เทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดจากการรวมตัวของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม แขนงต่างเข้าด้วยกัน ได้แก่

 1.  เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะ

2.  เทคโนโลยีในระบบดิจิตอล

                  

3. เทคโนโลยีเครือข่ายโดยเฉพาะเครือข่าย Integratedservices digital network : ISDN ที่วางมาตรฐานสำหรับการรวมเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายข้อมูลที่เคยแยกกัน บริการเสียงและข้อมูลจะถูกรวม (Integrated) บนเครือข่าย ISDN    

                                

4.  เทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูล (Telecommunications Transmission Technology)

เป็นเทคโนโลยีที่รองรับกระบวนการส่งผ่านข้อมูลด้วยปริมาณและความเร็วอาทิเทคโนโลยีไมโครเวฟ

5. เทคโนโลยีดาวเทียม และเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้วล้วนแต่ ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งในสายเคเบิลเส้นหนึ่งประกอบไปด้วยเส้นใยแก้วมากมาย

ทางการศึกษา

1.   วัสดุอุปกรณ์  (Hardware) เช่น ชอล์ค ดินสอ กระดาษ ฟิล์ม ภาพยนตร์ วิดิทัศน์ สไลด์ เครื่องฉายข้ามศรีษะ คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง

2.   นวัตกรรมที่เป็นเครื่องมือ  เช่น ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง

3.  นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นวิธีการ   เช่น การสอนแบบต่างๆ  แบบเรียนสำเร็จรูป  RIT

 

ความหมายของเทคโนโลยี

“เทคโนโลยี” หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการและแนวความคิดใหม่ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อให้การ ดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การขยายตัวทางวิทยาการทำให้เกิดเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้งานในสาขาต่างๆ อย่าง หลากหลาย อาทิ เช่น

1.  เทคโนโลยีทางการทหาร(MilitaryTechnology)
2.  เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) คือ ไม่เพียงจำกัดแค่การให้บริการในวงการแพทย์ สาธารณสุข และโรงพยาบาลอีกต่อไป แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญทำให้ประชาชนและผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์สาธารณสุข รวมทั้งใช้บริการสาธารณสุขจากที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทาง

3.  เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology) คือ วิธีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผัก ด้วยวิธีใหม่ โดยไม่ใช้สารเคมี

4.  เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology) คือ วิธีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผัก ด้วยวิธีใหม่ โดยไม่ใช้สารเคมี

                  

5. เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่งประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร ช่องทางการส่งข้อมูลซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ  และหน่วยรับข้อมูลหรือผู้รับสาร

6.  เทคโนโลยีทางการค้า(CommercialTechnology)
7.  เทคโนโลยีทางวิศวกรรม(EngineeringTechnology)
8.  เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม (Social Marketing Technology)

9.  เทคโนโลยีทางการศึกษา(EducationalTechnology)
10.  เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

 ความเจริญในด้านต่างๆ เป็นผลมาจากการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และประยุกต์มาใช้ในการพัฒนางานทางด้านต่างๆ ที่เรียกว่า “เทคโนโลยี” (Technology)

ความหมายของนวัตกรรม 

 นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การนำความคิดใหม่ๆ วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ หรืออาจจะได้รับการปรับปรุงจากสิ่งดั้งเดิมให้ดีขึ้น เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการทดลอง พิสูจน์และพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบ จนเชื่อถือได้ว่าให้ผลที่ดีกว่าเดิม นำมาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติทางการศึกษา เป็นผลทำให้ประสิทธิภาพทางการศึกษาสูงขึ้น

 นวัตกรรม 3 ระยะ 

ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation)

ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development)

ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป

 นักการศึกษาให้คำนิยามของคำว่า นวัตกรรม ดังนี้ 

1. กรมวิชาการ (2521 : 15) ให้ความหมายว่า นวัตกรรมคือ การนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมวิธีการที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ผลดียิ่งขึ้น

2. (UNESCO) ให้ความหมายไว้ว่า เป็นความพยายามที่จะ เปลี่ยนแปลงภายในระบบการศึกษา อันกระทำไปด้วยความตั้งใจ และมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงระบบการศึกษา

 3. ท่อม ฮิวช์ (Thomas Hughes, 1971) ได้ให้ความหมาย ” นวัตกรรม ” ว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มา ปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจมีการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา

4. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2521 : 3-4) ได้ให้ความหมายไว้ว่า หลักการวิธีปฏิบัติ และแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่ถือว่า    เป็นนวัตกรรมของประเทศหนึ่ง อาจจะเป็นนวัตกรรมของประเทศอื่นก็ได้ และสิ่งที่ถือว่าเป็นวัตกรรมแล้วในอดีตหากมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย แล้วก็ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม แต่สิ่งที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีตหากมีการนำ มาปรับปรุงใช้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ สิ่งนั้นถือได้ว่าเป็นนวัตกรรม

5.  ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526) ได้ให้ความหมาย ” นวัตกรรม ” ไว้ว่า หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆขึ้นมา หรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม ทั้งนี้สิ่งนั้น ๆ ได้รับการพัฒนาทดลองจนเชื่อถือได้ว่า ให้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้เกิดประสิทธิภาพตามเป้าหมาย

ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม

1.   เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่สิ่งที่เคยมีนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
2.   ความคิดหรือการกระทำนั้น มีการพิสูจน์ด้วยการทดลอง วิจัย ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3.   มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4.   ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบงานในปัจจุบัน

ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา  

นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง

โดยสรุป “นวัตกรรมการศึกษา”(Educational Innovation) คือ การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น ทั้งในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม ให้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้นำมาใช้บังเกิดผลเพิ่มพูนประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา 

นวัตกรรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นนวัตกรรมที่มีขอบเขต เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกด้าน ตั้งแต่หลักสูตร การเรียนการสอน สื่อและเทคโนโลยี ทางการศึกษา การวัดและประเมินผล และการบริหาร ทัศนา แขมมณี (2526 : 13) และวาทิต ระถี (2531) ได้แบ่งประเภทนวัตกรรมการศึกษาออกเป็น 5 ด้าน คือ

1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
3. นวัตกรรมสื่อการสอน
4. นวัตกรรมการประเมินผล
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม

1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
– การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
– แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
– เครื่องสอน (Teaching Machine)
– การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
– การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
– เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
– ศูนย์การเรียน (Learning Center)
– การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
– การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น
– การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
– มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
– แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
– การเรียนทางไปรษณีย์

4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
– มหาวิทยาลัยเปิด
– การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
– การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
– ชุดการเรียน

พัฒนาการเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย

เทคโนโลยีการศึกษาของไทยมีการพัฒนาการมา 3 ยุค คือ

1. ยุคแรกสมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงธนบุรี ยุคนี้เป็นยุคเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษาของไทย ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรง ประดิษฐ์อักษรไทย เพราะตัวอักษรเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเผยแพร่วิทยาการต่างๆ ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

2. เทคโนโลยีการศึกษายุคปรับเปลี่ยน ในยุคนี้นับตั้งแต่สมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา ได้เข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทยมากขึ้น แทนอังกฤษและฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกาได้นำเทคโนโลยีการศึกษาสมัยใหม่หลายอย่างมาเผยแพร่ในประเทศไทย เริ่มต้นด้วยภาพยนตร์โสตทัศนศึกษาในยุคนี้พัฒนาอย่างมีระบบแบบแผน อีกทั้งได้มีการเปิดสอนในระดับอุดมศึกษา ทั้งขั้นปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ทำให้ก้าวหน้ากว่าทุกยุคที่ผ่านมาโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในการจัดการศึกษาของไทย

3. ยุคสารสนเทศ  เทคโนโลยีการศึกษาในยุคสารสนเทศ เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารคือเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา อิทธิพลของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการสื่อสารและสังคมทำให้บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย เทคโนโลยีการศึกษาในยุคนี้จึงแบ่งได้เป็น รูปแบบคือ

1) เทคโนโลยีด้านสื่อ

2) เทคโนโลยีการสื่อสาร

3) เทคโนโลยีด้านระบบ

4) เทคโนโลยีการสอน

พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา 

ชาวกรีกโบราณ: ละคร ดนตรี รูปปั้น

กลุ่มโซฟิสต์ (Sophist) : กลุ่มครูผู้สอนชาวกรีก

โจฮันน์  อามอส คอมินิอุส  บิดาแห่งโสตทัศนศึกษา

พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ในส่วนประกอบหลักที่สำคัญ ได้แก่ ด้านการออกแบบการสอน  ด้านสื่อการสอนและด้านคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)

            เทคโน  (วิธีการ) + โลยี (วิทยา)

                เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีทางการศึกษา หรือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระบบเพื่อใช้ปฏิบัติในการแก้ปัญหาการศึกษาและการเรียนการสอน

หน้าที่หลัก : การพัฒนาประสิทธิผลของกระบวนการของการเรียนรู้

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526) ได้ให้นิยามไว้ว่า “เทคโนโลยีการศึกษา” เป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรม        ทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ วัสดุและผลิตกรรม  ทางวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ อุปกรณ์โดยยึดหลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ ได้แก่ วิธีการ มาช่วยใน                                การเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา

เมาส์ ดี ฟินส์ (Jemes D.Finn, 1972) กล่าวว่า เทคโนโลยีมีความหมายลึกซึ้งไปกว่าประดิษฐ์กรรม เครื่องมือเครื่องยนต์กลไกต่างๆ แต่หมายถึง กระบวนการ แนวความคิด แนวทาง หรือวิธีการในการคิด ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา : ด้านการออกแบบการสอน

1. ธอร์นไดค์ (Edward L.Thornlike) : วิทยาศาสตร์

2. Ralph W. Tyler : กำหนดวัตถุประสงค์การสอนได้อย่างชัดเจน

3. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการวิจัยด้านการศึกษาอย่างมาก

4. เบนจามิน บลูม : การจำแนกจุดประสงค์การศึกษา

5. โรเบิร์ต กาเย่ : แนวคิดทาง พุทธิปัญญา(Cognitive Theories)

ในปัจจุบันมีการยอมรับแนวคิดของกลุ่มพุทธิปัญญานิยม(Cognitivism) และรังสรรคนิยม (Constructivism)

พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา : ด้านสื่อการสอน

1. ปี 1905  พิพิธภัณฑ์ทางการศึกษาSt. Louis

2. ก่อนศตวรรษที่ 20    การสอนโดยการใช้ภาพ (Visual instruction)

3. ต้นศตวรรษที่ 20 ฟิล์ม (Film) ทางวิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์

4. ช่วงระหว่าง 1920-1930 สื่อทางด้าน เสียง (Audio) ใช้วิทยุ

5. ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟิล์มภาพยนตร์ทางการศึกษา

6. ในปี 1950 เป็นช่วงยุคการใช้โทรทัศน์

ศาสตร์ทางด้านสื่อได้เติบโตพร้อมทั้งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการออกแบบการสอน (Instructional design) และการสื่อสาร (Communication)

พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา : ด้านคอมพิวเตอร์เพื่อการสอน

1. โครงการคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction) แบบฝึกปฏิบัติ และแบบการสอน

2. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน PLATO Personal Computer ในโรงเรียน  

คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่บูรณาการเข้าไปกับกระบวนการสอน

 

Educational Technology & Instructional Technology

Instructional Technology  เหมาะสมในการอธิบายส่วนประกอบของเทคโนโลยีได้ครอบคลุมชัดเจนมากกว่าEducational Technology  ใช้กับระบบการศึกษา

 

Instructional  Technology

1. ครอบคลุมถึงการปฏิบัติ

2. เป็นทั้งการสอนและการเรียนรู้

3. แพร่หลายในอเมริกา

4. อธิบายองค์ประกอบได้อย่างชัดเจน

ผู้นิยามพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา

ฟรานซิส เบคอน (ค.ศ.1561-1626) เป็นผู้สนับสนุนวิธีใหม่ ๆ แบบ Realism คือหันมายึดวัตถุและความคิด โดยเสนอแนะว่า การเรียนการสอนนั้นควรให้ผู้เรียนได้รู้จักสังเกต พิจารณาเหตุผลในชีวิตจริง โดยครูเป็นผู้นำให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งจะต้องอาศัยการสังเกตพิจารณานั่นเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้บอกเสียทุกอย่าง

โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius ค.ศ.1592-1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสออย่างจริงจัง จนได้รับเกียรติว่าเป็น บิดาแห่งโสตทัศนศึกษา คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ  หนังสือ ObisSensualium Pictus หรือ”โลกในรูปภาพ” ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1685 เป็นหนังสือที่ใช้รูปภาพประกอบบทเรียน ถึง 150 ภาพ ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุประกอบการเรียนเป็นครั้งแรก

         

       ธอร์นไดค์ (thorndike) เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันที่ใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรมจึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่

           

     บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F.Skinner)เป็นผู้ใช้แนวความคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้า และผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้น ๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอนได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก

ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา 

ขอบข่าย และองค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อเทคโนโลยีทางการศึกษาในการศึกษาในยุคปัจจุบัน 

1. การออกแบบ (design) คือ กำหนดสภาพการเรียนรู้

การออกแบบระบบการสอน (instructional systems design)

ออกแบบสาร (message design)

กลยุทธ์การสอน (instructional strategies)

ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics)

2. การพัฒนา (development) กระบวนการเปลี่ยนการออกแบบ

เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies)

เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies)

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies)

เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies)

3. การใช้ (utilization) ใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน

        การใช้สื่อ

การแพร่กระจายนวัตกรรม

วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ

นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ

4. การจัดการ (management) ควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ

การจัดการโครงการ               การจัดการแหล่งทรัพยากร

การจัดการระบบส่งถ่าย         การจัดการสารสนเทศ

5. การประเมิน (evaluation) หาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน

การวิเคราะห์ปัญหา

เกณฑ์การประเมิน

การประเมินความก้าวหน้า

การประเมินผลสรุป