บทที่ 11 การผลิตสื่อการสอน

สื่อการเรียนการสอน

          สื่อการเรียนการสอนนั้น หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสื่อการเรียนก็นับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนผู้สอนได้แสดง บทบาท และเกิดความเข้าใจในวิชาที่เรียนที่สอนกันได้มากขึ้น

วัตถุประสงค์

—    สามารถอธิบายความของสื่อการเรียนการสอนได้

—    สามารถอธิบายประเภท และคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอนได้

—    สามารถเข้าใจหลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน

—    สามารถอธิบายและดำเนินการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนได้

                    —    ขอบข่ายเนื้อหา

                    —    ความหมายสื่อการเรียนการสอน

                    —    ประเภทของสื่อการเรียนการสอน

                    —    คุณค่าของสื่อการสอน

                    —    หลักการเลือกสื่อการสอน

                    —    หลักการใช้สื่อการสอน

                    —    ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน

                    —    ประเภทและคุณสมบัติของสื่อการสอน

                    —    รูปแบบและวิธีการใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอน

ความหมาย

กิ ดานันท์  มลิทอง (2549: 100)  ได้ให้ความหมายคำว่า  สื่อ  (medium,pl.media)  เป็นคำมาจากภาษาลาตินว่า “ระหว่าง”  (betaween)  สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลางข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่ง หรือแหล่งส่งไปยังผู้รับเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตาม วัตถุประสงค์

  ประเภทของสื่อการเรียนการสอน

—    สื่อโสตทัศน์

—    สื่อแบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้

—    สื่อแบ่งตามทรัพยากรการเรียนรู้

—    ประเภทของสื่อการเรียนการสอน

 สื่อโสตทัศน์

โรเบิร์ต อี. เดอ  คีฟเฟอร์  (Robert  E.  de  Kieffer)

      1.   สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย (nonprojected  materials)

      2.   สื่อเครื่องฉาย  (projected  and  equipment)

      3.    สื่อเสียง   (audio  materials  and  equipment)

  1.  สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย (nonprojected  materials)

เป็นสื่อที่ใช้ทางทัศนะโดยไม่ต้อง ใช้เครื่องฉายร่วมด้วย  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  ได้แก่

1. สื่อภาพ (illustrative  materials)  เป็นสื่อที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา  เช่น  ภาพกราฟิก  กราฟ  แผนที่  ของจริง  ของจำลอง

2.  กระดานสาธิต  (demonstration  boards)  ใช้ในการนำเสนอเนื้อหา  เช่น กระดานชอล์ก  กระดานนิเทศ  กระดานแม่เหล็ก  กระดานผ้าสำลี  ฯลฯ

3. กิจกรรม  (activites)

2. สื่อเครื่องฉาย  (projected  and  equipment)

         เป็นวัสดุและอุปกรณ์  อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารด้วยภาพหรือทั้งภาพทั้งเสียง  อุปกรณ์มีทั้งแบบฉายตรงและฉายอ้อมเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภท ที่ใช้เฉพาะอุปกรณ์นั้นเพื่อให้เป็นภาพปรากฏขึ้นบนจอ

 3.  สื่อเสียง   (audio  materials  and  equipment)

         เป็นวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการสื่อสารด้วยเสียง อุปกรณ์เครื่องเสียงจะใช้ถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะกับ อุปกรณ์นั้นเพื่อเป็นเสียงให้ได้ยิน  เช่น  เครื่องเล่นซีดีใช้กับแผ่นซีดี  เครื่องเล่น/บันทึกเทปใช้กับเทปเสียง  หรืออาจเป็นอุปกรณ์ในการถ่ายทอดสัญญาณเสียงดัง เช่นวิทยุที่รับสัญญาณเสียงจากแหล่งส่งโดยไม่ต้องใช้วัสดุใดๆในการนำเสนอ เสียง

    สื่อแบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้

       เอ็ดการ์ เดล ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 11 ประเภท  โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น  โดยยึดเอาความเป็นรูปธรรมและนามธรรมเป็นหลักในการแบ่งประเภท  และได้เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สุดประสบการณ์  ที่เป็นนามธรรมที่สุด  (Abstract  Concrete  Continuum)  เรียกว่า  “กรวยประสบการณ์”  (Cone  of  Experience)

   กิจกรรม

    ให้นิสิตแบ่งกลุ่ม 11 กลุ่ม ร่วมกันอธิบายและยกตัวอย่างประเภทของประสบการณ์ที่กลุ่มตนได้รับ เป็นเวลา 15 นาที พร้อมแล้วนำเสนอทีละกลุ่ม

  กรวยประสบการณ์ของ เอ็ดการ์ เดล

            ขั้น ที่ 1 ประสบการณ์ตรง (Direct or Purposeful Experiences) เป็นสื่อการสอนที่สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ ด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริงและได้สัมผัสด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า ตัวอย่างเช่น การทดลองผสมสารเคมี การฝึกหัดทำอาหาร การฝึกหัดตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น

    ขั้นที่  2  ประสบการณ์จำลอง

               ขั้น ที่  2 ประสบการณ์จำลอง (Contrived experience) เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็น จริงที่สุดแต่ไม่ใช่ความเป็นจริง อาจเป็นสิ่งของจำลอง หรือสถานการณ์จำลอง ตัวอย่างเช่น การฝึกหัดผ่าตัดตาด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น

   ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ

                ขั้น ที่ 3 ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง (Dramatized Experience) เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ ในการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร เพื่อเป็นประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน นิยมใช้สอนในเนื้อหาที่ข้อมีจำกัดเรื่องยุคสมัยหรือเวลา

    ขั้นที่ 4 การสาธิต

                ขั้น ที่ 4 การสาธิต (Demonstration)เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการดูการแสดงหรือการ กระทำประกอบคำอธิบาย เพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น ๆ เช่น การสาธิตการอาบน้ำเด็กแรกเกิด การสาธิตการแกะสลักผลไม้ เป็นต้น

   ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)

               ขั้น ที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)  การพานักเรียนไปศึกษายังแหล่งความรู้นอกห้องเรียน  เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนรู้หลายๆด้าน  ได้แก่  การศึกษาความรู้จากสถานที่สำคัญ  เช่น  โบราณสถาน  โรงงาน  อุตสาหกรรม  เป็นต้น

    ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibition)

               ขั้น ที่ 6 นิทรรศการ (Exhibition)  คือ การจัดแสดงสิ่งต่างๆ  รวมทั้งมีการสาธิตและการฉายภาพยนตร์ประกอบเพื่อให้ประสบการณ์ในการเรียนรู้ แก่ผู้เรียนหลายด้าน  ได้แก่  การจัดป้ายนิทรรศการ  การจัดแสดงผลงานนักเรียน

    ขั้นที่ 7 โทรทัศน์

                 ขั้น ที่ 7 โทรทัศน์ (Television) เป็นการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการสอนโดยเฉพาะ เน้นที่โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอน เป็นการสอนหรือให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนและ ทางบ้าน ใช้ทั้งระบบวงจรปิดและวงจรเปิด ซึ่งการสอนอาจเป็นการบันทึกลงเทปวีดิทัศน์ หรือเป็นรายการสดก็ได้ การใช้สื่อการสอนในกรณีนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการชมโทรทัศน์

   ขั้นที่ 8 ภาพยนตร์

              ขั้นที่ 8 ภาพยนตร์ (Motion Picture)เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว มีเสียงประกอบ และได้บันทึกลงไว้ในแผ่นฟิล์ม มาเป็นสื่อในการสอน ผู้เรียนจะได้เรียนรู้หรือได้รับประสบการณ์ทั้งจากภาพและเสียง หรือจากภาพอย่างเดียวก็ได้ในกรณีที่เป็นภาพยนตร์เงียบ

 ขั้นที่ 9 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง

             ขั้นที่ 9 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง (Recording, Radio and Picture)  ได้แก่  เทปบันทึกเสียง  แผ่นเสียง  วิทยุ  ซึ่งต้องอาศัยเรื่องการขยายเสียง  ส่วนภาพนิ่ง  ได้แก่  รูปภาพทั้งชนิดโปร่งแสงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead  projector)  สไลด์ (Slide)  ภาพนิ่งจากคอมพิวเตอร์  และ ภาพบันทึกเสียงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพทึบแสง (Overhead  projector)

ขั้นที่ 10 ทัศนสัญลักษณ์

            ขั้นที่ 10 ทัศนสัญลักษณ์  (Visual Symbol)  มีความเป็นนามธรรมมากขึ้น  จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐาน  ในการเลือกนำไปใช้  สื่อที่จัดอยู่ในประเภทนี้  คือ  แผนภูมิ  แผนสถิติ  ภาพโฆษณา  การ์ตูน  แผนที่  และสัญลักษณ์ต่างเป็นต้น

   ขั้นที่ 11 วจนสัญลักษณ์

           ขั้นที่ 11 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol) เป็นสื่อการสอนที่อยู่ในรูปแบบของคำพูด คำบรรยาย ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์พิเศษต่างๆ ที่ใช้ในภาษาการเขียน ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนโดยผ่านสื่อประเภทนี้ จัดว่าเป็นประสบการณ์ขั้นที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุด

 
สื่อแบ่งตามทรัพยากรการเรียนรู้

โดนัลด์  พี. อีลี

                      1.  คน  (people)

2.วัสดุ (materials)

3. อาคารสถานที่ (settings)

4. เครื่องมือและอุปกรณ์ (tools  and  equipment)

5. กิจกรรม (activities)

 คุณค่าของสื่อการสอน

 สื่อกับผู้เรียน

สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้เรียนดังนี้

—    เป็นสิ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่าย ขึ้นในระยะเวลาอันสั้น  และช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

—    สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียนทำให้เกิดความรู้สนุกสนานและไม่รู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน

—    การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันหากเป็นเรื่องของนามธรรมและยาก ต่อความเข้าใจ  และช่วยให้เกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียน

—    สื่อช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน  ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและกับผู้สอนด้วย

—    สร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อเหล่านี้

—    ช่วยแก้ปัญหาเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยการจัดให้มีการใช้สื่อในการศึกษารายบุคคล

  สื่อกับผู้สอน

—    สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้สอนดังนี้

—    การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆประกอบการเรียนการสอน  เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น  ทำให้ผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่ เพียงอย่างเดียว   และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้นด้วย

—    ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหาเพราะสามารถนำสื่อมาใช้ซ้ำได้  และบางอาจให้นักศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง

—    เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลผลิตวัสดุและเรื่อง ราวใหม่ๆเพื่อใช้เป็นสื่อการสอน  ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ  เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น

  หลักการใช้สื่อการสอน

—    เตรียมตัวผู้สอน

—    เตรียมจัดสภาพแวดล้อม

—    เตรียมพร้อมผู้เรียน

—    การใช้สื่อ

—    การประเมินติดตามผล

—    ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน

—    ขั้นนำสู่บทเรียน

—    ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน

—    ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ

—    ขั้นสรุปบทเรียน

—    ขั้นประเมินผู้เรียน

—    ประเภทและคุณสมบัติของสื่อการสอน

–     สื่อการสอนประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย

—   สิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น หนังสือ  ตำราเรียน  คู่มือ  วารสาร  ฯลฯ

ข้อดี

–   เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง

–   สามารถอ่านได้ตามอัตราความสามารถแต่ละบุคคล

–   เหมาะสำหรับการอ้างอิง

–   สะดวกในการพกพา

–   ทำสำเนาจำนวนมากได้ง่าย

ข้อเสีย

–   ถ้าจะให้ได้สิ่งพิมพ์ที่คุณภาพดีต้องใช้ต้นทุนในการผลิตสูง

–   บางครั้งต้องพิมพ์ใหม่เพื่อปรับปรุงข้อมูลที่ล้าสมัย

–   ผู้ที่ไม่รู้หนังสือไม่สามารถอ่านหรือทบทวนให้เข้าใจได้

–   ไม่สะดวกในการแก้ไขปรับปรุง ของจริง  ของตัวอย่าง

ข้อดี

—    แสดงภาพได้ตามความเป็นจริง

—    สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า

—    สามารถจับต้องและพิจารณารายละเอียดได้

ข้อเสีย

—    บางครั้งอาจจะลำบากในการจัดหา

—    ของบางสิ่งอาจมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะนำมาแสดงได้

—    บางครั้งของนั้นอาจมีราคาสูงเกินไป

—    ปกติเหมาะสำหรับการเสนอต่อกลุ่มย่อย

—    เก็บรักษาลำบากของจำลอง  หุ่นจำลอง  ขนาดเท่า  ย่อส่วน  หรือ  ขยายของจริง

ข้อดี

—    อยู่ในลักษณะ  3  มิติ

—    สามารถจับต้องพิจารณารายละเอียดได้

—    เหมาะในการนำเสนอที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

—    สามารถใช้แสดงหน้าที่และลักษณะส่วนประกอบ

—    หุ่นบางอย่างสามารถผลิตได้ด้วยวัสดุท้องถิ่นที่หาได้ง่าย

ข้อเสีย

—    ต้องอาศัยความชำนาญในการผลิตส่วนมากจะราคาแพง

—    ปกติเหมาะสำหรับการแสดงต่อกลุ่มย่อย

—    ถ้าทำได้ไม่เหมือนของจริงทุกประการ บางครั้งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้

—    สื่อการเรียนการสอนประเภทใช้เครื่องฉายวัสดุและอุปกรณ์ประเภทเสนอภาพนิ่ง แผ่นโปร่งใสและเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ

ข้อดี

—    สามารถใช้ได้ในที่มีแสงสว่าง

—    เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่

—    ผู้สอนหันหน้าเข้าหาผู้เรียนได้

—    ผู้สอนสามารถเตรียมแผ่นโปร่งใสไว้ใช้ล่วงหน้า  หรือสามารถเขียนลงไปพร้อมทำการบรรยายเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ

—    แผ่นโปร่งใสบางประเภทสามารถแสดงให้การเคลื่อนไหวได้บ้าง

ข้อเสีย

—    ถ้าจะผลิตแผ่นโปร่งใสมีลักษณะพิเศษจะต้องลงทุนสูง

—    ผู้เรียนไม่มีบทบาทร่วมในการใช้อุปกรณ์ สไลด์และเครื่องฉายสไลด์

ข้อดี

—    เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก

—    ผลิตง่ายและทำสำเนาได้ง่ายเช่นกัน

—    สามารถเปลี่ยนรูปในการสอนได้ตามความต้องการ

—    สามารถปรับเปลี่ยนรูปได้ตามความต้องการของเนื้อเรื่อง

—    ใช้สะดวก  เก็บรักษาง่าย

—    ใช้ประกอบกับเครื่องบันทึกเสียงในการผสมสัญญาณเสียงและภาพ

—    สามารถใช้ได้กับเครื่องฉายที่ใช้ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่

ข้อเสีย

—    ต้องฉายในห้องมืดพอสมควรยกเว้นจะมีจอ  Daylight  Screen

—    การถ่ายทำชุดสไลด์ที่ดีต้องมีการวางแผนทำบทสคริปต์  การถ่ายทำและการจัดภาพเป็นชุด

—   เครื่องวีดีโอโปรเจกเตอร์ หรือ เครื่องแอลซีดี

ข้อดี

—    ใช้กับอุปกรณ์ได้หลายประเภท

—    สามารถเสนอภาพขนาดใหญ่จากอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อให้เห็นภาพได้อย่างทั่วถึง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์

ข้อเสีย

—    ถ้าต้องการเสนอภาพคมชัดมากๆจะต้องใช้เครื่องที่มีราคาสูง

—    ต้องมีความรู้ในการต่อสายเข้ากับเครื่องให้ถูกต้อง

—    ต้องระวังในการใช้งานและการปิด/เปิดเพื่อถนอมหลอดฉาย

—    สื่อการสอนประเภทใช้เครื่องฉายวัสดุและอุปกรณ์ประเภทเสนอภาพเคลื่อนไหว

        โทรทัศน์วงจรปิด

ข้อดี

—    เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่

—    ใช้ถ่ายทอดเหตุการณ์หรือการสอนที่ผู้เรียน/ผู้ชมไม่สามารถรวมกันอยู่ในบริเวณที่เรียน/ที่ชมพร้อมกันได้

—    สามารถใช้ร่วมกับวีดีทัศน์ในการส่งภาพได้

ข้อเสีย

—    รับภาพได้เฉพาะในบริเวณที่กำหนดไว้เท่านั้น

—    ถ้าต้องการถ่ายทอดภาพหลายจุดต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งจอภาพในบริเวณต่างๆ

     โทรทัศน์วงจรเปิด

ข้อดี

—    สามารถใช้ได้กับผู้เรียนหรือผู้ชมไม่จำกัดจำนวน  และสามารถแพร่สัญญาณไปได้ในระยะไกลๆ

—    ช่วยลดภาระของผู้สอนคือ  แทนที่จะต้องบรรยายหลายครั้งหรือหลายแห่งในหัวข้อเดียวกันต่อผู้เรียน หลายกลุ่ม  ก็ใช้การแพร่สัญญาณไปยังที่ต่างๆได้ในเวลาเดียวกัน

ข้อเสีย

—    การจัดรายการที่ดีต้องใช้ต้นทุนสูงมากและต้องใช้ช่างเทคนิคในการผลิตรายการ เป็นสื่อสารทางเดียว  ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถถามข้อสงสัยได้ในทันที  และผู้สอนไม่สามารถทราบการตอบสนองของผู้เรียนได้รายการที่เสนออาจไม่ตรงกับ ตารางสอนหรือบทเรียนวิดีทัศน์

ข้อดี

—    สามารถใช้ได้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่

—    สามารถซ้ำเมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจหรือทบทวน

—    แสดงการเคลื่อนไหวของภาพประกอบเสียงที่ให้ความรู้สึกใกล้เคียงของจริงมาก

ข้อเสีย

—    ต้นทุนอุปกรณ์และการผลิตที่มีคุณภาพดีมีราคาสูง  และต้องใช้ช่างเทคนิคในการผลิต/จัดรายการ

—    ตัวอักษรที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์มีขนาดเล็กอ่านยาก

—    แถบเทปเสื่อมสภาพได้ง่าย

                        สื่อการสอนประเภทเครื่องเสียงวิทยุ

ข้อดี

—    สามารถใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่  หรือรายบุคคล

—    ระยะกระจายเสียงกว้างและถ่ายทอดได้ในระยะไกลๆ

—    ลดภาระของผู้สอนหรือผู้บรรยายในการเดินทางไปสอนในที่ต่างๆ

—    สามารถให้ความรู้แก่ผู้ที่ไม่สามารถอ่านเขียนจากใช้ทักษะในการฟังเพียงอย่างเดียว

ดึงดูดความสนใจได้ดี

 เครื่องรับวิทยุราคาถูกและสามารถใช้กับแบตเตอรี่ได้

ข้อเสีย

—    ต้องใช้ห้องที่ทำขึ้นเฉพาะเพื่อการกระจายเสียง

—    ผู้ฟังหรือเรียนต้องปรับตัวเข้าหารายการ  เนื่องจากผู้บรรยายไม่สามารถปรับตัวเข้าหาผู้ฟังได้

—    เป็นการสื่อสารทางเดียวทำให้ผู้บรรยายไม่สามารถทราบปฏิกิริยาสนองกลับของผู้ฟัง

  เทปบันทึกเสียง

ข้อดี

—    ใช้ได้โดยไม่จำกัดจำนวนผู้เรียน

—    เหมาะสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือกับกลุ่มย่อย

—    การเปิด/ปิด/เดินหน้า  ย้อนกลับสามารถทำได้สะดวก

—    ต้นทุนการผลิตต่ำ

—    อุปกรณ์ราคาถูกและสามารถใช้กับแบตเตอรี่ได้

ข้อเสีย

—    การบันทึกเสียงที่คุณภาพดีจำเป็นต้องใช้ห้องและอุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพสูง

—    ต้องมีความชำนาญพอสมควรในการตัดต่อเทป

—    ต้องระมัดระวังในการเก็บรักษา

—    แผ่นซีดี

ข้อดี

—    บันทึกเสียงประเภทต่างๆในระบบดิจิทัลที่ให้ความคมชัดมาก

—    เรียกค้นข้อมูลเสียงได้รวดเร็ว

—    มีความทนทานใช้งานได้นาน

—    ขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะแก่การพกพา

ข้อเสีย

—    ไม่สามารถบันทึกได้ถ้าใช้แผ่น  CD-R

—    เครื่องเล่นมีราคาสูงกว่าเครื่องเล่นเทปเสียง

—    สื่อประสมเชิงโต้ตอบ  (Interactive  Multimedia)

—    คอมพิวเตอร์

ข้อดี

—    ใช้งานได้หลายประเภท  เช่นคำนวณ  จัดเก็บฐานข้อมูล  งานกราฟิก  จัดหน้าสิ่งพิมพ์  ฯลฯ

—    ใช้แก้ปัญหาต่างๆที่ซับซ้อน

—    เสนอข้อมูลได้หลายประเภท

—    มีการโต้ตอบกับผู้เรียน

—    สามารถบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในหน่วยความจำอื่น  เช่น  แผ่นซีดี

—    ใช้ร่วมกับโมเด็มหรือแบบไร้สายเพื่อใช้บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารข้อมูลกับฐานข้อมูลอื่นๆได้ทั่วโลก

ข้อเสีย

—    เครื่องที่มีสมรรถนะการใช้งานสูงจะมีราคาสูงพอสมควร

—    ต้องมีการบำรุงรักษาตามระยะเวลา

—    ต้องใช้กับโปรแกรมซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆ  จึงจะใช้งานได้

—    มีการเปลี่ยนแปลงด้านอุปกรณ์  เช่น  ความเร็วต่างๆจนทำให้เครื่องที่มีอยู่ล้าสมัยได้เร็ว

—    บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (ซีเอไอ)

ข้อดี

—    ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับบทเรียนได้

—    สามารถให้ผลป้อนกลับได้ในทันที

—    มีรูปแบบบทเรียนให้เลือกใช้มากมาย  เช่น  การสอน  ทบทวน  เกม การจำลอง

—    เสนอบทเรียนได้ทั้งลักษณะตัวอักษรภาพ  และเสียง

—    ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหา

—    บทเรียนและทำกิจกรรมได้ตามความสามารถของตนในลักษณะการศึกษารายบุคคล

ข้อเสีย

—    ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมบทเรียน

—    โปรแกรมซอฟต์แวร์บางประเภทมีราคาสูงพอควร

—    แผ่นซีดี  ซีดีอาร์  และ  ซีดีอาร์ดับเบิลยู

ข้อดี

—    สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง  700     เมกะไบต์

—    บันทึกข้อมูลได้ทั้งตัวอักษร  ภาพนิ่ง  กราฟิก  แอนิเมชั่น  เคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์  และเสียง

—    ไม่มีการเผลอลบข้อมูลที่บันทึกไว้  แล้ว

—    ค้นข้อมูลได้เร็วและถูกต้อง

—    มีอายุการใช้งานนานและยากแก่การบุบสลาย

—    ขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะแก่การพกพา

ข้อเสีย

—    แผ่นซีดีรอมและแผ่นซีดีอาร์จะไม่สามารถบันทึกทับข้อมูลเดิมได้

—    ต้องใช้เล่นร่วมกับคอมพิวเตอร์

—    รูปแบบและวิธีการการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน

—    สื่อหลายมิติ

ข้อดี

—    สามารถอ่านเนื้อหาในตอนใดที่ต้องการได้โดยไม่ต้องเรียงตามลำดับเชื่อมโยงข้อมูลได้สะดวก

—    เนื้อหาบทเรียนมีทั้งภาพกราฟิก       ภาพวีดีทัศน์  เสียงพูด  เสียงดนตรี

—    ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนและได้รับผลป้อนกลับทันที

ข้อจำกัด

—      ต้องใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพสูงในการผลิตบทเรียน

—    ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการสร้างบทเรียน

—    ต้องใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์  คุณภาพสูง

—    การผลิตบทเรียนที่ดีต้องใช้อุปกรณ์ร่วมหลายอย่าง   เช่น  เครื่องเสียง  กล้องดิจิทัล

—    อินเทอร์เน็ต (Internet)

ข้อดี

—    ค้นคว้าข้อมูลได้ทั่วโลก

—    ติดตามข่าวสารความรู้ได้อย่างรวดเร็ว

—    สนทนากับผู้ที่อยู่ห่างไกล

—    รับส่งไปรษณีย์  รูปแบบข้อความ  ภาพ  และเสียงได้

—    ใช้ในการเรียนการสอนได้มากมายหลายรูปแบบ  เช่นการสอนบนเว็บทางไกล

 ข้อจำกัด

—    ข้อมูลที่ได้อาจไม่ถูกต้องเพราะไม่มีใครรับรอง

—    ต้องมีการศึกษาใช้งานเพื่อสืบค้นข้อมูล

—    ประชาชนไม่มีความรู้ด้านไอที

—    การสอนบนเว็บ

ข้อดี

—    ขยายโอกาสให้ผู้เรียนรอบโลก

—    เรียนด้วยการสื่อสารหลายแบบ

—    มีการเรียนทั้งแบบประสานเวลาและแบบไม่ประสานเวลา

ข้อจำกัด

—    ผู้สอนและเรียนอาจไม่พบหน้ากันเลย  อาจทำให้ผู้เรียนบางคนอึดอัดและไม่สะดวกในการเรียน

—    ผู้สอนต้องใช้เวลาเตรียมการสอนมากกว่าปกติ

—    ผู้เรียนต้องรู้จักควบคุมการเรียนของตนเองจึงจะประสบผลสำเร็จในการเรียนได้

บทที่ 12 การวิเคราะห์และออกแบบสื่อการเรียน CAI

สาระการเรียนรู้

1.  การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
2.  การสร้างสื่อด้วยคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ออกแบบสื่อการเรียน
3.  ลักษณะโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการเรียนการสอน
4.  การออกแบบสื่อการเรียนการสอนประเภทสื่อ
5.  ขั้นตอนการออกแบบสื่อการเรียนการสอนCAI
6.  เทคนิคที่ใช้ในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1.  การออกแบบสื่อการเรียนการสอน

องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอน คือ สิ่งที่นำไปประกอบการเรียนการสอนลักษณะการออกแบบที่ดี

สิ่งที่นำไปประกอบการเรียนการสอนลักษณะการออกแบบที่ดีมีดังนี้

1. การออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้

2. ออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิตสื่อการเรียนการสอน

3.  มีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อการสอน

           4.  มีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น

ปัจจัยพื้นฐานของการออกแบบสื่อการสอน

          1.  เป้าหมายของการเรียนการสอนพฤติกรรมด้านพุทธพิสัย

2.   ลักษณะของผู้เรียน เนื้อหาและรายละเอียดของสื่อ

3.   ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อลักษณะผู้เรียน

4.   ลักษณะสื่อ

2. การสร้างสื่อด้วยคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ออกแบบสื่อการเรียน

การ สร้างสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอเนื้อหาสาระองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ช่วย สอน ได้แก่

1.  เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน

2.  ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน

3.  ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง

4.  ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าลำดับต่อไปรูปแบบต่างๆของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

3. ลักษณะโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการเรียนการสอน

§  e-Learning และ CAI ต่างก็สามารถนำเสนอเนื้อหาบทเรียนในรูปของสื่อมัลติมีเดียทางคอมพิวเตอร์

§  นอกจากนี้รูปแบบการเรียนการสอนทั้งสองยังถือเป็นสื่อรายบุคคล ซึ่งมุ่งเน้น ให้ผู้เรียนมีโอกาสอ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาตามความสามารถของตน สามารถที่ จะทบทวนเนื้อหาตามความพอใจหรือจนกว่าจะเข้าใจ

สำหรับในด้านของการโต้ตอบกับบทเรียน

การให้ผลป้อนกลับนั้น  e – Learning จะขึ้นอยู่กับระดับของการนำเสนอและการนำไปใช้ หากมีการพัฒนา

e – Learning อย่างเต็มรูปแบบ ในระดับ Interactive Online หรือ High Quality Onlineและนำไปใช้ในลักษณะสื่อเติมหรือสื่อหลัก ผู้เรียนไม่เพียงจะสามารถโต้ ตอบกับบทเรียนได้อย่างมีความหมาย แต่ยังจะสามารถโต้ตอบกับผู้สอนและกับผู้ เรียนอื่นๆได้อย่างสะดวกผ่านทางระบบของ  e – Learning

4.  การสร้างสื่อด้วยคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์และออกแบบสื่อการเรียนการสอน CAI

การสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI เป็นกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอเนื้อหาสาระองค์ ประกอบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้แก่

         1. เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
2. ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสิน คำตอบ
3. ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัลหรือคะแนน
4. ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าลำดับต่อไปรูปแบบต่างๆของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

 5. ขั้นตอนการออกแบบสื่อการเรียนการสอน CAI

การผลิตสื่อ CAI มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้

►               1. ขั้นการเตรียมการ ( Preparation)

►               2.  ขั้นการออกแบบบทเรียน ( Design Instruction)

►               3.  ขั้นการเขียนผังงาน ( Flow-Chart Lesson)

►               4.  ขั้นการสร้าง Story board

►               5.  ขั้นการสร้าง/เขียนโปรแกรม( Program lesson)

►               6.  ขั้นการผลิตเอกสาร

►               7.  ขั้นการประเมินและแก้ไขบทเรียน( Evaluation and Revise )

6.  เทคนิคที่ใช้ในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

เทคนิคที่ใช้ในการการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบ่งตามประเภทของเหตุการณ์ในการสอน 9 ประเภท ตามแนวคิดของ

โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gangn’) คือ  เหตุการณ์ในการสอน เช่น

1.การดึงดูดความตั้งใจ

วิธีที่ CAI นำไปใช้ คือ

– การทำให้ภาพเคลื่อนไหว (Animation) – การทำให้ตรงกับเรื่อง (Relevance)

– การใช้แบบจินตนาการ (Fantasy) – การทำในรูปเกม (Gaming)

– การใช้เสียงต่าง ๆ

2. การบอกจุดประสงค์แก่ผู้เรียน หรือการใช้คำถาม    วิธีที่ CAI นำไปใช้ คือ

– การใช้ข้อความ

– การใช้กราฟ

– การใช้วิธีสาธิต
– การใช้การจำลองสถานการณ์สั้น ๆ

3. การกระตุ้นให้นำเอาทักษะที่เป็นพื้นฐานการเรียนมาใช้

วิธีที่ CAI นำไปใช้ คือ – การใช้คำถามทดสอบโดยมีโปรแกรมโยงถึงพื้นฐาน
– การทบทวนเนื้อหา
– การใช้โปรแกรมที่ผู้เรียนเลือกโยงไปยังความรู้ต้น ๆ ได้
– การใช้รายการให้เลือก (Menu)

4. การเสนอสิ่งเร้า

วิธีที่ CAI นำไปใช้ คือ

– ใช้เนื้อหาในรูปส่วนย่อย-ส่วนรวม, ในรูปคงที่ เคลื่อนไหว
– ใช้กราฟในรูปส่วนย่อย-ส่วนรวม, การทำให้ภาพเคลื่อนไหว
– ใช้เสียงจากเทป
– ใช้วิดีโอ
– ผู้เรียนควบคุมความเร็ว, ส่วนเลือกสำหรับการทบทวน

5. การให้แนวทางการเรียน

วิธี ที่ CAI นำไปใช้ คือ – ด้านความตั้งใจ เน้นจุดสำคัญและความเปลี่ยนแปลงในด้านความเร็ว, การย้อนกลับหลัง, ใช้ชุดตัวอักษร, การใช้สี แสง กราฟ การทำให้ภาพเคลื่อนไหว การใช้เสียง
– การใช้ลำดับช่วย
– การใช้อักษรหรือสัญลักษณ์หรือข้อความเพื่อให้ทราบก่อนว่ากำลังรอคำถาม

6. การนำให้กระทำกิจกรรมการเรียน

วิธี ที่ CAI นำไปใช้ คือ – การใช้คำถามประเภทต่าง ๆ เช่น ถูก-ผิดให้ตอบสั้น ๆ, Input Template, เติมคำ, เลือกตอบ, และการให้ปฏิบัติการตอบโดย การพิมพ์ข้อความบนคีย์บอร์ดโดยเคาะปุ่มหรือการใช้ mouse

7. การให้ข้อมูลสะท้อนกลับ

วิธีที่ CAI นำไปใช้ คือ – การนับจำนวนครั้ง
– นับจำนวนครั้งที่ตอบข้อเดิม
– การนับเวลา-นับเวลาที่ใช้ในการสอบ
– การใช้ลำดับช่วย
– การทบทวน
– การใช้กราฟ
– การแก้ไขจุดที่บกพร่อง
– การให้ทราบผลของการตอบ

8. การประเมินผลการเรียน

วิธีที่ CAI นำไปใช้ คือ

– การสร้างข้อสอบโดยวิธีสุ่มหรือ

จัดเป็นกลุ่ม
– การผันแปรจำนวนข้อสอบ
– การเสนอผลด้วยกราฟ

9. การส่งเสริมความทรงจำและการถ่ายโอนการเรียนรู้

วิธีที่ CAI นำไปใช้ คือ – ยกคำถาม

ที่เคยตอบผิดมาให้ทบทวน
– การใช้คำถามที่ใช้ถ้อยคำในรูปใหม่ (Rephrased Question)
– การใช้ตัวอย่างต่าง ๆ กันหลายตัวอย่าง

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นงานที่ต้องอาศัยความประณีตอย่างมาก

ดังนั้นการเลือกหัวเรื่องหรือรายวิชาที่จะนำมาสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอนจึงต้องพิจารณาในเรื่องของความคุ้มทุนหรือไม่ มีกลุ่มผู้เรียนมากน้อยเพียงใด เนื้อหาของบทเรียนล้าสมัยเร็วหรือไม่

ในขั้นตอนการวิเคราะห์เนื้อหา (Analysis) มีขั้นตอนสำคัญได้แก่ การสร้างแผนภูมิระดมสมอง (Brain Storm Chart) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาช่วยกันระดมหัวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับราย วิชานั้น

จากนั้นนำมาสรุป จัดกลุ่มหัวเรื่องให้สัมพันธ์กัน เพิ่มหรือตัดหัวเรื่องที่จำเป็น เราเรียกว่าแผนภูมิหัวเรื่องสัมพันธ์ (Concept Chart)

จากนั้นนำหัวเรื่องสัมพันธ์มาจัดลำดับก่อนหลัง ตามลักษณะลำดับการเรียนเนื้อหาเรื่องนั้น ๆ จะทำให้เห็นภาพลำดับของหัวเรื่องทั้งรายวิชา เรียกว่า แผนภูมิโครงข่ายเนื้อหา (Content Network Chart)

ในขั้นตอนการออกแบบการสอน (Design) จะต้องนำแผนภูมิโครงข่ายเนื้อหา มาจัดแบ่งเป็นหน่วยการเรียน (Module) พร้อมกำกับด้วยวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน

           จากนั้นจะต้องออกแบบการสอนภายในของแต่ละหน่วยการเรียน (Module Presentation Chart) ตามหลักการสอนจริง โดยเลือกใช้เทคนิควิธีและสื่อมัลติมีเดียให้เหมาะสมในการนำเสนอเนื้อหาใน หน่วยนั้น ๆ โดยเน้นเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้จริง

บทที่ 13 การออกแบบการสอน

ความหมายการออกแบบการสอน 

q     การออกแบบการสอน  หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากหลักการเรียนรู้และการสอนมาสู่การวางแผนสำหรับการ จัดการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียน (Smit & Ragan, 1999)

การ ออกแบบการสอน  หมายถึง การนำวิธีระบบมาประยุกต์ใช้กำหนดรูปแบบ ของการวางแผนจัดการเรียน   การสอน ซึ่งในการวางแผนจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้ง  ต้องพิจารณาที่ปัจจัย Input กระบวนการ Process ผลผลิต Output และผลกระทบ Impact (ไพฑูรย์ ปลอดอ่อน)

สรุป 

การออกแบบการสอน หมายถึง หลักการหรือศาสตร์ในการกำหนดรายละเอียด ของรายการต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนา ประเมิน และทำนุบำรุง รักษาให้คงไว้ของสภาวะต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ต่อไป

ความเป็นมาของการออกแบบการสอน 

ธอร์นไดค์ ( Edward L. Thorndike,1898 )พัฒนาทฤษฎีการเรียนรู้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มทดลองกับสัตว์  “อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการสนองตอบ (Response)”

แฟรงคลิน (Franklin Bobbilt,1920-30)พัฒนาการสอนรายบุคคล“เป้าหมายของโรงเรียน   ควรมาจากพื้นฐานการวิเคราะห์ทักษะที่จำเป็น สำหรับชีวิตที่ประสบความสำเร็จ”

ไทเลอร์ (Ralph W. Tyler,1930)ปรับปรุงกระบวนการการเขียนวัตถุประสงค์การสอน“วัตถุประสงค์การ สอนเชิงพฤติกรรม (Student Behaviors)ประเมินเพื่อปรับปรุง”

         เบนจามิน บลูม ( Benjamin Bloom,1956 ) จำแนกวัตถุประสงค์ทางการศึกษา เป็นลำดับขั้นที่ชัดเจน (Taxonomyo fEducational Objectives)“ใช้ทั่วไปในกลุ่มสาขาศึกษาศาสตร์จนถึงปัจจุบัน”

บี เอฟ สกินเนอร์ (B. F. Skinner,1950-60) เสนอแนวทฤษฎีการวางเงื่อนไข  (Operant Conditioning) ซึ่งมีรากฐานมาจากแนวคิดของ ธอร์นไดค์   “เน้นการเสริมแรงในการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง”

“แนว คิดของ Skinner  เป็นที่มาของ วิธีระบบ (System Approach) ในการออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การประเมิน (Evaluation) และการปรับปรุง (Revise)”

โรเบิร์ต กาเย ( Robert Gagne,1960)นำเสนอแนวคิดทางพุทธิปัญญา(Cognitive Theories) มาใช้ในการออกแบบการสอน“ศึกษาความเข้าใจ (Understand) ที่เกิดขึ้นในจิตใจ (Mind)”“ปลายปี ค.ศ. 1960 การออกแบบการสอนได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาวิชา” เกิดคำว่า “Instructional System”

ค.ศ. 1970 ทฤษฎีการเรียนรู้ การประมวลสารสนเทศ (Information Processing) มีบทบาทอย่างมาก  ปัจจุบันทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivis   กำลังได้รับความสนใจ”

พัฒนาการออกแบบการสอน

 q     ID1 พื้นฐานมาจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม

q     ID2 พื้นฐานมาจากกลุ่มพุทธิปัญญานิยม

q     พื้นฐานจาก Constructivism

การออกแบบการสอนในยุคที่ 1

ID1 พื้นฐานมาจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม ตามแนวคิดนี้การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรา มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัด  การออกแบบการสอนในยุคแรก (ID1)ที่พบในปัจจุบัน ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม   ชุดการสอน  และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เป็นต้น

ลักษณะสำคัญของการออกแบบการสอนในยุค ID1

1. ระบุวัตถุประสงค์การสอนที่ชัดเจน

2. การสอนในแต่ละขั้นตอนนำไปสู่การเรียนแบบรอบรู้ในหน่วยการสอนรวม

3. ให้ผู้เรียนได้เรียนตามอัตราการเรียนรู้ของตนเอง

4. ดำเนินการไปตามโปรแกรมหรือลำดับขั้นที่กำหนดไว้

การออกแบบการสอนในยุคที่ 2

ID2 พื้นฐานมาจากกลุ่มพุทธิปัญญานิยม  ตามแนวคิดนี้ การเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียนเกิดจากการจัดระเบียบ ขยายความคิด และจัดหมวดหมู่ของความจำลง  สู่โครงสร้างทางปัญญา โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับกระบวน     การคิด การให้เหตุผลของผู้เรียนซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าภายนอกกับสิ่งเร้า ภายใน คือ ส่งผ่านสื่อไปยังความรู้ความเข้าใจ กระบวนการรู้ การคิดที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้

การออกแบบการสอนในยุคที่ 3

พื้นฐานจาก คอนสตัคติวิสต์ ( Constructivism )ตามแนวคิดนี้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยการสร้างความรู้จะเกิดขึ้นเมื่อ ผู้เรียนได้สร้างสิ่งที่แทนความรู้ความจำในระยะทำงานอย่างตื่นตัวพื้นฐานจาก คอนสตัคติวิสต์ ( Constructivism )ครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทางหรือโมเดลในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเรียนรู้ในยุคนี้จะเน้นการพัฒนากระบวนการคิดอย่างอิสระให้ผู้เรียน สร้างความรู้ได้   ด้วยตนเอง ตลอดจนเรียนรู้จากการปฏิบัติของตนเองโดยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย สามารถคิดแบบองค์รวมได้

พัฒนาการออกแบบการสอน

การใช้วิธีระบบในการฝึกทหารของกองทัพบกอเมริกันช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เชื่อว่า “การเรียนรู้ใด ๆ ไม่ควรเกิดอย่างบังเอิญ แต่ควรเกิดจากการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม มีกระบวนการขั้นตอน และสามารถวัดผลจากการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน”การออกแบบการเรียนการสอนต้อง อาศัยความรู้ศาสตร์     สาขา ต่าง ๆ ได้แก่  จิตวิทยาการศึกษา การสื่อความหมาย  การศึกษาศาสตร์  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วม

หลักการและขั้นตอนการออกแบบการสอน 

แนวคิดของ ADDIE

1. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis)

– กำหนดหัวเรื่องและวัตถุประสงค์ทั่วไป

– วิเคราะห์ผู้เรียน

– วิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

– วิเคราะห์เนื้อหา

แนวคิดของ ADDIE

2. ขั้นการออกแบบ (Design  Phase)

– การออกแบบบทเรียน

– การออกแบบผังงาน (Flowchart)

– การออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)

– การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design)

แนวคิดของ ADDIE

3. ขั้นพัฒนา  (Development)

– การเตรียมการ

– การสร้างบทเรียน

– การสร้างเอกสารประกอบการเรียน

แนวคิดของ ADDIE

4.ขั้นการนำไปทดลอง    ใช้ (Imprementation)การนำบทเรียนไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบ  ความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น ปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปใช้  กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน  และนำไป   ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ

แนวคิดของ ADDIE

5. ขั้นการประเมินผล (Evaluation)การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียน การสอนแบบปกติ โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม และเรียนด้วยการสอนปกติอีก 1กลุ่มหลังจากนั้น จึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผล คะแนนที่ได้ สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียน

แนวคิดของคอนสตัคติวิสต์

1.  การสร้างการเรียนรู้ (Learning

Constructed) ความรู้จะถูกสร้างจากประสบการณ์การเรียนรู้เป็น  กระบวนการสร้างสิ่งแทนความรู้ในสมองที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างขึ้น

แนวคิดของคอนสตัคติวิสต์

2.  การแปลความหมายของแต่ละคน(Interpretationpersonal) การเรียนรู้เป็นการแปลความหมายตามสภาพจริง หรือประสบการณ์ของแต่ละคน

แนวคิดของคอนสตัคติวิสต์

3. การเรียนรู้เกิดจาการลงมือกระทำ (Learning active) การเรียนรู้เป็นการที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำซึ่งเป็นการสร้างความหมายโดย อาศัยพื้นฐานของประสบการณ์

แนวคิดของคอนสตัคติวิสต์

4. การเรียนรู้ที่เกิดจากการร่วมมือ (Learning Collaborative) เกิดจากแนวคิดที่หลากหลายในกลุ่ม และปรับเปลี่ยนสร้างเป็นสิ่งแทนความรู้ในสมอง ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับคนอื่นจากการร่วมแสดงแนวคิดที่หลากหลายที่จะ ทำให้เกิดปัญหาเฉพาะนำไปสู่การเลือกจุดหรือสถานการณ์ที่ทุกคนยอมรับใน ระหว่างกัน”

แนวคิดของคอนสตัคติวิสต์

5. การเรียนรู้ที่เหมาะสม (Learning Situated)  ควรเกิดขึ้นในสภาพชั้นเรียนจริง (Situated or anchored) ” การเรียนรู้ต้องเหมาะสมกับบริบทของสภาพจริง หรือสะท้อนบริบทที่เป็นสภาพจริง”

แนวคิดของคอนสตัคติวิสต์

6.  การทดสอบเชิงการบูรณาการ (Testing Integrated) การทดสอบควรจะเป็นการบูรณาการเข้ากับภารกิจการเรียน (Task) ไม่ควรเป็นกิจกรรมที่แยกออกจากบริบท การเรียนรู้ ” การวัดการเรียนรู้ เป็นวิธีการที่ผู้เรียนใช้โครงสร้างความรู้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้ เกิดการคิดในเนื้อหาการเรียนรู้นั้น ๆ ”

แนวคิดของโรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange’)

1.  เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)

2.  บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)

3.  ทบทวนความรู้เดิม

(ActivatePriorKnoeledge)

4.  นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present NewInformation)

5.  ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)

6.  กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)

7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)

8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)

9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)

เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)

กระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจกับบทเรียนและเนื้อหาที่จะเรียน การเร้าความสนใจผู้เรียนนี้อาจทำได้โดย การจัดสภาพแวดล้อมให้ดึงดูดความสนใจ เช่นการใช้ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และการใช้เสียงประกอบบทเรียน

บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)

การบอกให้ผู้เรียนทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ผู้ เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้โดยการเลือกศึกษาเนื้อหาที่ต้องการ ศึกษาได้เอง ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้ทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนล่วงหน้าทำให้ผู้เรียน สามารถมุ่งความสนใจไปที่เนื้อหาบทเรียนที่เกี่ยวข้อง

 ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knoeledge)

การทบทวนความรู้เดิมช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ได้รวด เร็วยิ่งขึ้น รูปแบบการทบทวนความรู้เดิมในบทเรียนบนเว็บทำได้หลายวิธีเช่น กิจกรรมการถาม-ตอบคำถาม หรือการแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนอภิปรายหรือสรุปเนื้อหาที่ได้เคยเรียนมาแล้ว เป็นต้น

นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)

การนำเสนอบทเรียนสามารถทำได้หลายรูปแบบด้วยกันคือ การนำเสนอด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง หรือแม้กระทั่งวีดิทัศน์ อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ผู้สอนควรให้ความสำคัญก็คือผู้เรียน ผู้สอนควรพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้การนำเสนอบทเรียนเหมาะ สมกับผู้เรียนมากที่สุด

ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)

การชี้แนวทางการเรียนรู้หมายถึงการชี้แนะให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ เรียนใหม่ผสมผสานกับความรู้เก่าที่เคยได้เรียนไปแล้ว เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วและมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)

ให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน นักการศึกษาต่างทราบดีว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นจากการที่ผู้เรียนได้มีโอกาสมี ส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนโดยตรง ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอน จึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน

ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)

การที่ผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนได้โดยตรงอย่างใกล้ชิด เนื่องจากบทบาทของผู้สอนนั้น เปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แต่เพียงผู้เดียว มาเป็นผู้ให้คำแนะนำและช่วยกำกับการเรียนของผู้เรียนรายบุคคล ทำให้ผู้สอนสามารถติดตามก้าวหน้าและสามารถให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียนแต่ละคน ได้ด้วยความสะดวก

ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)

การ ทดสอบความรู้ใหม่หลังจากศึกษาบทเรียน เรียกว่า การทดสอบหลังบทเรียน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง นอกจากนี้จะยังเป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ เพื่อที่จะไปศึกษาในบทเรียนต่อไปหรือต้องกลับไปศึกษาเนื้อหาใหม่

สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)

การ สรุปและนำไปใช้ จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหา เฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษา เนื้อหาผ่านมาแล้ว ในขณะเดียวกัน บทเรียนต้องชี้แนะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือให้ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อแนะแนวทางให้ผู้เรียนได้ศึกษาต่อในบทเรียนถัดไป หรือนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นต่อไป

หลักการและขั้นตอนการออกแบบการสอน

แนวคิดของดิคค์และคาเรย์  (Dick  and Carey model)

1. การกำหนดเป้าหมายของการสอน (Identify Instructional Goals) เป็นการกำหนดความมุ่งหมายการสอน ซึ่งต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษา วิเคราะห์ความจำเป็น (Needs Analysis) และวิเคราะห์ผู้เรียน

2. ดำเนินการวิเคราะห์การเรียนการสอน  (Conduct  Instructional Analysis) เป็นการวิเคราะห์ภารกิจ หรือวิเคราะห์ขั้นตอนการดำเนินการสอน ผลการวิเคราะห์การสอนที่ได้ จะเป็นการจัดหมวดหมู่ของภารกิจ (Task Classification) ตามลักษณะของจุดมุ่งหมายการสอน

3. กำหนดพฤติกรรมก่อนเรียนและลักษณะผู้เรียน (Identify  Entry  Behaviors,  Characteristics) การศึกษาพฤติกรรมเบื้องต้นและคุณลักษณะของผู้เรียน (Identify EntryBehaviors) ว่าเป็นผู้เรียนระดับใด มีพื้นความรู้มากน้อยเพียงใด

4.  เขียนจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม (Write Performance Objective) เป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะหรือจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม   และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการสอน เพื่อช่วยให้มองเห็นแนวทาง  การเรียนการสอน เป็นแนวทางในการวางแผนการจัดสภาพแวดล้อมการเรียน ช่วยให้เห็นแนวทางในการสร้างแบบทดสอบ ช่วยผู้เรียนให้เรียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย

5.  พัฒนาข้อสอบอิงเกณฑ์ (Develop Criterion – Referenced Test Items) เป็นการสร้างแบบทดสอบแบบ อิงเกณฑ์ เพื่อประเมินการเรียนการสอน

6.  พัฒนายุทธวิธีการสอน (DevelopInstructional Strategies) เป็นแผนการสอนหรือเหตุการณ์การสอน ที่ช่วยให้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามจุดมุ่ง หม

7.  พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop and Select Instructional Materials) เป็นการพัฒนาและเลือกสื่อ การเรียนการสอนทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์

8.  ออกแบบและดำเนินการประเมินเพื่อการปรับปรุง (Design and Conduct Formative Evaluation)

9.  การปรับปรุงการสอน   (Revise  Instruction)

10.  การออกแบบและดำเนินการประเมินระบบการสอน  (Design and Conduct Summative E valuation)  เป็นขั้นการแก้ไขและปรับปรุงการสอน ตั้งแต่ขั้นที่ 2 ถึงขั้นที่ 8

แนวคิดของเกอร์ลาชและอีลาย (Ger  lach  and  Ely  Model) 

1.  การกำหนด เป็นการกำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียน ได้รู้อะไร แค่ไหน อย่างไร

2.  การกำหนดเนื้อหา  (Specify  Content) เป็นการกำหนดว่าผู้เรียน  ต้องเรียนอะไรบ้างจึงจะสามารถบรรลุเป้าหมาย ที่ตั้งไว้

3.  การวิเคราะห์ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน (Analyze Learner Background  Knowledge) เป็นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบ ความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน

4.  เลือกวิธีสอน (Select  Teaching  Method) ทำการเลือกวิธีสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย

5.  กำหนดขนาดของกลุ่ม (Determine Group Size) เลือกว่าจะสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่อย่างไร

6.  กำหนดเวลา (Time  Allocation) กำหนดว่าจะใช้ ในการสอนมากน้อยเพียงใด

9. ประเมินผล (Evaluation)  การสอนตรงตามจุดมุ่งหมายหรือไม่

10. วิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการปรับปรุงแก้ไข (Analyze Feedback for Revision) เป็นการวิเคราะห์ว่าถ้าการสอนไม่ได้ผลตามจุดมุ่งหมายจะปรับปรุงแก้ไขตรงไหน อย่างไร

ปัญหาหลักของการออกแบบการสอน

1.  ปัญหาด้านทิศทาง  (Direction)

–  ผู้เรียนไม่ทราบว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร

–  ไม่รู้ว่าจะต้องเรียนอะไร

–  ต้องสนใจจุดไหน

2.   เกิดขึ้นกับทั้งผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะมีปัญหา เช่น จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ วิธีที่ใช้อยู่ใช้ได้ผลดีไหม ถ้าจะปรับปรุงเนื้อหาจะปรับปรุงตรงไหน จะให้คะแนนอย่างยุติธรรมได้อย่างไร ผู้เรียนจะมีปัญหา เช่น ฉันเรียนรู้อะไรบ้าง

จากสิ่งนี้  ข้อสอบยากเกินไป  ข้อสอบกำกวม

3.   ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content  and  Sequence)

ครูอาจสอนเนื้อหาที่ไม่ต่อเนื่องกัน เนื้อหายากเกินไป เนื้อหาไม่ตรงกับจุดมุ่งหมาย  เนื้อหาไม่สัมพันธ์กัน ส่งผลให้ผู้เรียน เกิดความไม่เข้าใจ และสับสนในเนื้อหาที่เรียน ฯลฯ

4.    ปัญหาด้านวิธีการ  (Method)

การ สอนหรือวิธีสอนของครูอาจทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย  ไม่อยากเข้าห้องเรียน มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียน หรือปัญหาการสอนที่ไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้

5.  ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ  (Constraint)

การสอนหรือการฝึกอบรมนั้นต้องใช้แหล่งทรัพยากร 3 ลักษณะ คือ

บุคลากร ครูผู้สอน และสถาบันต่าง ๆ

–  บุคลาการที่ว่านี้อาจจะเป็นวิทยากร  ผู้ช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น

พนักงานพิมพ์  ผู้ควบคุมเครื่องไม้เครื่องมือ  หรืออื่น ๆ

– สถาบันต่าง ๆ หมายถึง  แหล่งที่เป็นความรู้  แหล่งที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุนต่าง ๆ อาจเป็นห้องสมุด  หน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น

ประโยชน์ของการออกแบบการสอน

1.  ชวยให้จัดทำหลักสูตรวิชาชีพทุกสาขาวิชาง่ายขึ้น

2.  ช่วยให้ครูและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

3.  ช่วยให้นักเรียนมีความตั้งใจ สนุกกับเนื้อหา เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น

4.  ช่วยให้จัดทำสื่อการเรียนการสอนได้ถูกต้องเหมาะสมตาม  ความต้องการของผู้เรียน และนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.  ช่วยให้ผู้ที่สนใจเกิดแรงกระตุ้นที่จะพัฒนาและออกแบบการ เรียนการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อวิชาและผู้เรียน

บทที่ 14 ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา และเทคโนโลยีการสอน

การออกแบบ (Design)

คือ  กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้

การออกแบบระบบการสอน (Instructional systems design)

•     ออกแบบสาร (message design)

•     กลยุทธ์การสอน (instructional strategies)

•     ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics)

 การวิเคราะห์ (analysis)

                คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไรจากการเรียน ต้องเรียนในเนื้อหาอะไรบ้าง

การออกแบบ (design)

                คือ กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร ที่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้สูงสุดต่อผู้เรียน

การพัฒนา (development)

คือ กระบวนการสร้าง การผลิตสื่อการสอน

การนำไปใช้ (implementation)

คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน

การประเมิน (evaluation)

คือ กระบวนการในการประเมินการสอน

 ออกแบบสาร   (Message design)

       เป็นการวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน

 กลยุทธ์การสอน (Instructional strategies)

         เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน

 ตัวอย่างโมเดลการสอน 

  แนวคิดของไชน์พิชและคณะ (1993) \

ลักษณะผู้เรียน (Learner characteristics)

      คือ ลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียนการสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน

 การจัดลำดับประสบการณ์ตามกรวยประสบการณ์ของ เอดการ์เดล  

 การพัฒนา (Development)

คือ  กระบวนการเปลี่ยนการออกแบบ

•     เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์   (print technologies)

•     เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies)

•     เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies)

•     เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies)

 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies)

                เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ

ตัวอย่างเทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ 

 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies)

                เป็น วิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

  ตัวอย่างอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ 

 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies)

                เป็น วิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย

 ตัวอย่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 

 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies)

                เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์

  การใช้ (Utilization)

คือ ใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน

การใช้สื่อ

การแพร่กระจายนวัตกรรม

วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ

นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ

 การใช้สื่อ   

                เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน

 การแพร่กระจายนวัตกรรม  

                เป็นกระบวนการสื่อความหมาย รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม

วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ  

                เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ

             นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ 

                เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา

 การจัดการ (Management)

คือ ควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน จัดการ การประสานงาน และให้คำแนะนำ

การจัดการโครงการ

การจัดการแหล่งทรัพยากร

การจัดการระบบส่งถ่าย

การจัดการสารสนเทศ

การจัดการโครงการ  

                เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการ

  การจัดการแหล่งทรัพยากร

                เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ

 การจัดการระบบส่งถ่าย  

                เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน

 การจัดการสารสนเทศ  

                เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน

  การประเมิน (Evaluation)

หาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการ

เรียนการสอน

การวิเคราะห์ปัญหา

เกณฑ์การประเมิน

การประเมินความก้าวหน้า

การประเมินผลสรุป

 การวิเคราะห์ปัญหา  

                เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ

 เกณฑ์การประเมิน

                เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา           

 การประเมินความก้าวหน้า  

                มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป

การประเมินผลสรุป  

                มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป

 ขอบข่ายของเทคโนโลยีที่กล่าวมา

เป็นขอบข่ายที่นิยมใช้กันอย่างแพร่

หลายเท่านั้น…

 ขอบข่ายของเทคโนโลยีที่กล่าวมา

เป็นขอบข่ายที่นิยมใช้กันอย่างแพร่

หลายเท่านั้น…

คำตอบ…  แตกต่างกัน 

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

มีความสัมพันธ์กับมาตรฐานการศึกษาของแต่ละประเทศ จึงส่งผลให้ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาแตกต่างกันด้วย

โดยเกณฑ์ในการศึกษาปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 4 ทวีป ใน 10 ประเทศดังนี้

  • ทวีปอเมริกา 
  • ทวีปออสเตรเลีย
  • ทวีปเอเชีย
  • ทวีปยุโรป

ทวีปอเมริกา

1. ประเทศสหรัฐอเมริกา

2. ประเทศแคนาดา

 ทวีปออสเตรเลีย

ประเทศออสเตรเลีย

 ทวีปยุโรป

1. ประเทศฝรั่งเศส

2. ประเทศสหราชอาณาจักร

3. ประเทศฟินแลนด์

ทวีปเอเชีย

1. ประเทศญี่ปุ่น

2. ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

3. ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์

4. ประเทศไทย

ทวีป อเมริกา : ประเทศสหรัฐอเมริกา

สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของ

สหรัฐอเมริกา (ACET) กำหนดตามการศึกษาแนวคิดของ

Seels and Richey ว่าเทคโนโลยีการศึกษาเป็นการผสาน

ระหว่างการนำทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ

 ทวีป อเมริกา : ประเทศสหรัฐอเมริกา

             ได้จัดแบ่งขอบข่ายของของเทคโนโลยีการศึกษา

ออกเป็น 5  กลุ่ม คือ

  การออกแบบ (Design)

  การพัฒนา (Development)

  การใช้ (Utilization)

  การจัดการ (Management)

  การประเมิน (Evaluation)

ทวีป อเมริกา : ประเทศแคนาดา

ระบบการศึกษาของแคนาดาประกอบด้วยสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ภายใต้รัฐธรรมนูญของแคนาดา การศึกษาถือว่าเป็น

ความรับผิดชอบของมณฑล ทำให้ระบบการศึกษาของแต่ละมณฑลจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

 การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในประเทศ  จึงแบ่งออกเป็น

3 กลุ่ม  คือ

Ø ทฤษฎีระบบ   เป็นการใช้วิธีการต่างๆ ทางทฤษฎีระบบและการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ในวิธีการของเทคโนโลยีการศึกษา  โดยอาศัยหลักทางวิธี

ระบบ

Ø วิธีการและเทคนิค  ใช้เทคนิคต่างๆ ในการออกแบบหรือวางแผนการตัดสินใจ

Ø การจัดการ  ใช้ในการจัดการ POSDCoRB ซึ่งเป็นหลักการบริหารทั่วไป

ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์

กันในการจัดการศึกษาและการเรียน การสอน 3 ประการ

คือ  การจัดการทางการศึกษา , การพัฒนาการศึกษา

และการใช้เทคโนโลยี

 ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาของประเทศแคนาดา

การจัดการศึกษา

การใช้เทคโนโลยี

การพัฒนาการศึกษา

ทวีปออสเตรเลีย      : ประเทศออสเตรเลียเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศออสเตรเลีย ได้รับอิทธิพลจากสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ได้มีการศึกษาทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ โดยครอบคลุม

ถึงการออกแบบการพัฒนา  กลยุทธ์เทคนิค วิธีการเรียนการสอน วิธีการจัดระบบ  การจัดการทรัพยากรแหล่งเรียนรู้  การประเมินและการวิจัย

ทวีปยุโรป : ประเทศฝรั่งเศส

ในปัจจุบันทางประเทศฝรั่งเศสได้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อประชาชนทุกคนมากยิ่งขึ้นโดยนำระบบการสื่อสารโทรคมนาคมมาพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา         และการศึกษาแบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดังนั้นฝรั่งเศสจึงได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีพัฒนาการทางด้านระบบสื่อ สารโทรคมนาคมที่ทันสมัย

 ทวีปยุโรป : ประเทศฟินแลนด์

เทคโนโลยีการศึกษาในฟินแลนด์ครอบคลุมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และการศึกษา โดยอิงกับทฤษฎีการเรียนรู้

ทวีปเอเชีย : ประเทศญี่ปุ่น

จากการค้นคว้าข้อมูลพบว่ามีการจัดตั้งองค์กรด้านเทคโนโลยีการศึกษาของประเทศญี่ปุ่นคือ Japan Society for Educational Technology (JSET)

และรัฐบาลให้การสนับสนุนในลักษณะภาพรวมของประเทศ ในการจัดรูปแบบองค์กร ของกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology : MEXT)

ซึ่งประกอบด้วยการประสานงานของ 3 หน่วยงานหลัก คือ

1) การศึกษา   2) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   3) วัฒนธรรม กีฬา

 ทวีปเอเชีย: ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างขวางและมีประชากรจำนวนมาก ดังนั้น จีนจึงได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับระบบการศึกษาทางไกล และพัฒนาระบบ

เครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยการสื่อสารผ่านดาวเทียมและรอดแบนด์ รวมเครือข่ายเพื่อการศึกษาและการวิจัย (CERNET) ด้วยการผสมผสานกับดาวเทียมเพื่อการศึกษา

ของจีน (CEBNET)

ทวีปเอเชีย : ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์

สิงคโปร์มีแนวทางในการจัดการศึกษาเป็นของตนเองและมุ่งพัฒนาผู้เรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะเป็นผู้ใฝ่รู้

เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต “เน้นพัฒนาศักยภาพของบุคคลให้สูงสุดโดยอาศัยการศึกษาเป็นสำคัญ”

ทวีปเอเชีย : ประเทศไทย

ส่วนขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ตามแนวคิดของนักคิดไทย ชัยยงค์  พรหมวงศ์ โดยประมวลออกเป็น 3 ขอบข่ายคือ ขอบข่ายด้านสาระ

ของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา  ขอบข่ายด้านภารกิจ  และขอบข่ายตามรูปแบบการจัดการศึกษา

             ขอบข่ายด้านสาระของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หรือขอบข่ายตามแนวตั้ง  ครอบคลุมด้านการจัดการ  การพัฒนาและการออกแบบระบบทางการศึกษา  พฤติกรรมการเรียนการสอน  วิธีการสอน  สื่อสารการศึกษาสภาพ

แวดล้อมทางการศึกษา  การจัดการด้านการเรียน การสอน และการประเมินการศึกษา 

               ขอบข่ายตามรูปแบบการจัดการศึกษา  หรือขอบข่ายตามแนวลึก  มีการนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัด การศึกษา 4 ด้าน

คือ 1) การศึกษาในระบบโรงเรียน จำแนกตามระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา  มัธยมศึกษา  และอุดมศึกษา 

   2) การศึกษานอกระบบโรงเรียน 

   3) การฝึกอบรม 

   4) การศึกษาทางไกล

สรุป

  ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ จากโสตทัศนศึกษา เป็นเทคโนโลยีการศึกษา  ซึ่งนำกระบวนการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเข้ามาใช้  มีการบูรณา

การ ความรู้และศาสตร์ต่างๆ เช่น จิตวิทยา สังคมวิทยา และการศึกษา  หลักสูตรและการสอน  สื่อและการสื่อสาร  ทฤษฎีระบบ  ทฤษฎีองค์การและการจัดการ  การประเมิน ซึ่งนับได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษามีขอบเขตที่กว้างขวาง และเป็นสหวิทยาการ   

     ดังนั้น  เทคโนโลยีการศึกษาจึงนับว่าเป็นศาสตร์แห่งการพัฒนา และแก้ปัญหาอย่างมีระบบ  เพื่อให้การศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


 

อัญชลี โอ่งเจริญ

ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ  สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว

  • สิ่งที่เราให้คนอื่น แท้จริงแล้วคือของที่เราฝากให้แก่ตนเองในวันข้างหน้า เช่น วันนี้เราด่าเขา วันข้างหน้าเราจะถูกเขาด่า วันนี้เราโกงเขา วันข้างหน้าเราจะถูกเขาโกง วันนี้เราเนรคุณเขา วันข้างหน้าเราจะถูกเขาเนรคุณ
  • ความดีที่ทำไว้ในหมู่คนพาลถึงมากมายมหาศาลก็สูญเปล่า การทำสิ่งดีๆใก้แก่คนที่ไม่เห็นคุณค่าก็ไม่ต่างอะไรกับการเทน้ำลงกองทราย ถึงเทอย่างไรก็ซึมหายหมด ดังนั้นจะทำดีกับใครควรใช้ปัญญาคิดให้รอบคอบ
  • คนใกล้ชิด เป็นศัตรู แม้กำแพง 7 ชั้น ก็ป้องกันไม่ได้ ศัตรูที่มาจากภายนอกต่อให้ยกมาถึง 9 ทัพ เราก็มองเห็นและเตรียมตัวทัน แต่ศัตรูที่มาจากคนในด้วยกันคือศัตรูที่อันตรายที่สุดเพราะเรามักมองไม่เห็น และไหวตัวไม่ทัน
  • เวลาเรือเอียงเรามักจะมองเห็นและแก้ไขได้ทันท่วงที แต่ความลำเอียงในใจคนมักถูกปกปิดอย่างมิดชิดและแสดงออกอย่างแยบยล กว่าจะรู้ว่าคนที่เรารักมากด้วยความลำเอียงบางครั้งมันก็สายเกินไป
  • ไม่มีแรงใดเสมอด้วยแรงกรรม แรงฟ้ามนุษย์แก้ได้ด้วยสายล่อฟ้า แรงน้ำมนุษย์แก้ด้วยการเปลี่ยนเส้นทางหรือสร้างกำแพงกั้นน้ำ แรงพายุมนุษย์แก้ได้ด้วยการปลูกป่า แต่แรงกรรมมีแต่ต้องก้มหน้ารับโดยส่วนเดียว
  • การมีความ สุขที่ก่อ ความทุกข์ให้คนอื่นั้นไม่ใช่ความสุขที่แท้ มันเป็นได้แค่ความสุขจากการเกาขอบแผลที่กำลังคัน ยิ่งเกาดูเหมือนยิ่งสุข แต่แท้ที่จริงมันคือความทุกข์ที่แฝงมาอย่างแนบเนียน
  • ดูข่าวการเมืองยิ่งดูยิ่งวุ่นวายยิ่งดูยิ่งฟุ้งซ่าน แต่หากกลับมาดูใจของตนอย่างมีสติ รู้เท่าทันทุกเรื่องที่คิด ทุกจิตที่ทำ ทุกคำที่พูด ทุกครั้งที่เคลื่อนไหว ความทุกข์มากมายจะดับลง ดูจิตวันละนิดจิตแจ่มใส
  • ทำบาตรแตก ถ้วยแตก ชามแตก แก้วแตก ยังดีกว่าทำให้คนแตกกันเนื่องเพราะวัตถุที่แตกแล้วสามารถประสานให้ดีดังเดิม ได้อย่างง่ายดาย แต่ถ้าคนแตกสามัคคีกันเป็นฝักฝ่ายแล้ว    บางทีทั้งชีวิตก็ไม่สามารถสนิทสนมกันได้อีก   ( ว.วชิรเมธี : ผู้หญิง )