การเรียนการสอนผ่านเว็บ

(Web  –  Based   Instruction  : WBI) 


ความหมาย 

                คลาร์ก (Clark, 1996) ได้ให้คำจำกัดความของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็นการเรียนการสอนรายบุคคลที่นำเสนอโดยการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะ หรือส่วนบุคคล และแสดงผลในรูปของการใช้เว็บบราวเซอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ติดตั้งไว้ได้ โดยผ่านเครือข่าย

แฮนนัม (Hannum, 19100) กล่าวถึงการเรียนการสอนผ่านเว็บว่าเป็นการจัดสภาพการเรียน การสอนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต บนพื้นฐานของหลักและวิธีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีระบบ

พาร์สัน (Parson, 1997) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็นการสอนที่นำเอาสิ่งที่ต้องการส่งให้บางส่วนหรือทั้งหมดโดยอาศัยเว็บ

พาร์สัน (Parson, 1997) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็นการสอนที่นำเอาสิ่งที่ต้องการส่งให้บางส่วนหรือทั้งหมดโดยอาศัยเว็บ

คาร์ลสันและคณะ (Carlson et al., 19100) กล่าวว่าการเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีในยุค ปัจจุบันกับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเพื่ออำนวยความสะดวกขจัดปัญหา เรื่องสถานที่และเวลา

ใจทิพย์ ณ สงขลา (2542) เรียนการสอนผ่านเว็บว่าหมายถึง การผนวก คุณสมบัติไฮเปอร์มีเดียเข้ากับคุณสมบัติของเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยระยะทางและ เวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน (Learning without Boundary)

วิชุดา รัตนเพียร (2542) กล่าวว่าการเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการนำเสนอโปรแกรมบทเรียนบนเว็บเพจโดยนำ เสนอผ่านบริการเวิลด์ไวด์เว็บในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  ประเภทของการเรียนการสอนผ่านเว็บ 

  1. รูปแบบการเผยแพร่
  2. รูปแบบการสื่อสาร
  3. รูปแบบผสม
  4. รูปแบบห้องเรียนเสมือน

1.  รูปแบบการเผยแพร่ แบ่งได้ออกเป็น 3 ชนิด คือ

  1. 1.        รูปแบบห้องสมุด
  2. 2.        รูปแบบหนังสือเรียน
  3. 3.        รูปแบบการสอนที่มีปฎิสัมพันธ์

2.  รูปแบบการสื่อสาร (Communication Model)

การเรียนการสอนผ่านเว็บรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่อาศัยคอมพิวเตอร์มาเป็นสื่อ เพื่อการสื่อสาร ผู้เรียนสามารถที่จะสื่อสารกับผู้เรียนคนอื่นๆ ผู้สอนหรือกับผู้เชี่ยวชาญได้ โดยรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายในอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้แก่ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์

3.   รูปแบบผสม (Hybrid Model)

รูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บรูปแบบนี้เป็นการนำเอารูปแบบ 2 ชนิด คือ รูปแบบการเผยแพร่กับรูปแบบการสื่อสารมารวมเข้าไว้ด้วยกัน เช่น เว็บไซต์ที่รวมเอารูปแบบห้องสมุดกับรูปแบบหนังสือเรียนไว้ด้วยกัน

4.   รูปแบบห้องเรียนเสมือน (Virtual classroom model)

เทอรอฟฟ์ (Turoff, 1995) ว่าเป็นสภาพแวดล้อมการเรียน การสอนที่ตั้งขึ้นภายใต้ระบบการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ในลักษณะของการเรียน แบบร่วมมือ นักเรียนและผู้สอนจะได้รับความรู้ใหม่ๆ

สภาพการเรียนการสอนผ่านเว็บ

การเรียนการสอนผ่านเว็บมีลักษณะการจัดสภาพการเรียนการสอนที่แตกต่างจากการ เรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ  ผู้เรียนจะเรียนผ่านจอคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกับเครือข่าย  โดยผู้เรียนแต่ละคนที่เป็นสมาชิกเครือข่าย   อินเทอร์เน็ต

สภาพการเรียนการสอนผ่านเว็บ มีขั้นตอนดังนี้

1.  ผู้เรียนที่เป็นสมาชิกอินเทอร์เนตเข้าสู่ระบบด้วยการบันทึกเข้า Login

2.  พิมพ์ที่อยู่ของเว็บเพจที่ต้องการเข้าไปศึกษา

3.  เมื่อเข้าสู่เว็บเพจที่ต้องการแล้ว ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์

4.  ในบางช่วงบางตอนของบทเรียน ผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้มีปฏิกิริยาสนองต่อเนื้อหาของบทเรียน

5.  ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหาเท่าที่กำหนดในเว็บเพจหนึ่งๆ หรืออาจเข้าสู่เว็บเพจอื่นๆ

องค์ประกอบของการสื่อสารของการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย WBI

1.  E-mail

2.  Web board

3.  Chat

4.  ICQ

5.  Conference

6.  อื่นๆ

เว็บไซต์สำหรับรายวิชามีองค์ประกอบที่เป็นเว็บเพ็จ

  1. โฮมเพจ (Home Page)
  2. เว็บเพจแนะนำ (Introduction)
  3. เว็บเพจแสดงภาพรวมของ รายวิชา (Course Overview)
  4. เว็บเพจแสดงสิ่งจำเป็นในการเรียนรายวิชา
  5. เว็บเพจแสดงข้อมูลสำคัญ
  6. เว็บเพจแสดงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง
  7. เว็บเพจกิจกรรมที่มอบหมายให้ทำการบ้าน (Assignment)
  8. เว็บเพจแสดงกำหนดการเรียน (Course Schedule)
  9. เว็บเพจทรัพยากรสนับสนุนการเรียน (Resources)
  10. เว็บเพจแสดงตัวอย่างแบบทดสอบ (Sample Tests)
  11. เว็บเพจแสดงประวัติ (Biography)
  12. เว็บเพจแบบประเมิน (Evaluation)
  13. เว็บเพจแสดงคำศัพท์ (Glossary)
  14. เว็บเพ็จการอภิปราย (Discussion)
  15. เว็บเพจประกาศข่าว
  16. (Bulletin Board)
  17. เว็บเพจคำถามคำตอบที่พบบ่อย (FAQ Pages)
  18. เว็บเพจแสดงคำแนะนำในการเรียนรายวิชา

 องค์ประกอบของการสอนบนเว็บ 

1.  ข้อความหลายมิติ

2.  สื่อหลายมิติ

3.  การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

4.  การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์

 หลักการออกแบบบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

1.  ให้แรงจูงใจแก่ผู้เรียน

2.  การบอกให้ผู้เรียนทราบว่าเขาจะได้เรียนรู้อะไรบ้าง

3.  การเชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่

4.  การนำเสนอเนื้อหาใหม่

5.  สร้างความกระตือรือร้นของผู้เรียน

6.  การให้ข้อเสนอแนะ และข้อมูลย้อนกลับ

7.  การทดสอบ (Testing)

8.  ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม หรือการซ่อมเสริม

ขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ

1. ตัดสินใจลักษณะในการสอนบนเว็บ

2. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหลักสูตรที่จัดการสอนบนเว็บ

3. ศึกษาคุณลักษณะของผู้เรียน

4. ออกแบบโครงสร้างของเว็บ โดยการกำหนดโครงสร้างของเว็บคร่าวๆ ก่อนที่จะกำหนดรายละเอียด

5.หาความรู้และทักษะการใช้โปรแกรมต่าง ๆ ที่จำเป็น

6.เตรียมเนื้อหาในรูปการสอนบนเว็บ ซึ่งครอบคลุมเพจ ต่าง ๆ

7.การออกแบบและพัฒนากิจกรรมการสอน ที่เหมาะสมกับการสอนบนเว็บ

8.ออกแบบการประเมินผลการเรียนของผู้เรียน

9. เตรียมความพร้อมในด้านปัญหาเทคนิค

10. เตรียมความพร้อมในด้านการเข้าถึงเครือข่ายสำหรับผู้เรียน

11. ทดลองใช้งาน เพื่อหาข้อผิดพลาด และปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้จริง

12. หลังจากที่ได้จัดการสอนบนเว็บจริงแล้ว ควรประเมินผลการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อไป


ลักษณะของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (WBI)

การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีลักษณะการจัดการเรียน ที่ผู้เรียนจะเรียนผ่านจอคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสามารถเข้าสู่ระบบเครือข่ายเพื่อการศึกษาเนื้อหาบทเรียนจากที่ใดก็ได

 ลักษณะของกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  

1.  การนำเสนอ (Presentation)

2.  การสื่อสาร(Communication)

3.  การก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์(Dynamic Interaction)


ลักษณะของกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 

1.   การนำเสนอ(Presentation)

       1.1การนำเสนอแบบสื่อทางเดียว เช่น เป็นข้อความ

       1.2 นำเสนอแบบสื่อคู่

เช่น ข้อความภาพกราฟฟิก บางครั้งจะอยู่ในรูปแบบPDF ผู้เรียนสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้

       1.3  การนำเสนอแบบมัลติมีเดีย

คือ ประกอบด้วยข้อความ ภาพกราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียงและภาพยนตร์ หรือวีดีโอ (แต่ความเร็วจะไม่เร็วเท่ากับวีดีโอเทป)

 2. การสื่อสาร (Communication)

      2.1  การสื่อสารทางเดียว โดยดูจากเว็บเพจ

2.2  การสื่อสารสองทาง    เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โต้ตอบกัน

 3. การก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ (Dynamic Interaction)

      3.1  การสืบค้น

      3.2  การหาวิธีการเข้าสู่เว็บ

     3.3  การตอบสนองของมนุษย์ในการใช้เว็บ

 การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ 

1.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลา

2.  ควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างผู้เรียน

3.  ควรสนับสนุนให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

4.  การให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียน

5.  ควรสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่ไม่มีขีดจำกัด

ประโยชน์การเรียนการสอนผ่านเว็บ

1.  เว็บเปิดโอกาสให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนกับผู้เรียน

2.  เว็บสามารถนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบของสื่อประสม  

3.  เว็บเป็นระบบเปิดให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วโลก

4.  เว็บอุดมไปด้วยทรัพยากร เพื่อการสืบค้นออนไลน์

5.  เว็บไม่มีข้อจำกัดทางสถานที่และเวลาของการสอนบนเว็บ

6.  เว็บอนุญาตให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการเรียนตามความถนัดของตนเอง

7.  เว็บอนุญาติให้ติดต่อสื่อสารทั้งแบบเวลาเดียวและต่างเวลา เช่น Web Board

 

ข้อดีของบทเรียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

1.  สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา

2.  ไม่จำกัดเพศและวัยของผู้เรียน

3.  ผู้สอนสามารถออกแบบบทเรียนควบคุมผู้เรียนได้

4.  สามารถใช้รูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย (Multimedia)

5.  สะดวกต่อการปรับเปลี่ยนสารสนเทศให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

6.  ทรัพยากรสารสนเทศใน WWW มีจำนวนมาก

7.  เพิ่มทักษะในการใช้เทคโนโลยีให้กับผู้เรียน

 

ข้อจำกัดของบทเรียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

  1. 1.        ในการศึกษาทางไกล ผู้สอนและผู้เรียนอาจไม่ได้พบหน้ากัน
  2. 2.        ผู้สอนจำเป็นต้องใช้เวลามากในการเตรียมการส อ น
  3. 3.        การถามและตอบปัญหาบางครั้งไม่เกิดขึ้นทันที
  4. 4.        ผู้สอนไม่สามารถควบคุมการเรียนได้เหมือนชั้นเรียนปกติ
  5. 5.        ผู้เรียนต้องรู้จักควบคุมตนเองในการเรียน