จากคำกล่าวที่ว่า… 


” Instructional Technology for teaching and learning, emphasize on how to increase learning by designing

lessons  that use Instructional Technology, including computer and other media “ (Newby and Others,2000)

สิ่งที่ต้องการเน้นจากคำกล่าวข้างต้น  คือ   การเรียนรู้ (Learning)


     การเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าทางการศึกษา จากภาพจะพบว่าการเรียนรู้จะเป็นศูนย์กลางที่ต้องการมุ่งเน้นและต้องตรวจตราศึกษาราย

ละเอียดเกี่ยวกับบทบาทผู้เรียน บทบาทของผู้สอนและการสอนการเรียนการสอนจะมีครูยืนอยู่หน้าชั้นเรียนและ ถ่ายทอดเนื้อหา  ใน

ขณะที่ผู้เรียนนั่งฟังตามแนวความคิดนี้ครูผู้สอนจะเป็นผู้ที่ดำเนินการ  กำกับควบคุมการวางแผน การดำเนินการและการประเมินผล  ซึ่งน่าจะเป็นการสอนที่ผู้เรียนสามารถรับข้อมูลได้ไม่มากนัก  ในบางครั้งอาจเป็นการเรียนโดย    “เน้นทักษะการจดจำ”     ท่องจำอย่างเดียวเท่านั้น (Rote Learning)

  แนวคิดใหม่เกี่ยวกับการเรียนและการสอน

       ในปัจจุบันกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้เข้ามา

มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เราอย่างมาก และจะทวีความสำคัญยิ่งขึ้น    “การศึกษาจึงต้องเป็นพลวัตร”นั่นคือ  ต้องปรับเปลี่ยนให้ทัน

และ     สอดคล้องกับ กระแสการเปลี่ยนแปลงของ ชาติและสังคมโลกอยู่ตลอดเวลา

แนวคิดใหม่เกี่ยวกับการเรียนและการสอน

         ซึ่งสภาพสังคมที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ บุคคลที่จะอยู่รอดในสังคมอย่างมีความสุขจะต้องเป็นผู้มีประสิทธิภาพของความ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ต้องรู้จักคิด รู้จักทำเป็นรู้จักแก้ปัญหาได้และปฏิบัติในวิถีทางที่ถูกต้องเหมาะสม จึงจำเป็นต้องให้การศึกษาที่มีคุณภาพโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ เทคโนโลยีและสารสนเทศต่างๆ ให้เป็นประโยชน์

การจัดการศึกษาในทุก ๆ แห่ง จึงไม่ควรลืมเป้าหมายอันแท้จริงของการศึกษา  คือ  การพัฒนาความเป็นมนุษย์ในทุกๆ ด้าน  ไม่ใช่

เฉพาะในแง่ความรู้ และทักษะทางวิชาชีพเท่านั้น  แต่เราต้องจัดการศึกษาที่ให้ทั้งความรู้พื้นฐานที่จะเป็นบันไดในการศึกษาวิชาอื่นๆ และความ รู้พื้นฐานเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์  นั่นก็คือ  เราควรต้องคำนึงถึงการเตรียมมนุษย์ให้มีคุณภาพอย่างรอบด้าน   ให้คิดเป็น  แก้ปัญหาเป็น  และสามารถศึกษาด้วยตนเองได้  ดังพระราชบัญญัติกติารศึกษาแห่งชา พุทธศักราช 2542 

 การเปลี่ยนแปลงผู้เรียน

                            ในโลกปัจจุบันพบว่า  ความต้องการเกี่ยวกับตัวผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น  แม้ว่าครั้งหนึ่งอาจจะมี การตอบสนองต่อการเรียนแบบท่อง

จำ มามาก  แต่ในปัจจุบันสภาพชีวิตจริงต้องการบุคคลที่มี ความสามารถในการใช้ทักษะการให้เหตุผลในระดับที่สูงขึ้น  เพื่อการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน  ซึ่งพบ ว่า ความสามารถในทักษะดังกล่าวที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาไม่ค่อยปรากฏให้เห็น  หรือมีอยู่น้อยมากในปัจจุบัน  แนวคิดเกี่ยวกับผู้เรียนจึงต้องเปลี่ยนแปลงมุมมองใหม่

                       ” ดังที่คำกล่าวว่า  อาจจะไม่ใช่ เวลาที่จะคิดว่าผู้เรียนเป็นภาชนะที่ว่างเปล่า ที่รอรับการเติมให้เต็ม  แต่น่าจะคิดว่าผู้เรียน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความตื่นตัว  กระฉับกระเฉง  และค้นหาความหมาย ซึ่งขณะนี้ผู้เรียนจะถูกมองว่า  เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวในการเรียนรู้  คิดค้น  เสาะแสวงหาวิธีที่จะวิเคราะห์ ตั้งคำถาม อธิบาย  ตลอดจนทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในปัจจุบันความหลากหลายในสังคม  ทำให้ แบบการเรียน (Learning Styles)  พื้นฐานประสบการณ์ที่แตกต่างกัน  ความแตกต่างของวิถีชีวิตในแต่ละครอบครัวและอื่นๆ ทำให้ห้องเรียนในปัจจุบันมีความหลากหลายเป็นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการเรียนรู้ที่ซับซ้อนสำหรับครูและผู้เรียนการเปลี่ยนแปลงมาสู่การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

การเปลี่ยนแปลงมาสู่การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

           ในปัจจุบันเป็นยุคที่การส่งข้อมูลมีความรวดเร็วมาก เทคโนโลยีเปิดโอกาสให้แต่ละ บุคคลได้รับ รวบรวม วิเคราะห์และสื่อสารข้อมูลข่าวสารได้อย่างละเอียดและรวดเร็ว มากกว่าที่ผ่านมา เป็นผลที่ทำให้ความต้องการเกี่ยวกับการศึกษาเพิ่มขึ้น  เพื่อที่จะช่วยผู้เรียนทุก คน ได้รับทักษะที่เพิ่มมากขึ้นที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมในการวิเคราะห์ ตัดสินใจ  และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงที่ซับซ้อน ดังคำกล่าวว่า “ผู้เรียนต้องยกระดับการเรียนที่เพิ่มจาก “การจดจำ” ข้อเท็จจริงไปสู่การเริ่มต้นที่จะคิดอย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรค์” ความจำ เป็นที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ครูผู้สอนจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน  ยิ่งไปกว่านั้น ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจำเป็นที่ครูผู้สอนต้องมีพื้นฐานของความเข้าใจอย่างดี เกี่ยวกับผู้เรียนแต่ละคนว่ามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร

           ดังนั้น ผู้สอนควรจะศึกษาเทคนิค  วิธีการ  เทคโนโลยีต่างๆ  ที่จะนำมาใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ใหม่ ซึ่งแต่เดิมมักเป็นการสอนให้ผู้เรียนเรียนโดยการท่องจำ  ควรปรับเปลี่ยนมาสู่การใช้เทคนิควิธีการที่จะช่วยผู้เรียนรับข้อเท็จจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพได้แก่  การใช้เทคนิคช่วยการจำ  เช่น Mnemonics เป็นต้น  ซึ่งการจัดการสอนที่เน้นครูเป็นศูนย์กลางอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้เช่นกัน

            อย่างไรก็ตาม  สิ่งที่สำคัญและเป็นความต้องการ    ของการศึกษาในขณะนี้  คือ การสอนที่ผู้เรียนควรได้รับคือ  ทักษะ การคิดในระดับสูง (Higher-Order Thinking Skills)  ได้แก่ การคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์   ตลอดจนการแก้ ปัญหา  และการถ่ายโอน(Transfer) ความรู้  โดยเน้น การใช้วิธีการต่างๆ อาทิ สถานการณ์จำลอง การค้นพบ การแก้ปัญหา และการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์การแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริง

            ในกรณีเหล่านี้อาจสังเกตได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการวางแผน  การนำไปใช้ และการประเมินเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  ซึ่งการสอนแบบดั้งเดิมครูผู้สอน  จะเป็นผู้ควบคุมดำเนินการในการวางแผน  การสอนทั้งหมด  ได้เปลี่ยนแปลงมาสู่การ เน้นบทบาทของผู้เรียนในการวางแผนกาดำเนินการและการประเมินด้วยตนเอง

             จากภาพ  ผู้เรียนจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน  ซึ่งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับแหล่งข้อมูลที่มีศักยภาพ ได้แก่  ครู เทคโนโลยี  พ่อแม่  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และบุคคลอื่น ๆ  และสื่อ  เพื่อที่ จะนำมาสู่การหยั่งรู้ในปัญหาและการแก้ปัญหา  บทบาทของครูได้เปลี่ยนแปลงมาสู่การเป็นผู้แนะแนวทางและผู้อำนวยการ ตลอดจนช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้  จากเหตุผลดังกล่าว อาจเป็นการยากที่จะประสบความสำเร็จ  ถ้าหากจะใช้  วิธีการจัดการเรียนการสอน แบบใดแบบหนึ่งเท่านั้นการเปลี่ยนแปลงมาสู่การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

              ต่อไปนี้จะเป็นการเปรียบเทียบบทบาทของครูผู้สอนและผู้เรียน แบบเดิม และบทบาทที่เปลี่ยนแปลงที่มีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  การเปลี่ยนแปลงมาสู่การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

               การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกี่ยวกับบทบาทของครูและผู้เรียนในสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  จากบทบาทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป วิธีการการดำเนินการจะต้องสอดคล้องและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการรู้  จะเห็นได้ว่าจะมุ่งเน้นผู้เรียนได้ลงมือกระทำในภารกิจการเรียนที่ส่งเสริมการแสวงหาข้อมูล  การค้นพบคำตอบ ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่เรียนมาใช้ในการแก้ปัญหาได้  อันจะส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

           เมื่อกระบวนทัศน์ (Paradigm) เกี่ยวกับการสอนเปลี่ยนมาเป็นการเรียนรู้  มาสู่การเน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น  เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา  ตลอดจนสื่อการสอนจำเป็นต้องปรับกระบวนทัศน์เพื่อให้สอดคล้องกับ ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  จากเดิมที่เป็นสื่อการสอนมาเป็นสื่อการเรียนรู้  และนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ เพื่อที่จะนำมาใช้ในการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่ไม่ได้มุ่งเพียง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้เท่านั้น แต่ยังมุ่งพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมไทย  ได้แก่ ความสามารถคิดแบบองค์รวม  เรียนรู้ร่วมกันและทำงานเป็น ทีมตลอดจนความสามารถในการแสวงหาความรู้ และสร้างความรู้ด้วยตนเอง  เพื่อทำให้เป็นสังคมที่มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  เพื่อที่สามารถแข่งขัน และร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในสังคมและโลกต่อไป  ผู้เชี่ยวชาญการสอนได้นำหลักการเรียนรู้มาสู่การวางแผนสำหรับ กิจกรรมการเรียนและสื่อการสอน ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการวิเคราะห์ผู้เรียน สถานการณ์และภารกิจ หรือเนื้อหาที่จะเรียน ถ้าหากว่าผู้ก่อสร้างจะพยายามสร้างโครงสร้างโดยปราศจากการออกแบบของสถาปนิกหรือพิมพ์เขียวอาจจะต้องเผชิญกับปัญหา แต่อาจหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวได้โดย ใช้การวางแผนปัญหาที่ต่างๆ ได้แก่ กำแพงอาจอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง อาจลืมแผงไฟ หรือผิด ตำแหน่ง หรือจัดซื้อวัสดุที่ไม่ถูกต้อง การวางแผนจะเป็นเครื่องนำทาง และหลักการเฉพาะอย่าง อาจสามารถใช้ในการแก้ปัญหาที่แตกต่างได้ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของการออกแบบการสอนได้ดังนี้

•   องค์ประกอบทั้งหมดของการวางแผน กล่าวถึงส่วนประกอบต่าง ๆ และวิธีการจัด ส่วนประกอบดังกล่าว

•  การวิเคราะห์เทคนิค และวิธีการที่จะช่วยกำหนด ทั้งระดับของทักษะที่ผู้เรียนมีอยู่ ในปัจจุบัน และทักษะที่ต้องการให้บรรลุภารกิจ

•  วิเคราะห์เทคนิค เพื่อกำหนดสารสนเทศที่ผู้เรียนจะเรียน และสิ่งที่ควรเน้น ให้ได้รับจากการเรียนการสอน

•   คลังแห่งความรู้ของวิธีการ เทคนิค และกิจกรรมที่สามารถใช้เพื่อเพิ่มการเรียนรู้ของผู้เรียน

•  กลยุทธ์การจำแนกและระบุสื่อการสอน เพื่อผู้เรียนจะได้รับสารสนเทศในเวลาที่ ต้องการ

•  เป็นการประเมินผลที่จะยืนยันว่า สื่อการสอนและกระบวนการทำให้สามารถบรรลุ เป้าหมายตามต้องการ

สื่อการสอน

                 สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางที่ถ่ายทอดสารสนเทศไปสู่ผู้เรียน (Heinich et al., 1993) ในกรณีใดกรณีหนึ่ง การเลือกสื่ออาจจะใช้วีดิทัศน์ ในกรณีอื่นอาจจะเลือกใช้สื่ออื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์ ซึ่งสื่อแต่ละชนิดจะนำเสนอ  หรือเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้เรียน ครู และการสอน ผู้ที่ต้องการใช้สื่อการสอนอาจพิจารณาเกี่ยวกับ การรับสารสนเทศ ของผู้เรียนจากประเด็นต่างดังนี้


                            สื่อที่สามารถจัดหาได้

ผลของสื่อที่แตกต่างกันที่ส่งผลต่อการเรียนรู้

ภายใต้เงื่อนไขใดที่จะมีผลต่อความมีศักยภาพที่เปลี่ยนแปลงไป

สื่อแต่ละชนิดจะสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพของสื่อสูงสุดได้อย่างไร

เมื่อมีการสำรวจคำตอบของประเด็นคำถามดังกล่าว การวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ การรับรู้ (Perception) การรู้คิด (Cognition) การสื่อสาร

(Communication) ทฤษฏีการสอน (Instructional Theories) เข้ามาเกี่ยวข้อง สำหรับผู้เรียน ครูเข้ามาเกี่ยวข้องกับ “ วิธีการที่ จัดโครงสร้างของ

สารสนเทศ และการรับรู้และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละคน” ผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่า สื่อประเภทต่าง ๆ และการเลือก และกระบวนการใช้มีผล

โดยตรงต่อ การรับรู้ของผู้เรียน และวิธีการที่ผู้เรียนจะเก็บรักษา และระลึกเกี่ยวกับสารสนเทศนั้นได้ (Kozma,1991)

    จากนิยามความหมายของสื่อการสอนที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะยังไม่สอดคล้อง กับความเปลี่ยนแปลงของกระบวนทัศน์เกี่ยวกับการศึกษาที่เปลี่ยนไป  เพราะความสำคัญ ของสื่อการสอนยังเป็นเพียงตัวกลางที่ถ่ายทอดเนื้อหาหรือความรู้เท่านั้น  ดังนั้นนิยาม ความหมายของสื่อการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปีพุทธศักราช 2544  จะปรับเปลี่ยนเป็น  “สื่อการเรียนรู้” ซึ่งได้นิยามความหมายไว้ดังนี้

สื่อการเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ รวมถึงเหตุการณ์ หรือแนวความคิด โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการค้นคว้า หรือการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตสื่อการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้ของผู้เรียน อาจทำหน้าที่

•     ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์

•     สร้างสถานการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน

•      กระตุ้นให้เกิดศักยภาพทางความคิด ได้แก่ คิดไตร่ตรอง คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ

             กระตุ้นให้เป็นผู้แสวงหาความรู้ และมีทักษะในการสร้างความรู้ด้วยตนเองจากที่กล่าวมาข้างต้น  อาจสรุปได้ว่า  สื่อการเรียนรู้หมาย ถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียน ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  เช่น  วัสดุ  อุปกรณ์  วิธีกา ร ตลอดจน  คน  สัตว์  สิ่งของ  ธรรมชาติ รวมถึงเหตุการณ์  หรือแนวความคิด  อาจอยู่ในลักษณะที่ถ่ายทอดความรู้  ความเข้าใจ  ความรู้สึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์  หรือเป็นเครื่องมือที่กระตุ้นให้ เกิด ศักยภาพทางความคิด (Cognitive Tools) ตลอดจนสิ่งที่กระตุ้นให้เป็นผู้แสวงหาความรู้ และมีทักษะในการสร้างความรู้ ด้วยตนเอง  เพื่อมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเอง

คุณลักษณะของสื่อการเรียนรู้

•      ช่วยส่งเสริมการสร้างความรู้ของผู้เรียน

•     ช่วยส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

•    เป็นสื่อที่หลากหลาย ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ ตลอดจนสิ่งที่มีตามธรรมชาติ

•    เป็นสื่อที่อยู่ตามแหล่งความรู้ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

•    ช่วยพัฒนาการร่วมทำงานเป็นทีม

ประเภทของสื่อการเรียนรู้

      สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ เอกสาร หนังสือ ตำรา หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร จุลสาร ฯลฯ สื่อเทคโนโลยี – แถบบันทึกภาพ วีดิทัศน์ เทปเสียง สไลด์ – คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction) -สื่อบนเครือข่าย (Web-based Learning) -การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน -การศึกษาผ่านดาวเทียม สื่อที่เป็นกิจกรรม/กระบวนการ (กิจกรรมที่จัดเพื่อฝึกกระบวนการคิดและการปฏิบัติ การแสดงละคร บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง การทำโครงงานฯลฯ) สื่อบุคคล รวมถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่น

 การนำสื่อการเรียนรู้  เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 

   การเปลี่ยนกระบวนทัศน์“การถ่ายทอดความรู้จากครู” มาสู่ “การเน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง” โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือสร้างความรู้ ดังนั้น การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือสื่อมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ดังแสดง อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง   จากภาพจะเห็นได้ว่า ได้มีแนวคิดเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ครูผู้สอนเป็นผู้ที่วางแผน และถ่ายทอดความรู้ต่างๆไปสู่ผู้เรียนโดยตรง ต่อมาเมื่อมีการพัฒนา ทางด้านสื่อการสอนต่างๆ จึงมีการใช้สื่อการสอนถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ต่างๆ ไปยังผู้เรียน เช่น แผ่นภาพโปร่งใส ภาพยนตร์ สไลด์ วิดีทัศน์คอมพิวเตอร์ ช่วยสอน เพื่อช่วยเปลี่ยนสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น อีกทั้ง ยังแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยตอบสนองด้านความแตกต่าง ระหว่างบุคคลในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากการสอน  หรือการถ่ายทอดโดยครูผู้สอน  หรือสื่อการสอนมาสู่การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่ให้ความสำคัญต่อการ เรียนรู้ของผู้เรียน โดยผ่านการปฏิบัติ ลงมือกระทำด้วยตนเอง  การพัฒนาศักยภาพทางการคิด  ตลอดจนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  ดังนั้น  ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนวางแผน ดำเนินการ และการประเมินด้วยตนเอง   เมื่อมีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การสอนมาสู่การเรียนรู้ ดังนั้น เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม ที่นำมาเพิ่มประสิทธิภาพก็ต้องสอดรับกับแนวคิดดัง กล่าว คือ มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพ การเรียนรู้ของผู้เรียน ลักษณะของการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรม หรือสื่อมาใช้ที่สอดคล้องกับ การปฏิรูปการเรียนรู้ เป็น “Media + Methods” หรือ “สื่อ ร่วมกับวิธีการ” เช่น การใช้ Web-Base ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเพื่อเปิดโอกาสได้ลงมือกระทำอย่างตื่นตัวในกระบวนการเรียนรู้ ของตนเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเพื่อน รวมทั้งการขยายมุมมองแนว คิดให้กว้างขวางขึ้น อันนำไปสู่การสร้างความรู้ที่มีความหมายของตนเองขึ้นมา  ซึ่งจะเป็นความรู้ ที่อยู่คงทน และสามารถถ่ายโอนไปใช้ในสถานการณ์อื่น หรือนำไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ในสภาพชีวิตจริง ได้ ส่วนวิธีการ (Methods) ที่สอดรับกับสภาพปัจจุบัน

•      การเรียนแบบค้นพบ (Discovery)

•      การเรียนแบบสืบเสาะ (Inquiry)

•      การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem Solving)

•      การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)

•      การเรียนโดยการสร้างความรู้ (Constructivism)

•      สถานการณ์จำลอง (Simulation)

การสร้างโครงงาน (Project)

             นอกจากจะใช้สื่อร่วมกับวิธีการดังกล่าวมาข้างต้น อาจออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเปลี่ยนเป็น “สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้” ซึ่งจะ นำพื้นฐานทางทฤษฎีการเรียนรู้ หลักการ หรือการจัดการเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนรู้มาเป็นพื้นฐานในการออกแบบสื่อ ตัวอย่างเช่น การจัด สิ่งแวดล้อม ทางการเรียนรู้ของ Web-base Learning ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ หรือ การจัดการเรียนรู้โดยประสานร่วมกับสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ของมัลติมีเดียตามแนว คอนสตรัคติวิสต์