การหาวิธีการเข้าสู่เว็บ

     3.3  การตอบสนองของมนุษย์ในการใช้เว็บ

 การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ 

1.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลา

2.  ควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างผู้เรียน

3.  ควรสนับสนุนให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

4.  การให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียน

5.  ควรสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่ไม่มีขีดจำกัด

ประโยชน์การเรียนการสอนผ่านเว็บ

1.  เว็บเปิดโอกาสให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนกับผู้เรียน

2.  เว็บสามารถนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบของสื่อประสม  

3.  เว็บเป็นระบบเปิดให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วโลก

4.  เว็บอุดมไปด้วยทรัพยากร เพื่อการสืบค้นออนไลน์

5.  เว็บไม่มีข้อจำกัดทางสถานที่และเวลาของการสอนบนเว็บ

6.  เว็บอนุญาตให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการเรียนตามความถนัดของตนเอง

7.  เว็บอนุญาติให้ติดต่อสื่อสารทั้งแบบเวลาเดียวและต่างเวลา เช่น Web Board

 

ข้อดีของบทเรียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

1.  สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา

2.  ไม่จำกัดเพศและวัยของผู้เรียน

3.  ผู้สอนสามารถออกแบบบทเรียนควบคุมผู้เรียนได้

4.  สามารถใช้รูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย (Multimedia)

5.  สะดวกต่อการปรับเปลี่ยนสารสนเทศให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

6.  ทรัพยากรสารสนเทศใน WWW มีจำนวนมาก

7.  เพิ่มทักษะในการใช้เทคโนโลยีให้กับผู้เรียน

 

ข้อจำกัดของบทเรียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

  1. 1.        ในการศึกษาทางไกล ผู้สอนและผู้เรียนอาจไม่ได้พบหน้ากัน
  2. 2.        ผู้สอนจำเป็นต้องใช้เวลามากในการเตรียมการส อ น
  3. 3.        การถามและตอบปัญหาบางครั้งไม่เกิดขึ้นทันที
  4. 4.        ผู้สอนไม่สามารถควบคุมการเรียนได้เหมือนชั้นเรียนปกติ
  5. 5.        ผู้เรียนต้องรู้จักควบคุมตนเองในการเรียน

บทที่ 10 การเรียนการสอนบนเว็บ

ระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์

1.  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

1.  เทคโนโลยีสารสนเทศ

2.   การเรียนการสอนผ่านเว็บ

3.   การจัดการเรียนการสอนในลักษณะ e-Learning

4.   องค์ประกอบของ e-Learning

5.   ประเภทของ e-Learning คอร์สแวร์

6.   ระบบบริหารจัดการรายวิชา

7.   การออกแบบ e-Learning คอร์สแวร์

8.   การออกแบบส่วนนำทาง

9.   การออกแบบทางทัศนะ

10.  ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างบทเรียน

2. การเรียนการสอนผ่านเว็บ

          2.1 ความหมายการเรียนการสอนผ่านเว็บ 

ราชบัณฑิตสถานได้บัญญัติคำศัพท์ “Web-Based Instruction” ไว้ว่า “การสอนโดยใช้เว็บเป็นฐาน” หรือ “การสอนบนเว็บ” เนื่องจากคำว่า “การสอนบนเว็บ” เป็นคำที่นิยมใช้กันมากสรรรัชต์ ห่อไพศาล (2544) กล่าวว่า “เป็นการนำเอาระบบอินเทอร์เน็ตมาออกแบบ เพื่อใช้ในการศึกษาการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction)”

การเรียนการสอนผ่านเว็บ จะต้องอาศัยคุณลักษณะของอินเทอร์เน็ต 3 ประการ

1.  การนำเสนอ (Presentation)

2.  การสื่อสาร (Communication)

3.   การก่อเกิดปฏิสัมพันธ์

2.2 ประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านเว็บ

1.  การเรียนการสอนสามารถเข้าถึงทุกหน่วยงานที่มีอินเทอร์เน็ตติดตั้งอยู่

2.  การเรียนการสอนกระทำได้โดยผู้เข้าเรียนไม่ต้องทิ้งงานประจำเพื่อมาเข้าชั้นเรียน

3.  ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอน เช่น ค่าที่พัก ค่าเดินทาง

4.   การเรียนการสอนกระทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง

5.  การจัดสอนหรืออบรมมีลักษณะที่ผู้เข้าเรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้เกิดกับผู้เข้าเรียนโดยตรง

6.  การเรียนรู้เป็นไปตามความก้าวหน้าของผู้รับการเรียนการสอนเอง

          2.3 ประเภทของการเรียนการสอนผ่านเว็บ

1.  เว็บรายวิชา (Stand-alone Courses)

2.   เว็บสนับสนุนรายวิชา (Web Supported Courses)

3.  เว็บทรัพยากรการศึกษา (Web Pedagogical Resources)

3. การจัดการเรียนการสอนในลักษณะ e-Learning

ความหมายของ e-Learning  

ความหมายของ e-Learning สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่ ความหมายโดยทั่วไป และความหมายเฉพาะเจาะจง สำหรับความหมายโดยทั่ว ๆ ไป e-Learning จะครอบคลุมความหมายที่กว้างมาก กล่าวคือ จะหมายถึง การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต

–  e-Learning, คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) และการสอนบนเว็บ (WBI)

ในปัจจุบันมีคาศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่มากมาย อาทิเช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

–   e-Learning กับ CAI (Computer-Assisted Instruction)

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI ย่อมาจาก Computer-Assisted Instruction ภาษาไทยเรียกว่า “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” CAI

–   e-Learning กับ WBI

ทั้ง e-Learning และ WBI ต่างก็เป็นผลจากการผสมผสานระหว่างเว็บเทคโนโลยีกับกระบวนการออกแบบการเรียน การสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจากัดทางด้าน สถานที่และเวลาในการเรียน

บริบทที่เกี่ยวกับ e-Learning

มิติการนำ 

 เสนอเนื้อหา                             มิติการนำไปใช้ในการเรียนการสอน                      มิติเกี่ยวกับผู้เรียน การถ่ายทอดเนื้อหา                    การนำ e-Learning ไปใช้ประกอบการเรียน          ตอบสนองการเรียน

 ข้อได้เปรียบของ e-Learning

1) e-Learning ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2) e-Learning ช่วยทำให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนได้อย่างละเอียดและตลอดเวลา

3) e-Learning ช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้

ลักษณะสำคัญของ e-Learning e-Learning ที่ดีควรประกอบด้วย

ลักษณะสำคัญ 

1) ลักษณะสำคัญ Anywhere, Anytime

2) Multimedia

3) Non–linear

4) Interaction

5) Intermediate Response

ข้อพึงระวัง  

1.  ผู้สอนที่นำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะของสื่อเสริม โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเลย

2.  ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนจากบทบาทการเป็นผู้ให้ (impart) เนื้อหาแก่ผู้เรียนมาเป็น ผู้ช่วยเหลือ (facilitator)

3.  การลงทุนในด้านของ e-Learning ต้องคลอบคลุมถึงการจัดการให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหา

 แนวคิดเกี่ยวกับ e-Learning

e-Learning เป็นรูปแบบการเรียนที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองการเรียนในลักษณะทางไกล (Distance Learning) เพื่อลดปัญหาในด้านต้นทุน การเรียนการสอนและการอบรม โดยผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาจาก e-Learning คอร์สแวร์ (Courseware) ซึงหมายถึงสื่อการสอนทางคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาอย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา

ความรู้ ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ

1.  เน้นข้อความ

2.  เน้นสื่อประสมอย่างง่าย

3.  เน้นความเป็นมัลติมีเดียเชิงโต้ตอบ

4.  องค์ประกอบของ e-Learning

1.  เนื้อหา

2.  ระบบบริหารจัดการรายวิชา

3.  โหมดการติดต่อสื่อสาร

4.  แบบฝึกหัด

4.1 เนื้อหา

1.  โฮมเพจ หรือเว็บเพจแรกของเว็บไซต์

2.  หน้าแสดงรายชื่อวิชา

3.  เว็บเพจแรกของแต่ละวิชา

          4.2 ระบบบริหารจัดการรายวิชา 

องค์ประกอบที่สำคัญมากสำหรับ e-Learning ได้แก่ ระบบบริหารจัดการรายวิชา ซึ่งเป็นเสมือนระบบที่รวบรวมเครื่องมือซึ่งออกแบบไว้เพื่อให้ความสะดวกแก่ ผู้ใช้ในการจัดการกับการเรียนการสอนออนไลน์นั่นเอง ซึ่งผู้ใช้ในที่นี้อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สอน (instructors)ผู้เรียน (students) และผู้บริหารระบบเครือข่าย (network administrators)

          4.3 โหมดการติดต่อสื่อสาร (Modes of Communication)

เครื่องมือที่ e-Learning ควรจัดหาให้ผู้เรียน

1.  การประชุมทางคอมพิวเตอร์

2.  ไปรษณีย์     อิเล็กทรอนิกส์

4.4 แบบฝึกหัด / แบบทดสอบ

แบบฝึกหัด /แบบทดสอบ

การจัดให้มีแบบฝึกสำหรับผู้เรียน

การจัดให้มีแบบทดสอบผู้เรียน

5. ประเภทของ e-Learning คอร์สแวร์

1. กระบวนการในการเรียนการสอน

ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2545) ได้กล่าวเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์ว่าคล้ายกันกับการ ออกแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนนั่นเอง กล่าวคือ จะต้องประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งคอยช่วยผู้เรียนแต่ละคนให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้มีการ กำหนดไว้

2. รูปแบบของ e-Learning คอร์สแวร์

e-Learning คอร์สแวร์สามารถแบ่งออกคร่าว ๆ ได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทเรียงลำดับการนำเสนอ แบบฝึกหัด การทดลองเสมือนจริง และเกม ดังนี้ (ถนอมพร เลาหจรัสแสง 2545) การเรียงลำดับการนำเสนอ (Presentation Sequence) ความ หมาย คอร์สแวร์การเรียงลำดับการนำเสนอ หมายถึงคอร์สแวร์ที่ออกแบบในลักษณะที่ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาโดยการอ่าน ฟัง และสังเกต การบรรยาย และ/หรือการสาธิตต่าง ๆ ตามเวลาและจังหวะการเรียนของตน เนื้อหาที่เหมาะสม การเรียงลำดับการนำเสนอเหมาะสำหรับการจัดเนื้อหาการบรรยาย (Lecture) ในลักษณะคุณภาพสูงที่มีความคงที่สำหรับผู้เรียนทุกคน

รูปแบบการเรียนที่เหมาะสม

ผู้เรียนรายบุคคลโต้ตอบกับคอร์สแวร์เพื่อศึกษาเนื้อหาในแต่ละหัวข้อของการ เรียน โดยผู้เรียนจะได้รับการชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการเรียน รวมทั้งการแนะนำเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะเรียน ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาและบทสรุป หลังจากนั้นผู้เรียนทดสอบความรู้ของตนที่ได้ศึกษามา

คำแนะนำสำหรับการออกแบบ

1) ให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการนำเสนอ

2) ออกแบบให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น

3) เลือกใช้สื่อที่หลากหลาย

4) เชื่อมโยงมากกว่าการเขียน

5) ออกแบบให้อ่านง่าย

แบบฝึกหัด (Drill and Practice)

คอร์สแวร์แบบฝึกหัด หมายถึงคอร์สแวร์ที่อนุญาตให้ผู้เรียนฝึกฝนซ้าแล้วซ้าอีกเพื่อประยุกต์ใช้ ความรู้ใดความรู้หนึ่ง หรือทักษะใดทักษะหนึ่ง โดยความรู้และทักษะนั้น ๆ จะเป็นความรู้และทักษะขั้นพื้นฐาน เช่น คอร์สแวร์ฝึกการคำนวณอย่างง่าย โครงสร้างของคอร์สแวร์จะคล้ายกับวงจรแบบทดสอบ (testing cycle) นั่นเอง กล่าวคือจะเริ่มด้วยการนำเสนอปัญหาหรือคำถามให้ผู้เรียนตอบ

รูปแบบการเรียนที่เหมาะสม

รูปแบบการเรียนที่เหมาะสม คอร์สแวร์ประเภทแบบฝึกหัดจะเริ่มจากการนำเข้าสู่บทเรียน ซึ่งรวมถึงการต้อนรับผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหา และอธิบายวิธีการที่ผู้เรียนต้องปฏิบัติ รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการเรียน หลังจากนั้นจะมีการเสนอคำถาม ผู้เรียนจะคอยตอบคำถามและได้รับผลป้อนกลับ หลังจากได้ผลป้อนกลับก็จะมีข้อคำถามนำเสนอต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งครบทุกข้อ

คำแนะนำสำหรับนักออกแบบ

คำแนะนำ

1.  สร้างคลังคำถาม/คำตอบ

2.  จัดให้มีคำถามที่มีระดับความง่าย–ความยาก

การทดลองเสมือนจริง (Virtual Lab)

ความหมาย การทดลองเสมือนจริงเป็นคอร์สแวร์ประเภทหนึ่งซึ่งเป็นการนำเสนอการจำลองบน หน้าจอ (on-screen simulator) ผู้เรียนสามารถใช้การทดลองเสมือนจริงในการทดสอบสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ รวมทั้งสังเกตผลที่ได้จากการทดสอบ เนื้อหาที่เหมาะสม คอร์สแวร์ในลักษณะการทดลองเสมือนจริง

คำแนะนำสำหรับนักออกแบบ

คำแนะนำ

1.  เน้นในสิ่งที่ต้องการสอน ในการออกแบบคอร์สแวร์

2.   ใช้การทดลองเสมือนจริงในหลาย ๆ กิจกรรม

6. ระบบบริหารจัดการรายวิชา

6.1  ความหมายของระบบบริหารจัดการรายวิชา ระบบบริหารจัดการรายวิชาหมายถึงระบบที่ได้รวบรวมเครื่องมือหลาย ๆ ประเภทที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนการสอนออนไลน์เข้าไว้ด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ใช้ 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค

6.2ส่วนประกอบหลักของระบบบริหารจัดการรายวิชา

                      6.2.1 ส่วนในการใส่เนื้อหาการบรรยายของผู้สอน (Slots for lecture note)

6.2.2 กระดานข่าวเพื่อการอภิปราย (Asynchronous bulletin board)

6.2.3 ห้องสนทนา (Synchronous chat)

6.2.4 การทดสอบออนไลน์ (Online testing)

6.2.5 อิเล็กทรอนิกส์เมล์ (Electronics mails)

6.2.6 การจัดการแฟ้มข้อมูล (File management)

6.3 ส่วนประกอบรองของระบบบริหารจัดการรายวิชา

6.3.1 ส่วนประกอบพิเศษอื่น (Many other tools)

6.3.2 ส่วนจัดการการลงทะเบียนของผู้เรียน (Manage student enrollment)

6.3.3 ส่วนของการเรียกดูและบันทึกคะแนนของผู้เรียนโดยผู้สอน (View and record student score – faculty)

6.3.4 ส่วนของการเรียกดูคะแนนของผู้เรียนโดยผู้เรียน (View student score – individual student)

6.3.5 ส่วนของการเรียกดูสถิติการเข้าเรียน (View student progress tracking)

7. การออกแบบ e-Learning คอร์สแวร์

7.1 ความหมายของคอร์สแวร์

ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2545) กล่าวถึงความหมายของคอร์สแวร์ไว้ว่า หมายถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอบทเรียนจากเอกสารตำราให้อยู่ในรูปของ สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์

7.2 การออกแบบและพัฒนา e-Learning คอร์สแวร์ รูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้แก่ รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนในลักษณะพัฒนาชุดการเรียนและในลักษณะเชิงระบบ เนื่องจากเหตุผลสำคัญคือ เป็นรูปแบบซึ่งเหมาะสำหรับงานซึ่งใช้วิธีการในการออกแบบพัฒนาสื่อขึ้นมาใหม่

การออกแบบคอร์สแวร์ e-Learning ประกอบด้วย 7 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมตัว

ขั้นที่ 2 ขั้นเลือกเนื้อหา

ขั้นที่ 3 : ขั้นการวิเคราะห์หลักสูตร

ขั้นที่ 4 : ขั้นออกแบบหลักสูตร

ขั้นที่ 5 : ขั้นการพัฒนาการเรียนการสอน

ขั้นที่ 6 : ขั้นการประเมินผล

ขั้นที่ 7 : ขั้นบำรุงรักษา

8. การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์

การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ ผู้ออกแบบเว็บส่วนใหญ่จะมีรูปแบบการสร้างที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับความถนัด และความพอใจของตนเป็นหลัก (Arvanistis, 1997 อ้างจาก ถนอมพร เลาหจรัสแสง 2545) โดยไม่ได้คำนึงถึงหลักในการออกแบบที่ถูกต้อง เท่าที่ควร ลินช์และฮอร์ตัน (Lynch and Horton, 1999 อ้างจากถนอมพร เลาหจรัสแสง 2545) จึงได้เสนอแนวคิดสำหรับการออกแบบเว็บไซต์ ว่า การออกแบบเว็บไซต์ที่ดีควรจะต้องวางโครงสร้างให้มีความสมดุล มีการเชื่อมต่อสัมพันธ์กัน ระหว่างรายการ (Menu)หรือโฮมเพจ กับหน้าเนื้อหาอื่น ๆ

โครงสร้างของเว็บสรุปออกเป็น 4 รูปแบบใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

8.1 เว็บที่มีโครงสร้างแบบเรียงลำดับ (Sequential Structure)

8.2    (Web Structure)

9. การออกแบบส่วนนำทาง

9.1 การนำทาง (Navigation)

9.2 การใช้ไอคอนและเมนูเพื่อการนำทาง

9.3 พฤติกรรมการใช้เว็บกับการออกแบบเว็บไซต์

9.4 หลักการในการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้

 10. การออกแบบทางทัศนะ

10.1 ความหมายของการออกแบบทางทัศนะ การออกแบบทางทัศนะ (Visual Design) หมายถึง การออกแบบภาพและสีสันบนหน้าจอ ซึ่งคำว่าภาพในที่นี้ไม่จำกัดเฉพาะภาพถ่าย ภาพ กราฟิก 3D แอนิเมชัน หรือ วีดิทัศน์ เท่านั้นแต่รวมถึงข้อความ แผนที่ กราฟ ฯลฯ ที่ปรากฏบนหน้าเว็บด้วย (ถนอมพร เลาหจรัสแสง 2545)

10.2 หลักการในการออกแบบทางทัศนะ ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2545) กล่าวถึงหลักการในการออกแบบทางทัศนะไว้ว่า การออกแบบทางทัศนะนั้น หลักการที่ดูเหมือนจะธรรมดา ๆ แต่มักจะถูกมองข้าม ได้แก่ หลักการในการสร้างสมดุล ผู้ออกแบบต้องพิจารณาให้รอบคอบในด้านของการสร้างความสมดุลบนเว็บไซต์ของตนใน 3 มิติด้วยกัน ได้แก่ 1) มิติของเป้าหมายของเว็บไซต์ 2) มิติด้านความต้องการของผู้ใช้ (ผู้เรียน) และ 3) มิติทางด้านข้อจากัดด้านฮาร์ดแวร์ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเป้าหมายของเว็บไซต์ของเรา ได้แก่ การออกแบบพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอน

10.3 ความหมายของ Functional Areas Functional Areas คือ การแบ่งส่วนติดต่อระหว่างโปรแกรมกับผู้ใช้ออกเป็นส่วน ๆ อย่างชัดเจนตามหน้าที่การทางานของมัน เพื่อให้ง่ายต่อการทาความเข้าใจของผู้ใช้ (ถนอมพร เลาหจรัสแสง 2545)

10.4 การออกแบบ Functional Areas

ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2545) ได้เสนอวิธีการออกแบบFunctional area ไว้ดังนี้

10.4.1 ผู้ออกแบบควรออกแบบชื่อหัวข้อบริเวณส่วนบนของหน้าจอ

10.4.2 การออกแบบ Functional Areas ที่ดีนั้นต้องเน้นในเรื่องของความชัดเจนและความสหม่ำเสมอ (Clarity and Consistency)

10.5  การออกแบบเว็บเพจอย่างสมดุล ในการออกแบบเว็บเพจนั้นต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างการใช้

ภาพกราฟิกและข้อความเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเปิดเว็บเพจได้รวดเร็วไม่ต้อง เสียเวลาในการรอมากเกินไป นอกจากนี้ให้คำนึงอยู่เสมอว่าพื้นที่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นเล็กกว่า หน้าที่พิมพ์ออกมาผู้ออกแบบควรคำนึงว่าผู้เรียนสามารถเปิดดูเว็บเพจได้พอดี

10.6  การออกแบบกริด (grid) ในการออกแบบเว็บเพจ ความสหม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้เรียนสามารถคาดเดาว่าจะทำสิ่งใดได้อย่างง่ายดาย การออกแบบกริดเป็นสิ่งสำคัญสาหรับการออกแบบสิ่งพิมพ์ที่ดีเช่นใด การออกแบบกริดก็สาคัญสำหรับการออกแบบเว็บเพจที่ดีเช่นนั้น กริดมีลักษณะเป็นเส้นตรงในแนวตั้งและแนวนอน กริดเป็นเสมือนโครงของเว็บเพจซึ่งจะช่วยให้เว็บเพจในเว็บไซต์เดียวกันมีความ เป็นระเบียบและมีความคงที่

10.7  หลักการสำหรับการออกแบบกราฟิกบนเว็บเพจ ในการออกแบบต้องคำนึงถึงปัจจัย 2 ข้อ คือ (ถนอมพร เลาหจรัสแสง 2545) 1. ขนาดของจอคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแสดงผลซึ่งมีความละเอียดที่ 800×600 pixels 2)

หากต้องการให้ผู้ใช้พิมพ์หน้าจอลงบนกระดาษในการออกแบบต้องให้อยู่ใน พื้นที่ 595×842 pixels ซึ่งพื้นที่ในการแสดงผลที่มากที่สุดในการออกแบบ

กราฟิก คือ 760×420 pixels

10.8 การออกแบบตัวเพื่อการอ่านที่ชัดเจน (Readability) ข้อควรพิจารณาที่สำคัญที่สุดในการออกแบบและพัฒนาส่วนต่อประสานและการออกแบบ ทางทัศนะ ได้แก่ ความสามารถในการอ่านเนื้อหาของผู้เรียน (readability) เพราะการจัดเนื้อหาบทเรียนให้แก่ผู้เรียนเป็นประเด็นหนึ่ง แต่การชักชวนให้ผู้เรียนอ่านเนื้อหาบทเรียนนั้น ๆ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอนที่จะต้องออก แบบให้อยู่ในรูปที่อ่านได้ง่ายและชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ถนอมพร เลาหจรัสแสง 2545)

10.9 เทคนิคในการเพิ่มศักยภาพในการอ่านของผู้เรียน มีเทคนิคบางประการที่มีส่วนช่วยในการเพิ่มศักยภาพในการอ่านของผู้เรียน เทคนิคเหล่านั้น ได้แก่ (ถนอมพร เลาหจรัสแสง 2545)

10.9.1 ตัวพิมพ์ (Typeface)

10.9.2 ฟอนต์และตัวอักษรใหญ่-เล็ก (Font and Case)

10.9.3 การจัดความ (Justification)

10.9.4 ความยาวของข้อความแต่ละบรรทัด (Line Length)

10.9.5 ความตัดกัน (Contrast)

10.9.6 การเบี่ยงเบนสมาธิของผู้เรียน (Distractions)

10.10 เทคนิคในการจูงใจผู้เรียน นอกจากเทคนิคในการออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านของผู้เรียน

ในการออกแบบทางทัศนะยังมีเทคนิคบางประการซึ่งอาจช่วยจูงใจผู้เรียนให้ ต้องการเข้ามาเรียนในเว็บไซต์มากขึ้น เทคนิคเหล่านั้นได้แก่ (ถนอมพร เลาหจรัสแสง 2545)

10.10.1   พื้นที่ว่าง (Blank Space)

10.10.2   สี (Colors)

10.10.3   การย่อยเนื้อหา (Chunking)

10.10.4   กราฟิก (Graphic)

10.10.5   ลำดับเลข (Numbering)

10.10.6   ตาราง (Table)

10.10.7    รูปแบบการมอง (Viewing Pattern)

10.10.8   จำนวนส่วนประกอบ (Number of Elements)

10.10.9    เสียง (Audio)

10.10.10   วีดิทัศน์ (Video)

 11. ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างบทเรียน

ในการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อความสะดวกในการสร้างบทเรียนที่ ประกอบด้วยข้อความตัวอักษร ภาพ ภาพเคลื่อนไหว และงานกราฟิกอื่น ๆ นอกจากนี้ยังต้องมีการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจสอบผลการทางานของบทเรียนที่สร้างขึ้น เพราะบทเรียนที่สร้างขึ้นอาจทางานได้ดีเมื่อข้อมูลยังอยู่ในเครื่อง คอมพิวเตอร์ แต่เมื่อนาข้อมูลขึ้นสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (upload) อาจมีปัญหาก็ได้ จึงต้องมีการตรวจสอบตลอดเวลา ดังนั้นจึงต้องมีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์พื้นฐานที่จาเป็นดังนี้

11.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

11.1.1 ระบบบริหารจัดการ (Course Management System: CMS)

1) เซอร์ฟเวอร์ (Server)

2) คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน

11.1.2 คอมพิวเตอร์เครือข่าย (client network)

1) คอมพิวเตอร์สาหรับการเรียนการสอน

2) คอมพิวเตอร์สาหรับการสืบค้นข้อมูลนอกเวลาเรียน

3) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้ตามบ้านเรือน (Home used) และศูนย์บริการต่าง ๆ สาหรับการสืบค้นข้อมูลนอกเวลาเรียน

11.2 ซอฟต์แวร์ (Software)

ในการสร้างบทเรียนบนเครือข่ายที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นนี้ ได้ใช้ซอฟต์แวร์หลายชนิด ซึ่งตอบสนองานแต่ละประเภท ดังนี้

11.2.1 ซอฟต์แวร์สาหรับสร้างเว็บเพจ เช่น FrontPage, Namo WebEditor, Macromedia Dreamweaver เป็นต้น

11.2.2 ซอฟต์แวร์สร้างงานกราฟิก เช่น Adobe Photoshop, Adobe Illustrator, Image Ready , Macromedia Flash, ChemDraw เป็นต้น

11.2.3 ซอฟต์แวร์สร้างฐานข้อมูล เช่น Microsoft Access

11.2.4 ซอฟต์แวร์สนับสนุนอื่น ๆ เช่น Microsoft Word, Excel, Windows     movie maker เป็นต้น

ตอนที่ 2 ทฤษฎีการเรียนรู้ของมนุษย์

1.ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม

2. ทฤษฎีปัญญานิยม

3. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้

4. ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา